Skip to main content

แกชื่อยายอิ่ม

ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง

ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว


พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้


สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ


ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด) แล้วแกก็ตั้งใจว่าจะเอาไว้แบ่งให้หลานๆ ที่ดูแลแก


สุดท้ายด้วยความสงสารลูก แม่เฒ่าก็จำต้องขายให้ในราคาถูกๆ กะว่าจะได้พอมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามชราบ้าง ทว่า เมื่อปลูกบ้านเสร็จ ยายอิ่มกลับทำเฉย เบี้ยวเงินค่าที่ของแม่ตัวเองซะงั้น


ก่อนแม่เฒ่าจะตาย แกบอกหลานๆ ไว้ว่า แกแช่งไว้แล้ว ใครเบี้ยวเงินแกขอให้มันมีอันเป็นไป

ตอนงานศพแม่เฒ่า ยายอิ่มแทบไม่มาดูดำดูดี ไม่ช่วยเงินสักบาท ไม่ออกแรงช่วยอะไรทั้งสิ้น

ชะรอยคำแช่งของคนแก่จะมีผล ยายอิ่มทำอะไรไม่เคยรอด


ขายข้าวแกง ก็ขออาศัยที่หน้าบ้านหลานสาว แต่ไปใช้ไฟใช้แก๊สเขาไม่เคยให้เงิน ไหว้วานหลานเขยไปขนของก็ไม่เคยให้ค่าน้ำมัน มากินมาใช้ที่บ้านหลานสาวตลอด แถมหยิบฉวยข้าวของในบ้านเขาไปใช้ก็ไม่เคยคืน แต่พอหลานสาวจะขอมะม่วงกินสักลูก สะบัดหน้าหนีเหมือนคนไม่รู้จักกัน


แรกๆ ข้าวแกงก็ขายดีแม้จะแพงไปหน่อย แต่แล้วยายอิ่มก็เริ่มเป็นแผลที่ขาเหวอะหวะ เรื้อรังรักษาไม่หาย แกบอกว่าแกเป็นเบาหวาน แต่ชาวบ้านคิดว่า เอ ไอ ดี เอส แน่ๆ เลยไม่มีใครกล้ากินของแก สุดท้ายต้องเลิกขาย


ยังไม่พอ ที่หน้าบ้านหลานสาวที่อาศัยขายของ แกยังทำท่าจะฮุบเป็นของตัวเอง หลานสาวเลยจำใจต้องกั้นรั้ว ต่างคนต่างอยู่ดีกว่า


ยายอิ่มตระเวนหางานไปทั่ว แต่ไม่มีใครให้ทำ เพราะเข็ดขามกับนิสัย มีไม่เคยแบ่ง แต่ชอบแย่งคนอื่นกิน แม้จะพยายามคบหากับคนมีตังค์เพื่อหวังผลประโยชน์บ้าง แต่คนรวยส่วนใหญ่ก็ไม่โง่ให้แกเอาเปรียบ


หลังๆ ตาหงอก ไปค้าขายที่กรุงเทพฯ ทำให้ยายอิ่มอยู่สบาย วันๆ ไม่ต้องทำอะไร ผัวหาเลี้ยง แถมทำเลี้ยงด้วย ว่ากันว่า ตาหงอกทำพระปลอม ตะกรุดปลอมขาย กระนั้นก็ยังมีคนปัญญาเบาเชื่อว่า ยายอิ่มกับผัว เป็นคนใจพระธรรมะธัมโม


ตาหงอกเองก็เอาเปรียบคนเก่งไม่แพ้ยายอิ่ม แถมยังชอบคุยเขื่อง จนทำให้ชาวบ้านหมั่นไส้


ทุกเช้าแกจะไปนั่งที่ร้านค้าประจำหมู่บ้าน กินกาแฟ (กระป๋อง) พูดถึงงานที่มีคนมาจ้าง แล้วพูดถึงเงินเรือนหมื่นเรือนแสน ถ้ามีใครสนใจไถ่ถาม แกยิ่งคุยฟุ้ง


สังเกตเสียหน่อยก็จะรู้ ถ้ารวยอย่างที่คุย คงไม่ปั่นจักรยานต๊อกๆ อยู่ ซื้อรถเครื่องไว้ใช้สักคันก็ไม่มีใครว่าหรอก


วันหนึ่ง ยายอิ่ม ติดจานดาวเทียม ต่อห้องให้นายอู๊ดลูกชาย กับเมียที่จะย้ายมาอยู่ด้วย ซึ่งในเวลาต่อมา ยายอิ่มคงจะคิดได้ว่า ไม่น่าเลย


นายอู๊ด ลูกชายยายอิ่ม ชาวบ้านรู้จักกันดี ในฐานะของคนที่ “คุณก็รู้ว่าไม่ควรไปยุ่ง” เพราะได้นิสัยแม่มาเต็มๆ ดูเหมือนจะคูณสองเสียด้วย


ขณะที่ยายอิ่มโกงอย่างเงียบๆ แต่นายอู๊ด โกงแบบซึ่งๆ หน้า ยืมเงินใครก็ชักดาบเฉยๆ เสียอย่างนั้น เงินร้อยเงินพัน ไม่เคยใช้คืน จนใครต่อใครเขารู้กันทั่ว กระทั่งญาติพี่น้องยังระอา ถ้าใครไม่ช่วย ไม่ให้ยืมเงิน นายอู๊ดก็จะตัดพ้อด้วยประโยคคลาสสิก

...ไม่เอาพี่เอาน้องเลย...”


