Skip to main content

ยุคข้าวยากหมากแพง

สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มาก


อื่นๆ ก็อาทิเช่น

กะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาท

บวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาท

กล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว


ส่วนใบตอง และต้นกล้วย ราคาแล้วแต่เจรจา

มะพร้าว ลูกละ 5-7 บาท สวนมะพร้าวป้าแช่มเก็บเดือนละหนได้ครั้งละ 300-500 ลูก เก็บกินสบายๆ

พริก-ทั้งแดงทั้งเขียวอย่างสด กิโลกรัมละ 40 บาทขึ้นไปแล้ว ส่วนพริกแห้ง แว่วว่ากำลังขึ้นไปถึงโลละร้อยกว่าๆ

ฯลฯ

 

ลุงหนู- ได้กระดูกหมูมาราคาถูกๆ ตั้งใจว่าจะทำต้มจับฉ่ายเสียหน่อย ไม่ได้กินมานานปี ปั่นจักรยานไปตลาดนัด มุ่งตรงไปแผงผัก เลือกกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า หัวไชเท้า ผักกวางตุ้ง ผักชีล้อม อย่างละนิดละหน่อยกะว่าไม่น่าเกินสามสิบบาท พอแม่ค้าคิดเงินบอก หกสิบเจ็ดบาทค่ะ


ลุงหนูตกใจกระเป๋าสตางค์แทบร่วง

...กูต้มใส่น้ำเยอะๆ เอาไว้อุ่นกินสักเดือน แหม...เจ็บใจจริงๆ ผักสมัยนี้มันแพงชิบ...”

แกบ่นพึมพำในวงกาแฟ

ผักราคาแพง ไปถามป้าเรียง คนขายผัก แกก็ว่า

...ก็น้ำมันมันแพงนี่หว่า ไปจะรับซื้อผัก หรือขนผักไปขายก็ต้องใส่รถไป ไม่อยากขายแพงหรอก พอขายแพงลูกค้าก็บ่น ขายได้น้อยด้วย...”

เดินไปที่สวนผักของลุงไหว ที่แกปลูกไว้สารพัดอย่าง ทั้งถั่วฝักยาว มะเขือเทศ บวบ มะนาว

แกก็ว่า

...อ้าว-ราคายา ราคาปุ๋ยมันขนาดนี้แล้ว ถ้าผักราคาถูกก็ขาดทุนป่นปี้เท่านั้นเอง นี่ก็ว่าเมล็ดพันธุ์จะขึ้นราคาอีก เฮ้อ...เมล็ดผัก เมล็ดละบาท บริษัทมันยังรวยไม่พอหรือไง...”

ตาเอิบ เกี่ยวข้าวก่อนใครในหมู่บ้าน ได้มาร่วมสิบตัน ชาวบ้านต่างพากันถามไถ่ ปีนี้โชคดีจริงได้จับเงินแสน แต่ ตาเอิบ ส่ายหัวบอกว่า

...ได้จับแป๊บเดียวเท่านั้นแหละ พอจ่ายค่าปุ๋ยค่ายาค่ารถไถค่ารถเกี่ยวค่านู่นค่านี่ ก็เหลือไม่กี่หมื่น แล้วไอ้ที่เหลือนี่ต้องเตรียมไว้จ่ายค่าเทอมให้ลูกด้วย...”


ดูเหมือนว่า คนซื้อกระเป๋ารั่วเงินไหล คนขายได้เงินเพิ่ม แต่คนขายก็ต้องไปซื้อเขากินเหมือนกัน

สรุปแล้ว ไม่มีเงินในกระเป๋าใครเพิ่มขึ้นหรอก นอกเสียจากนายทุน+นักการเมืองขี้โกงที่หากินบนความเดือดร้อนของคนพูดภาษาเดียวกัน

แต่อย่างไรเสีย ยุคข้าวยากหมากแพง อยู่บ้านนอก หรือชุมชนที่ค่าครองชีพต่ำ ก็เครียดน้อยกว่าอยู่เมืองใหญ่ ที่ก้าวขาออกจากบ้านก็เสียตังค์แล้ว แค่ค่ารถเมล์วันๆ ก็เกินครึ่งร้อยแล้วกระมัง

อยู่บ้านนอก มีข้าวแล้ว กับข้าวก็หาเอาตามหลังบ้าน ตามหัวไร่ปลายนา ไม่มีอดตาย ปลูกนู่นปลูกนี่ขายแม่ค้า เดือนหนึ่งได้สามสี่พันก็ยังพอถูไถ แต่คนขยันเขาว่ากันเดือนละเป็นหมื่น เป็นแสน


ตัดกะเพราวันละร้อยกิโล

เก็บมะนาววันละพันกว่าลูก

ตัดกล้วยวันละยี่สิบเครือ

ตัดตะไคร้วันละร้อยกว่ามัด

ตัดใบเตยวันละห้าร้อยใบ

เก็บเห็ดฟางวันละสี่สิบห้าสิบกิโล

ฯลฯ

 

ไอ้จก ทำงานโรงงานมาหลายปี พอแต่งเมียก็ออกจากงานมาอยู่บ้านเมีย ตั้งใจว่าจะทำงานด้านเกษตร เป็นนายตัวเองสบายใจกว่า พ่อตาแม่ยาย ก็ทำนาหลายสิบไร่ ปลูกผักอีกหลายไร่ แต่อยู่ๆ ไปก็ไม่มีทีท่าว่าจะแบ่งที่ทำกินให้ไอ้จกแต่อย่างใด


ลุงหมู บ้านอยู่คนละหมู่ เพาะเห็ดมาหลายปีจนมีกินมีใช้ มาแนะนำว่า ถ้าสนใจจะเพาะเห็ด แกจะช่วย ไอ้จก ลองหาหนังสือการเพาะเห็ดมาอ่านก็เห็นว่าเข้าท่าดี เลยขอที่แม่ยายแค่ไม่กี่ตารางวาปลูกโรงเห็ดเล็กๆ ที่หลังบ้าน


พอถึงวัน ลุงหมูก็เอาก้อนเห็ดมาลงให้ เริ่มต้นที่ห้าร้อยก้อน

 

เห็ดนั้นดูแลไม่ยาก รดน้ำสามเวลา ดูแลให้สะอาด บรรยากาศชุ่มเย็น แต่อย่าให้แฉะ แค่นั้นก็เก็บได้ทุกวัน แต่เห็ดไม่เหมือนพืชผัก จะไปบังคับมันไม่ได้ ใส่ปุ๋ยฉีดยาแบบพืชก็ไม่ได้ บทมันจะออกเยอะก็ขายแทบไม่ทัน บทมันจะไม่ออก มันก็ไม่โผล่ให้เห็นแม้แต่ตุ่มเดียว


เนื่องจากเห็ดที่เพาะส่วนใหญ่จะแพ็คใส่โฟมส่งแม่ค้าทั้งหมด ชาวบ้านจึงไม่ค่อยจะได้กิน แต่ไอ้จกเพาะเห็ดได้ก็ขายแถวบ้าน จากปากต่อปาก เห็ดแบบบ้านๆ จึงขายหมดแทบทุกวัน หลังๆ มีร้านอาหารมาสั่ง ได้ส่งประจำอีกต่างหาก


พอเห็ดเริ่มออกพอได้ขาย ไอ้จกกับเมียก็ขยันดูแล หมั่นรดน้ำ เก็บขายได้วันละหลายสิบบางวันก็เป็นร้อย

ราคาเห็ดแพก(หนักหนึ่งขีด)ส่งแม่ค้า แพกละ 7 บาท


ราคาเห็ดใส่ถุง ดอกเล็กบ้างใหญ่บ้าง ถุงละสองขีด ราคาถุงละสิบบาท

เห็ดนั้น มีเท่าไรแม่ค้าก็เอาหมด จะส่งเป็นกิโลก็น่าจะได้ราคาราว 35-40 บาท

ทำให้ไอ้จกเริ่มเชื่อมั่นว่า น่าจะไปได้ดีในอนาคต ไอ้จกกะว่าจะทำโรงใหญ่ ลงสักหมื่นก้อนไปเลย ถ้าเห็นผลลัพธ์ชัดๆ อย่างนี้ กู้เงินสหกรณ์ฯ มาลงทุนก็ไม่ต้องกลัว

 

สถานการณ์ข้าวยากหมากแพง วัตถุดิบในการประกอบอาหารล้วนขึ้นราคา ความต้องการก็เพิ่มขึ้นไม่หยุด เมื่อเมียไอ้จก ขอแบ่งที่จากพ่อแม่เพื่อทำโรงเห็ดก็ไม่มีปัญหา อะไรๆ มันก็ทำท่าจะดี

 

แต่ติดอยู่นิดเดียว

ก็ตรงที่ว่า ผักทั้งหลายที่เขาปลูกไว้นั้น ต้องฉีดยา แล้วเมื่อฉีดยา ก็เลี่ยงไม่ได้ที่มันจะฟุ้งเข้าไปในโรงเพาะเห็ด แล้วเมื่อเห็ด ซึ่งไวต่อทั้งอุณหภูมิ ความชื้น และสารเคมี โดนยาฆ่าแมลงเข้า มันก็จะไม่ออกดอก


จะไม่ให้ฉีดก็ไม่ได้ เพราะที่ดินนี้ มันไม่ใช่ของไอ้จก

จะไปเช่าที่เขา ก็ไม่คุ้มแน่ๆ เพราะที่ๆ มีน้ำก็แพง ส่วนที่ถูกๆ ก็ไม่มีน้ำ ไกลบ้าน ดูแลไม่ได้

ถึงความสัมพันธ์กับพ่อตาแม่ยายจะดี ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเขายังต้องปลูกผักยังต้องฉีดยา ไอ้จกก็หมดสิทธิ์เพาะเห็ด

แม้ว่าเห็ดยังคงราคาดี คนซื้อก็มีมากมาย

แต่อะไรๆ ที่ทำท่าจะดี หรือ ลู่ทางทำกินที่ทำท่าจะไปได้สวย ก็จำต้องเอวังด้วยประการฉะนี้

 

...อะไรๆ มันก็ดี ยกเว้นแต่ว่า...มันไม่ใช่ที่ของเรา...”

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก