Skip to main content

10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"

1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?


ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน การลงทุนผิดพลาดหมายถึงการเอาเงินจำนวนมหาศาลไปทิ้ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเงินของเขาหรือเงินของคนอื่น มันก็อาจทำให้เขาอยากฆ่าตัวตายได้เท่าๆ กัน ดังนั้น นักลงทุนก็น่าจะมีความเชื่อมั่นเทียบเท่ากับมนุษย์ปกติ หากไม่นับรวมเรื่องของการลงทุน

 

2. นักลงทุนนับถือศาสนาหรือลัทธิความเชื่อใด ?


ตอบ เป็นที่แน่ชัดโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่า ไม่ว่านักลงทุนจะกล่าวอ้างว่าเขานับถือศาสนาหรือลัทธิความเชื่อใด แต่แท้จริงแล้ว สิ่งเดียวที่เขานับถือบูชาอย่างสุดหัวจิตหัวใจคือลัทธิทุนนิยม หรือเสรีนิยมใหม่ ที่มุ่งหวังการทำกำไรสูงสุดและการเติบโตไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น ตลาดหุ้นคือโบสถ์ของเขา และการนั่งเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ฯ ก็เปรียบเสมือนการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แน่นอน ผลลัพธ์แห่งศรัทธาก็คือผลกำไรที่ไหลเทมาสู่บัญชีธนาคารของเขานั่นเอง


3. นักลงทุนสังกัดตัวเองเข้ากับประเทศ สังคม หรือสัญชาติ ใดหรือไม่?


ตอบ หากต้องกรอกข้อความในแบบฟอร์มใดๆ นักลงทุนย่อมระบุว่าเขาสังกัดในสังคมใดสังคมหนึ่งซึ่งการอ้างอิงนั้นมักจะอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ในระยะยาว แต่สำหรับปฏิบัติการในชีวิตจริง นักลงทุนไม่สนใจแม้แต่น้อยว่าเขาคือใคร สังกัดสังคมไหน เพราะการลงทุนสามารถข้ามไปข้ามมาได้ทั้งโลก หากแม้นว่าเขาซื้อหุ้นบริษัท A ที่ต้องการจะมาตั้งโรงงานทำลายสิ่งแวดล้อมในประเทศของตัวเขาเอง เขาก็จะไม่อินังขังขอบแม้แต่น้อยว่าเขาคือประชากรของประเทศนั้น หากแต่เขาคือนักลงทุน ผู้ซึ่งไม่สนใจจะสังกัดกลุ่มทางสังคมใดๆ ทั้งสิ้น


4. นักลงทุนสนใจความอยู่รอดของผู้คนในประเทศด้อยพัฒนาหรือไม่ ?


ตอบ นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะทุกวันนี้มีสิ่งที่เรียกว่า CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ กิจกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมองอีกแง่หนึ่ง CSR สำหรับนักลงทุนก็เป็นเสมือนการเจียดเศษเงินช่วยเหลือสังคม เพื่อจะกอบโกยผลประโยชน์ที่มากกว่านั้นหลายเท่า หากพิจารณาเชิงตรรกะ ย่อมเป็นไปได้ยากที่นักลงทุนจะยอมจ่ายในสิ่งที่เขามองไม่เห็นผลกำไร ดังนั้น ความอยู่รอดของประเทศด้อยพัฒนา จึงเป็นเพียงแค่ข้ออ้างในการสร้างภาพลักษณ์ของเขาเท่านั้น


5. นักลงทุนมีจิตสำนึกเชิงสุนทรียะหรือไม่ ?


ตอบ นี่เป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เนื่องจากเป็นรสนิยมส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นในมิติเรื่องการบริโภค ก็อาจกล่าวได้ว่า นักลงทุนเกือบร้อยเปอร์เซนต์ มีรสนิยมในการบริโภคในระดับสูงสุดคือนอกจากเป็นผู้กอบโกยจากกระแสทุนแล้ว ก็ยังเป็นผู้เสพผลผลิตชั้นยอดของสังคมทุนนิยมอีกด้วย แต่ในแง่ของการสร้างสรรค์งานศิลป์ หรือ การเสพสุนทรียะเชิงธรรมชาตินิยม น่าจะกล่าวได้ว่า หาได้ยากยิ่ง เพราะนักลงทุนมักจะประเมินค่าทั้งงานศิลปะ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นตัวเลขเสียมากกว่า


6. เป้าหมายชีวิตของนักลงทุนคืออะไร ?


ตอบ ในระดับพื้นฐาน เป้าหมายชีวิตของนักลงทุนไม่น่าจะแตกต่างจากมนุษย์ปกติ เพียงแต่ว่า นักลงทุนมีสำนึกด้านความทะเยอทะยานสูงกว่ามนุษย์ทั่วไปมาก แต่คำว่าทะเยอทะยานนี้ หากให้ความหมายตามศัพท์ทางพุทธศาสนาที่น่าจะตรงที่สุดก็น่าจะเป็น "ความโลภ" ซึ่งเป็นตัณหาธรรมชาติของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม เพียงแต่นักลงทุนมีมากกว่า เข้มข้นกว่า หนาแน่นกว่า ต้องการไปให้ไกลกว่า และยอมรับการพ่ายแพ้ หรือการวางมือได้ยากยิ่งกว่า

หากเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามหมายถึงความสงบสุข นักลงทุนก็น่าจะเป็นพวกที่มีความปรารถนาที่ซับซ้อนกว่ามนุษย์ทั่วไปเนื่องจาก นักลงทุนต้องการป่ายปีนไปให้สูงที่สุดก่อน และเขาเชื่อว่า บนนั้นจะมีพื้นที่ที่แสนสงบสุขรอเขาอยู่ (ขณะที่มนุษย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าการดำเนินชีวิตอย่างงดงามไปเรื่อยๆ ย่อมเป็นความสุขที่แท้จริง และย่อมพบความสงบสุขในเบื้องปลาย)

เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อใดที่นักลงทุนไม่สามารถป่ายปีนไปจนถึงเป้าหมายที่เขาต้องการได้ หรือไปแล้วพบว่ามันคือความว่างเปล่า เขาจะถือว่านั่นคือความล้มเหลว เนื่องจากเขาให้คุณค่ากับเป้าหมายมากกว่าชีวิตของตัวเอง


7. นักลงทุนเห็นคุณค่าของชีวิตสัตว์ พืช และมนุษย์ หรือไม่ อย่างไร ?


ตอบ คุณค่าของสิ่งที่เรียกชีวิต(ไม่ว่าของเขาหรือของใคร)สำหรับนักลงทุน น่าจะน้อยกว่าผลกำไรที่เขาควรจะได้ในไตรมาสแรก ผลประกอบการย่อมสำคัญกว่าคุณภาพชีวิตของพนักงาน และรถราคาหลายล้านของเขา ก็ย่อมมีคุณค่าสูงกว่าชีวิตของสุนัขจรจัดทั้งประเทศรวมกัน แน่ละ นักลงทุนที่มีจิตสำนึกสูงก็ย่อมต้องมี แต่ในสังคมแห่งการลงทุน คงเหลือที่ว่างให้กับความเมตตาได้ไม่ถึง 1 เปอร์เซนต์

ดังนั้น สำหรับนักลงทุน ชีวิตก็น่าจะมีความหมายเทียบเท่าปัจจัยการผลิตหนึ่งหน่วยเท่านั้น


8. นักลงทุนเชื่อเรื่อง "กรรม" ตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่ ?


ตอบ น่าจะไม่ เพราะนักลงทุนไม่สามารถแบ่งสมองไปสวามิภักดิ์ต่อทรรศนะอื่น นอกจากการทำกำไรสูงสุด หากมองในระดับชาวบ้าน พ่อค้าคนหนึ่งอาจกล่าวว่า "...บาปบุญไม่มีจริง มีแต่กำไรกับขาดทุนเท่านั้น..." แต่หากในระดับนักลงทุน น่าจะกล่าวได้ว่า "...เวรกรรมไม่อาจนำมาคำนวณต้นทุนการผลิตได้..." ดังนั้น เราจึงมักจะเห็นนักลงทุน เป็นพวกแรกๆ ที่ล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่บันยะบันยัง ซึ่งแนวคิดดังกล่าว ได้สืบเนื่องมาในกมลสันดานของนักลงทุน ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมจนถึงยุคปัจจุบัน


9. ทำไมประเทศไทยจึงต้องเอาอกเอาใจนักลงทุนราวกับพวกเขาเป็นบิดาบังเกิดเกล้า ?


ตอบ เนื่องจากนักธุรกิจการเมืองต้องการให้นักลงทุนควักเงินในกระเป๋ามาลงทุน เพื่อที่เงินเหล่านั้นจะได้ไหลไปสู่กระเป๋าของคนในระดับล่าง และไหลเข้ากระเป๋าของพวกนักธุรกิจการเมืองกับทั้งเครือข่ายผลประโยชน์ของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศดำเนินต่อไปได้ ตามความเชื่อในวิถีการพัฒนาประเทศแบบตะวันตก (ในทางกลับกัน ก็ไม่เชื่อว่าเราสามารถพัฒนาได้ด้วยศักยภาพของเราเอง)

เวลาเกิดเหตุใดๆ ที่อาจทำให้นักลงทุนแตกตื่น นักธุรกิจการเมืองเหล่านี้ ก็มักจะยกคาถาสำคัญเรื่อง ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขึ้นมาอ้างเสมอ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนที่อ้างถึงนั้น เป็นประโยชน์กับสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมสักกี่มากน้อยกลับไม่มีใครกล้าอธิบาย


10. นักลงทุนมีความจำเป็นกับประเทศไทยแค่ไหน ?


ตอบ มี แต่ไม่มากถึงขนาดขาดไม่ได้ ที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศเราเน้นการพึ่งพาเขามากกว่าพึ่งเราเอง ผูกเศรษฐกิจของประเทศไว้กับการส่งออก ไว้กับการท่องเที่ยว ซึ่งผันผวนอย่างรุนแรงตามสถานการณ์รอบข้าง ส่วนในภาคธุรกิจอื่น เช่น อุตสาหกรรม การบริการ ก็เริ่มลดน้อยถอยไป เพราะเจ้าใหญ่เขาเตรียมย้ายฐานไปอยู่เวียดนามกันแล้ว ฉะนั้นแม้จะพยายามดึงดัน ก็ไม่อาจรั้งไว้ได้ ฉะนั้นการมัวแต่ท่องคาถา "...ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ความเชื่อมั่นของนักลงทุน..." นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ยังดูเหมือนคนไร้ศักดิ์ศรีเข้าไปทุกขณะ

ทุกวันนี้ นักลงทุนรุกคืบเข้าไปถึงภาคเกษตร ล้วงเข้าไปถึงกระเพาะอาหารของสังคมไทย ชาวต่างชาติมาซื้อที่ดิน แล้วจ้างชาวบ้านทำการเกษตร ได้ผลผลิตก็ส่งเข้าโรงงานของพวกเขา แล้วก็ส่งขายหรือส่งกลับประเทศ อีกไม่นาน คนไทยคงเป็นได้แค่เพียงลูกจ้างติดที่ดิน


ท่องเข้าไว้เถิด ท่านนายกฯ ท่านรัฐมนตรีฯ ท่าน ส.ส. ท่าน ส.ว. ท่านนักธุรกิจทั้งหลาย ทุกครั้งที่ท่านเอ่ยวลีที่ว่า "...ความเชื่อมั่นของนักลงทุน..." ท่านก็ได้สูญเสียความทรนงในฐานะคนไทยไปเรื่อยๆ


แต่ท่านคงไม่สนใจสักเท่าไร เพราะท่านเป็น "นักลงทุน" ที่ไม่สังกัดสังคมใดๆ อยู่แล้วนี่

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…