Skip to main content

แกชื่อยายอิ่ม

ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง

ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว


พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้


สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ


ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด) แล้วแกก็ตั้งใจว่าจะเอาไว้แบ่งให้หลานๆ ที่ดูแลแก


สุดท้ายด้วยความสงสารลูก แม่เฒ่าก็จำต้องขายให้ในราคาถูกๆ กะว่าจะได้พอมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามชราบ้าง ทว่า เมื่อปลูกบ้านเสร็จ ยายอิ่มกลับทำเฉย เบี้ยวเงินค่าที่ของแม่ตัวเองซะงั้น


ก่อนแม่เฒ่าจะตาย แกบอกหลานๆ ไว้ว่า แกแช่งไว้แล้ว ใครเบี้ยวเงินแกขอให้มันมีอันเป็นไป

ตอนงานศพแม่เฒ่า ยายอิ่มแทบไม่มาดูดำดูดี ไม่ช่วยเงินสักบาท ไม่ออกแรงช่วยอะไรทั้งสิ้น

ชะรอยคำแช่งของคนแก่จะมีผล ยายอิ่มทำอะไรไม่เคยรอด


ขายข้าวแกง ก็ขออาศัยที่หน้าบ้านหลานสาว แต่ไปใช้ไฟใช้แก๊สเขาไม่เคยให้เงิน ไหว้วานหลานเขยไปขนของก็ไม่เคยให้ค่าน้ำมัน มากินมาใช้ที่บ้านหลานสาวตลอด แถมหยิบฉวยข้าวของในบ้านเขาไปใช้ก็ไม่เคยคืน แต่พอหลานสาวจะขอมะม่วงกินสักลูก สะบัดหน้าหนีเหมือนคนไม่รู้จักกัน


แรกๆ ข้าวแกงก็ขายดีแม้จะแพงไปหน่อย แต่แล้วยายอิ่มก็เริ่มเป็นแผลที่ขาเหวอะหวะ เรื้อรังรักษาไม่หาย แกบอกว่าแกเป็นเบาหวาน แต่ชาวบ้านคิดว่า เอ ไอ ดี เอส แน่ๆ เลยไม่มีใครกล้ากินของแก สุดท้ายต้องเลิกขาย


ยังไม่พอ ที่หน้าบ้านหลานสาวที่อาศัยขายของ แกยังทำท่าจะฮุบเป็นของตัวเอง หลานสาวเลยจำใจต้องกั้นรั้ว ต่างคนต่างอยู่ดีกว่า


ยายอิ่มตระเวนหางานไปทั่ว แต่ไม่มีใครให้ทำ เพราะเข็ดขามกับนิสัย มีไม่เคยแบ่ง แต่ชอบแย่งคนอื่นกิน แม้จะพยายามคบหากับคนมีตังค์เพื่อหวังผลประโยชน์บ้าง แต่คนรวยส่วนใหญ่ก็ไม่โง่ให้แกเอาเปรียบ


หลังๆ ตาหงอก ไปค้าขายที่กรุงเทพฯ ทำให้ยายอิ่มอยู่สบาย วันๆ ไม่ต้องทำอะไร ผัวหาเลี้ยง แถมทำเลี้ยงด้วย ว่ากันว่า ตาหงอกทำพระปลอม ตะกรุดปลอมขาย กระนั้นก็ยังมีคนปัญญาเบาเชื่อว่า ยายอิ่มกับผัว เป็นคนใจพระธรรมะธัมโม


ตาหงอกเองก็เอาเปรียบคนเก่งไม่แพ้ยายอิ่ม แถมยังชอบคุยเขื่อง จนทำให้ชาวบ้านหมั่นไส้


ทุกเช้าแกจะไปนั่งที่ร้านค้าประจำหมู่บ้าน กินกาแฟ (กระป๋อง) พูดถึงงานที่มีคนมาจ้าง แล้วพูดถึงเงินเรือนหมื่นเรือนแสน ถ้ามีใครสนใจไถ่ถาม แกยิ่งคุยฟุ้ง


สังเกตเสียหน่อยก็จะรู้ ถ้ารวยอย่างที่คุย คงไม่ปั่นจักรยานต๊อกๆ อยู่ ซื้อรถเครื่องไว้ใช้สักคันก็ไม่มีใครว่าหรอก


วันหนึ่ง ยายอิ่ม ติดจานดาวเทียม ต่อห้องให้นายอู๊ดลูกชาย กับเมียที่จะย้ายมาอยู่ด้วย ซึ่งในเวลาต่อมา ยายอิ่มคงจะคิดได้ว่า ไม่น่าเลย


นายอู๊ด ลูกชายยายอิ่ม ชาวบ้านรู้จักกันดี ในฐานะของคนที่ “คุณก็รู้ว่าไม่ควรไปยุ่ง” เพราะได้นิสัยแม่มาเต็มๆ ดูเหมือนจะคูณสองเสียด้วย


ขณะที่ยายอิ่มโกงอย่างเงียบๆ แต่นายอู๊ด โกงแบบซึ่งๆ หน้า ยืมเงินใครก็ชักดาบเฉยๆ เสียอย่างนั้น เงินร้อยเงินพัน ไม่เคยใช้คืน จนใครต่อใครเขารู้กันทั่ว กระทั่งญาติพี่น้องยังระอา ถ้าใครไม่ช่วย ไม่ให้ยืมเงิน นายอู๊ดก็จะตัดพ้อด้วยประโยคคลาสสิก

...ไม่เอาพี่เอาน้องเลย...”