ขณะที่ญาติๆ เริ่มคิดได้แล้วว่า พี่น้องแบบนี้ ไม่เอาเสียดีกว่า

นายอู๊ดเคยเมาเข้าไปยืมตังค์ญาติแล้วเขาไม่ให้ ก็ตามไปชกเขาถึงในบ้าน นายอู๊ดเกือบจะต้องไปนอนในคุก ถ้าผู้ใหญ่ไม่มาขอไว้


นายอู๊ดเคยก่อความเดือดร้อนไปทั่ว ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รอด เพราะปากดี แต่ไม่เคยทำความดีพฤติกรรมก็ใกล้เคียงโจรเข้าไปทุกขณะ ต่างตรงที่ไม่ได้เอาปืนไปจี้เท่านั้น

ร้ายยิ่งกว่านั้น ใครๆ ก็รู้ว่า นายอู๊ดเป็น “จ๊อกกี้” ชอบควบม้าเป็นประจำ แม้ตอนนี้จะราคาเม็ดละหลายร้อย แต่คนมันติดเสียแล้วก็ต้องหามาจนได้ เล่นเองไม่พอ ยังเอามาขายให้เด็กวัยรุ่นในหมู่บ้านติดงอมแงมไปตามๆ กัน


ตามแบบของคนเล่นของ เล่นมากเข้างานการก็ไม่ทำ เคยรับจ้างญาติทำงานในตลาดสบายๆ ก็ไม่ไป นอนอยู่บ้านให้ภรรยาหาเลี้ยง วันๆ เพื่อนฝูงแวะเวียนมาหา ทีละคนสองคน มาแล้วก็แวะเวียนเข้าไปในห้อง ทำอะไรกันเงียบๆ อยู่พักหนึ่ง ก็กลับออกไป


ตั้งแต่นายอู๊ดมาอยู่บ้านยายอิ่ม เพื่อนบ้านต้องระวังข้าวของให้ดี เผลอเมื่อไรมันขนไปขายหน้าตาเฉย


คนที่เดือดร้อนคือยายอิ่ม กับตาหงอก กลัวว่าสักวันจะมีแขกที่ไม่ได้รับเชิญมาเคาะประตู ถ้าเปิดมาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ คงต้องทรุดตัวลงกราบสถานเดียว


ทั้งนายอู๊ดเองก็ไม่เคยเกรงใจใครทั้งสิ้น อย่าว่าแต่ห้ามปรามหรือตักเตือนเลย อยู่ๆ ไปคิด(เอาเอง)ว่าตัวเองเป็นเจ้าของบ้าน ชี้นิ้วสั่งตาหงอกให้ทำกับข้าวให้ จนตาหงอกชักจะเหลืออด ต้องบ่นออกมาดังๆ ว่า

...ถ้าไม่ไหว กูก็ไปละโว้ย...”


นั่นคือ ถ้าทนไม่ไหวแกก็กลับไปอยู่เมืองกรุง สบายใจกว่า ทำมาหากินสะดวกกว่า

ยายอิ่มเองก็เริ่มจะคิดได้ว่า ตัดสินใจผิดที่ให้ลูกชายมาอยู่ด้วย เพราะนิสัยที่ติดตัวมันมาตั้งแต่เกิด ไม่เคยเปลี่ยนเลย เงินมันหามาได้ก็ไม่เคยให้แม่สักกะบาทเดียว ถ้าตาหงอกหนีกลับไปอยู่กรุงเทพฯ ยายอิ่มก็หมดสิ้นทุกอย่าง เพราะทุกวันนี้ ตาหงอกหาเลี้ยงทั้งนั้น


ในที่สุด ยายอิ่มก็เริ่มเปรยกับญาติที่มีเงินว่าอยากจะขายบ้าน กลับไปอยู่กรุงเทพฯ

เหตุผลนั้นถึงไม่บอกก็รู้ ยายอิ่มอยากจะย้ายหนีลูกชาย เพราะไล่มัน มันก็คงไม่ไปแน่ๆ


ชาวบ้านนินทากันหน้าร้านขายหมู

...ยายอิ่มทำกับแม่ตัวเองไว้ยังไง ตอนนี้ไอ้อู๊ดทำกับยายอิ่มยิ่งกว่าเสียอีก...”


เดี๋ยวนี้ พอตาหงอกจะเข้ากรุงเมื่อไร ยายอิ่มก็หวาดระแวงทุกครั้ง กลัวตาหงอกจะทิ้งแกไป ขณะที่ไอ้ลูกชายตัวดี ก็ไม่รู้วันไหนมันจะพาตำรวจเข้าบ้าน หรือจะพาความเดือดร้อนอะไรมาให้อีก


ไปๆ มาๆ จะพลอยซวยติดร่างแห เข้าตะรางตอนแก่ยิ่งแย่หนัก


คนเรายิ่งอายุมาก ความเสื่อมยิ่งเข้าครอบงำ

ร่างกายเสื่อมมันก็เป็นธรรมดาของสังขาร ไม่อาจฝืนได้

แต่จิตใจคนเรานั้น หากไม่พยายามยกขึ้นให้สูง มันก็จะเสื่อมเร็วยิ่งกว่าร่างกายเสียอีก

ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวไม่น่าคบแบบบ้านๆ อย่างยายอิ่มกับตาหงอก หรือ ครอบครัวอดีตผู้นำที่กำลังเผชิญชะตากรรม “ฟ้าเคืองสันหลัง” ดูๆ ไปก็คล้ายกัน


บั้นปลายชีวิตที่เต็มไปด้วยกิเลศ เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว

กับบั้นปลายชีวิตที่วางได้ ละได้

แตกต่างกันแค่ไหน


เราทุกคนมีสิทธิ์เลือกอย่างเท่าเทียม


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก