Skip to main content

ยุคข้าวยากหมากแพง

สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มาก


อื่นๆ ก็อาทิเช่น

กะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาท

บวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาท

กล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว


ส่วนใบตอง และต้นกล้วย ราคาแล้วแต่เจรจา

มะพร้าว ลูกละ 5-7 บาท สวนมะพร้าวป้าแช่มเก็บเดือนละหนได้ครั้งละ 300-500 ลูก เก็บกินสบายๆ

พริก-ทั้งแดงทั้งเขียวอย่างสด กิโลกรัมละ 40 บาทขึ้นไปแล้ว ส่วนพริกแห้ง แว่วว่ากำลังขึ้นไปถึงโลละร้อยกว่าๆ

ฯลฯ

 

ลุงหนู- ได้กระดูกหมูมาราคาถูกๆ ตั้งใจว่าจะทำต้มจับฉ่ายเสียหน่อย ไม่ได้กินมานานปี ปั่นจักรยานไปตลาดนัด มุ่งตรงไปแผงผัก เลือกกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า หัวไชเท้า ผักกวางตุ้ง ผักชีล้อม อย่างละนิดละหน่อยกะว่าไม่น่าเกินสามสิบบาท พอแม่ค้าคิดเงินบอก หกสิบเจ็ดบาทค่ะ


ลุงหนูตกใจกระเป๋าสตางค์แทบร่วง

...กูต้มใส่น้ำเยอะๆ เอาไว้อุ่นกินสักเดือน แหม...เจ็บใจจริงๆ ผักสมัยนี้มันแพงชิบ...”

แกบ่นพึมพำในวงกาแฟ

ผักราคาแพง ไปถามป้าเรียง คนขายผัก แกก็ว่า

...ก็น้ำมันมันแพงนี่หว่า ไปจะรับซื้อผัก หรือขนผักไปขายก็ต้องใส่รถไป ไม่อยากขายแพงหรอก พอขายแพงลูกค้าก็บ่น ขายได้น้อยด้วย...”

เดินไปที่สวนผักของลุงไหว ที่แกปลูกไว้สารพัดอย่าง ทั้งถั่วฝักยาว มะเขือเทศ บวบ มะนาว

แกก็ว่า

...อ้าว-ราคายา ราคาปุ๋ยมันขนาดนี้แล้ว ถ้าผักราคาถูกก็ขาดทุนป่นปี้เท่านั้นเอง นี่ก็ว่าเมล็ดพันธุ์จะขึ้นราคาอีก เฮ้อ...เมล็ดผัก เมล็ดละบาท บริษัทมันยังรวยไม่พอหรือไง...”

ตาเอิบ เกี่ยวข้าวก่อนใครในหมู่บ้าน ได้มาร่วมสิบตัน ชาวบ้านต่างพากันถามไถ่ ปีนี้โชคดีจริงได้จับเงินแสน แต่ ตาเอิบ ส่ายหัวบอกว่า

...ได้จับแป๊บเดียวเท่านั้นแหละ พอจ่ายค่าปุ๋ยค่ายาค่ารถไถค่ารถเกี่ยวค่านู่นค่านี่ ก็เหลือไม่กี่หมื่น แล้วไอ้ที่เหลือนี่ต้องเตรียมไว้จ่ายค่าเทอมให้ลูกด้วย...”


ดูเหมือนว่า คนซื้อกระเป๋ารั่วเงินไหล คนขายได้เงินเพิ่ม แต่คนขายก็ต้องไปซื้อเขากินเหมือนกัน

สรุปแล้ว ไม่มีเงินในกระเป๋าใครเพิ่มขึ้นหรอก นอกเสียจากนายทุน+นักการเมืองขี้โกงที่หากินบนความเดือดร้อนของคนพูดภาษาเดียวกัน

แต่อย่างไรเสีย ยุคข้าวยากหมากแพง อยู่บ้านนอก หรือชุมชนที่ค่าครองชีพต่ำ ก็เครียดน้อยกว่าอยู่เมืองใหญ่ ที่ก้าวขาออกจากบ้านก็เสียตังค์แล้ว แค่ค่ารถเมล์วันๆ ก็เกินครึ่งร้อยแล้วกระมัง

อยู่บ้านนอก มีข้าวแล้ว กับข้าวก็หาเอาตามหลังบ้าน ตามหัวไร่ปลายนา ไม่มีอดตาย ปลูกนู่นปลูกนี่ขายแม่ค้า เดือนหนึ่งได้สามสี่พันก็ยังพอถูไถ แต่คนขยันเขาว่ากันเดือนละเป็นหมื่น เป็นแสน


ตัดกะเพราวันละร้อยกิโล

เก็บมะนาววันละพันกว่าลูก

ตัดกล้วยวันละยี่สิบเครือ

ตัดตะไคร้วันละร้อยกว่ามัด

ตัดใบเตยวันละห้าร้อยใบ

เก็บเห็ดฟางวันละสี่สิบห้าสิบกิโล

ฯลฯ

 

ไอ้จก ทำงานโรงงานมาหลายปี พอแต่งเมียก็ออกจากงานมาอยู่บ้านเมีย ตั้งใจว่าจะทำงานด้านเกษตร เป็นนายตัวเองสบายใจกว่า พ่อตาแม่ยาย ก็ทำนาหลายสิบไร่ ปลูกผักอีกหลายไร่ แต่อยู่ๆ ไปก็ไม่มีทีท่าว่าจะแบ่งที่ทำกินให้ไอ้จกแต่อย่างใด


ลุงหมู บ้านอยู่คนละหมู่ เพาะเห็ดมาหลายปีจนมีกินมีใช้ มาแนะนำว่า ถ้าสนใจจะเพาะเห็ด แกจะช่วย ไอ้จก ลองหาหนังสือการเพาะเห็ดมาอ่านก็เห็นว่าเข้าท่าดี เลยขอที่แม่ยายแค่ไม่กี่ตารางวาปลูกโรงเห็ดเล็กๆ ที่หลังบ้าน


พอถึงวัน ลุงหมูก็เอาก้อนเห็ดมาลงให้ เริ่มต้นที่ห้าร้อยก้อน

 

เห็ดนั้นดูแลไม่ยาก รดน้ำสามเวลา ดูแลให้สะอาด บรรยากาศชุ่มเย็น แต่อย่าให้แฉะ แค่นั้นก็เก็บได้ทุกวัน แต่เห็ดไม่เหมือนพืชผัก จะไปบังคับมันไม่ได้ ใส่ปุ๋ยฉีดยาแบบพืชก็ไม่ได้ บทมันจะออกเยอะก็ขายแทบไม่ทัน บทมันจะไม่ออก มันก็ไม่โผล่ให้เห็นแม้แต่ตุ่มเดียว


เนื่องจากเห็ดที่เพาะส่วนใหญ่จะแพ็คใส่โฟมส่งแม่ค้าทั้งหมด ชาวบ้านจึงไม่ค่อยจะได้กิน แต่ไอ้จกเพาะเห็ดได้ก็ขายแถวบ้าน จากปากต่อปาก เห็ดแบบบ้านๆ จึงขายหมดแทบทุกวัน หลังๆ มีร้านอาหารมาสั่ง ได้ส่งประจำอีกต่างหาก


พอเห็ดเริ่มออกพอได้ขาย ไอ้จกกับเมียก็ขยันดูแล หมั่นรดน้ำ เก็บขายได้วันละหลายสิบบางวันก็เป็นร้อย

ราคาเห็ดแพก(หนักหนึ่งขีด)ส่งแม่ค้า แพกละ 7 บาท


ราคาเห็ดใส่ถุง ดอกเล็กบ้างใหญ่บ้าง ถุงละสองขีด ราคาถุงละสิบบาท

เห็ดนั้น มีเท่าไรแม่ค้าก็เอาหมด จะส่งเป็นกิโลก็น่าจะได้ราคาราว 35-40 บาท

ทำให้ไอ้จกเริ่มเชื่อมั่นว่า น่าจะไปได้ดีในอนาคต ไอ้จกกะว่าจะทำโรงใหญ่ ลงสักหมื่นก้อนไปเลย ถ้าเห็นผลลัพธ์ชัดๆ อย่างนี้ กู้เงินสหกรณ์ฯ มาลงทุนก็ไม่ต้องกลัว

 

สถานการณ์ข้าวยากหมากแพง วัตถุดิบในการประกอบอาหารล้วนขึ้นราคา ความต้องการก็เพิ่มขึ้นไม่หยุด เมื่อเมียไอ้จก ขอแบ่งที่จากพ่อแม่เพื่อทำโรงเห็ดก็ไม่มีปัญหา อะไรๆ มันก็ทำท่าจะดี

 

แต่ติดอยู่นิดเดียว

ก็ตรงที่ว่า ผักทั้งหลายที่เขาปลูกไว้นั้น ต้องฉีดยา แล้วเมื่อฉีดยา ก็เลี่ยงไม่ได้ที่มันจะฟุ้งเข้าไปในโรงเพาะเห็ด แล้วเมื่อเห็ด ซึ่งไวต่อทั้งอุณหภูมิ ความชื้น และสารเคมี โดนยาฆ่าแมลงเข้า มันก็จะไม่ออกดอก


จะไม่ให้ฉีดก็ไม่ได้ เพราะที่ดินนี้ มันไม่ใช่ของไอ้จก

จะไปเช่าที่เขา ก็ไม่คุ้มแน่ๆ เพราะที่ๆ มีน้ำก็แพง ส่วนที่ถูกๆ ก็ไม่มีน้ำ ไกลบ้าน ดูแลไม่ได้

ถึงความสัมพันธ์กับพ่อตาแม่ยายจะดี ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเขายังต้องปลูกผักยังต้องฉีดยา ไอ้จกก็หมดสิทธิ์เพาะเห็ด

แม้ว่าเห็ดยังคงราคาดี คนซื้อก็มีมากมาย

แต่อะไรๆ ที่ทำท่าจะดี หรือ ลู่ทางทำกินที่ทำท่าจะไปได้สวย ก็จำต้องเอวังด้วยประการฉะนี้

 

...อะไรๆ มันก็ดี ยกเว้นแต่ว่า...มันไม่ใช่ที่ของเรา...”

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…