ขณะที่ญาติๆ เริ่มคิดได้แล้วว่า พี่น้องแบบนี้ ไม่เอาเสียดีกว่า

นายอู๊ดเคยเมาเข้าไปยืมตังค์ญาติแล้วเขาไม่ให้ ก็ตามไปชกเขาถึงในบ้าน นายอู๊ดเกือบจะต้องไปนอนในคุก ถ้าผู้ใหญ่ไม่มาขอไว้


นายอู๊ดเคยก่อความเดือดร้อนไปทั่ว ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รอด เพราะปากดี แต่ไม่เคยทำความดีพฤติกรรมก็ใกล้เคียงโจรเข้าไปทุกขณะ ต่างตรงที่ไม่ได้เอาปืนไปจี้เท่านั้น

ร้ายยิ่งกว่านั้น ใครๆ ก็รู้ว่า นายอู๊ดเป็น “จ๊อกกี้” ชอบควบม้าเป็นประจำ แม้ตอนนี้จะราคาเม็ดละหลายร้อย แต่คนมันติดเสียแล้วก็ต้องหามาจนได้ เล่นเองไม่พอ ยังเอามาขายให้เด็กวัยรุ่นในหมู่บ้านติดงอมแงมไปตามๆ กัน


ตามแบบของคนเล่นของ เล่นมากเข้างานการก็ไม่ทำ เคยรับจ้างญาติทำงานในตลาดสบายๆ ก็ไม่ไป นอนอยู่บ้านให้ภรรยาหาเลี้ยง วันๆ เพื่อนฝูงแวะเวียนมาหา ทีละคนสองคน มาแล้วก็แวะเวียนเข้าไปในห้อง ทำอะไรกันเงียบๆ อยู่พักหนึ่ง ก็กลับออกไป


ตั้งแต่นายอู๊ดมาอยู่บ้านยายอิ่ม เพื่อนบ้านต้องระวังข้าวของให้ดี เผลอเมื่อไรมันขนไปขายหน้าตาเฉย


คนที่เดือดร้อนคือยายอิ่ม กับตาหงอก กลัวว่าสักวันจะมีแขกที่ไม่ได้รับเชิญมาเคาะประตู ถ้าเปิดมาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ คงต้องทรุดตัวลงกราบสถานเดียว


ทั้งนายอู๊ดเองก็ไม่เคยเกรงใจใครทั้งสิ้น อย่าว่าแต่ห้ามปรามหรือตักเตือนเลย อยู่ๆ ไปคิด(เอาเอง)ว่าตัวเองเป็นเจ้าของบ้าน ชี้นิ้วสั่งตาหงอกให้ทำกับข้าวให้ จนตาหงอกชักจะเหลืออด ต้องบ่นออกมาดังๆ ว่า

...ถ้าไม่ไหว กูก็ไปละโว้ย...”


นั่นคือ ถ้าทนไม่ไหวแกก็กลับไปอยู่เมืองกรุง สบายใจกว่า ทำมาหากินสะดวกกว่า

ยายอิ่มเองก็เริ่มจะคิดได้ว่า ตัดสินใจผิดที่ให้ลูกชายมาอยู่ด้วย เพราะนิสัยที่ติดตัวมันมาตั้งแต่เกิด ไม่เคยเปลี่ยนเลย เงินมันหามาได้ก็ไม่เคยให้แม่สักกะบาทเดียว ถ้าตาหงอกหนีกลับไปอยู่กรุงเทพฯ ยายอิ่มก็หมดสิ้นทุกอย่าง เพราะทุกวันนี้ ตาหงอกหาเลี้ยงทั้งนั้น


ในที่สุด ยายอิ่มก็เริ่มเปรยกับญาติที่มีเงินว่าอยากจะขายบ้าน กลับไปอยู่กรุงเทพฯ

เหตุผลนั้นถึงไม่บอกก็รู้ ยายอิ่มอยากจะย้ายหนีลูกชาย เพราะไล่มัน มันก็คงไม่ไปแน่ๆ


ชาวบ้านนินทากันหน้าร้านขายหมู

...ยายอิ่มทำกับแม่ตัวเองไว้ยังไง ตอนนี้ไอ้อู๊ดทำกับยายอิ่มยิ่งกว่าเสียอีก...”


เดี๋ยวนี้ พอตาหงอกจะเข้ากรุงเมื่อไร ยายอิ่มก็หวาดระแวงทุกครั้ง กลัวตาหงอกจะทิ้งแกไป ขณะที่ไอ้ลูกชายตัวดี ก็ไม่รู้วันไหนมันจะพาตำรวจเข้าบ้าน หรือจะพาความเดือดร้อนอะไรมาให้อีก


ไปๆ มาๆ จะพลอยซวยติดร่างแห เข้าตะรางตอนแก่ยิ่งแย่หนัก


คนเรายิ่งอายุมาก ความเสื่อมยิ่งเข้าครอบงำ

ร่างกายเสื่อมมันก็เป็นธรรมดาของสังขาร ไม่อาจฝืนได้

แต่จิตใจคนเรานั้น หากไม่พยายามยกขึ้นให้สูง มันก็จะเสื่อมเร็วยิ่งกว่าร่างกายเสียอีก

ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวไม่น่าคบแบบบ้านๆ อย่างยายอิ่มกับตาหงอก หรือ ครอบครัวอดีตผู้นำที่กำลังเผชิญชะตากรรม “ฟ้าเคืองสันหลัง” ดูๆ ไปก็คล้ายกัน


บั้นปลายชีวิตที่เต็มไปด้วยกิเลศ เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว

กับบั้นปลายชีวิตที่วางได้ ละได้

แตกต่างกันแค่ไหน


เราทุกคนมีสิทธิ์เลือกอย่างเท่าเทียม


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…