Skip to main content
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่ บนเรือมีเด็กผู้ชายหนึ่งคน เด็กผู้หญิงตัวเล็กที่นอนนิ่งอยู่ในอ้อมอกอีกหนึ่งคน เสียงเครื่องยนต์เรือดังขึ้นไม่นาน คนขับเรือก็ค่อยๆ พาเรือลำนั้นออกจากท่าน้ำมุ่งหน้าสู่เป้าหมายปลายทาง
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย ที่ยืดเยื้อและส่อเค้าความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย ถ้าบังคับแล้วจะขนาดไหน ?? ข้อคิดเห็นเสนอแนะค่ะ 1. การจัดทำทางเลือกโดยระบุว่า มี หรือไม่มี SSB นั้น ผู้วางผังไม่ควรเอานโยบายการพัฒนาที่ยังเป็นความขัดแย้งมาเป็นเงื่อนไขในลักษณะที่เป็น Policy Input  ในการจัดทำทางเลือกค่ะ เพราะควรมีกระบวนการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ประเมินนโยบายที่จะมาเป็น Input นี้ก่อน ทุกนโยบายค่ะ  เพื่อจะได้เห็นว่า นโยบายการพัฒนาต่างๆมีข้อดี ข้อเสีย ซ้ำซ้อน ส่งผลต่อพื้นที่ และส่งผลต่อกันอย่างไร   ให้ได้ผลตรงนี้ด้วยการมีส่วนร่วม(จริงๆ ทุกภาคส่วน ทุกระดับ) ก่อนค่ะ  ( ชุมชนสามารถเสนอแนะให้ผู้ทำงานวางผังกลับไปศึกษา ประเมินผลนโยบายต่างๆ  นำเสนอข้อมูลและนำมาเข้ากระบวนการมีส่วนร่วมก่อนค่ะ) โดยเฉพาะนโยบายที่เป็นปัญหา  ยังไม่ควรนำมากำหนดเป็นเงื่อนไขทางเลือกในผังค่ะ  เพราะถึงชาวบ้านไม่เห็นด้วย  ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าคณะกรรมการฯในกรมโยธาจะเห็นด้วยกับชาวบ้านค่ะ   การแทรกแซงทางนโยบาย และการพยายามให้ผู้วางผัง ซึ่งเป็นบริษัทฯนำนโยบายของรัฐไปใส่ในการวางผัง  มีตัวอย่างให้เห็นมากในการพิจารณาในกรรมการต่างๆ   ถ้าไปถึงระดับนั้น  ชุมชนอาจจะไม่ทันทราบข้อมูลข่าวสารในการพิจารณาค่ะ ในกรณีนี้ ไม่ควรมีทางเลือกที่เอา SSB  ค่ะ  ควรจะเป็นทางเลือกอื่นที่คิดร่วมกันค่ะ และควรบอกว่าแต่ละทางเลือกนั้น เน้นการพัฒนาหรือการใช้พื้นที่ต่างกันอย่างไรด้วยค่ะ มีผลกระทบด้านใด ที่ต้องวิเคราะห์ให้เห็น ส่วน SSB  นั้น ถ้ายังไม่มีกระบวนการการประเมินผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ในทุกด้าน และไม่มีการยอมรับจากการมีส่วนร่วมแล้ว  ก็ไม่ควรนำมาพิจารณาในการกำหนดพื้นที่รองรับการพัฒนาที่ตามมาค่ะ 2. การกำหนดพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนนั้น   ขอให้ถามจากผู้วางผัง หน่วยงานให้ชัดเจนค่ะ ว่าจะมีกิจกรรมใดในชุมชนบ้าง  และขอให้แสดงข้อมูล หลักเกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่ชุมชนที่ขยายตัว ( เพราะดูในรูปชุมชนจะชิดกับพื้นที่อนุรักษ์ป่าพรุ ชุ่มน้ำ   ไม่ทราบว่าเป็นชุมชนเดิม หรือเผื่อสำหรับอนาคตด้วย  ซึ่งตรงนี้ต้องมีมาตรการไม่ให้มีผลกระทบจากชุมชนสู่พื้นที่ป่าพรุด้วยค่ะ) โดยสรุปคือ  การจัดทำผังทางเลือก 2 ทาง โดยเอาเงื่อนไขของ SSB`มาเป็น Input ในทางเลือกด้านหนึ่งนั้นไม่เห็นด้วยค่ะ  ไม่ควรนำมาพิจารณาถ้ายังมีข้อขัดแย้งไม่ยุติเป็นที่ยอมรับค่ะ การทำทางเลือกอื่นมาเปรียบเทียบ  ควรนำปัจจัยด้านนโยบายการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง หรือการเกษตร+ประมง หรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มาเสนอในการทำทางเลือก เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับการผลิตและบริการ ที่เป็นฐานเศรษฐกิจชุมชน ที่ช่วยรักษาฐานทรัพยากรค่ะ และการทำผังทางเลือก ควรชี้ให้ชัดว่า ทางเลือกนั้นได้ส่งเสริมฐานเศรษฐกิจชุมชน การเกษตร การประมง การบริการ รวมทั้งอุตสาหกรรมเดิมของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้อย่างไรค่ะ
eabtrang
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องพลังงานหมุนเวียนพึงพาตนเอง ต้องไม่พลาดงานนี้!ข่าวดีสำหรับพี่น้องขาวใต้ของเรา เนื่องจาก  ทางมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้ประสานงานกับนักวิจัยโครงการพลังงานทางเลือกในเขตตภาคใต้ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง รวมทั้งได้ประสานงานกับองค์กรเครือข่ายด้านพลังงานในภาคใต้ ซึ่งได้แก่ สำนักงานพลังงานจังหวัดและส่วนภูมิภาค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ เครือข่ายลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สมาคมประชาสังคมจ.ชุมพร โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยาจ.ตรัง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสมาคมดับบ้านดับเมือง ร่วมมือกันจัดงานมหกรรมพลังงานหมุนเวียนภาคใต้ โดยใช้ชื่องานว่า  "โหมเราหลบมาแลพลังงานในชุมชนภาคใต้กันดีหวา" งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ......1.เพื่อให้บุคคล  ชุมชนของภาคใต้และสังคมไทยร่วมพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ทั้งด้านการวางแผนพลังงานชุมชนและการสร้างความเข้มแข็งของการพึ่งพาตนเองของชุมชนตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม2.เพื่อสรางเครือข่ายการเรียนรู้พลังงานหมุนเวียนของชุมชนในภาคใต้พัฒนาพลังงานหมุนเวียนชุมชนและสรางนโยบายสาธารณะร่วมกัน3.เพื่อการสื่อสารและเผยแพร่ให้สังคมไทยรับรู้ถึงความก้าวหน้าและศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนในภาคใต้งานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 1 และ 2 มิถุนายน 2552 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเขตพัทลุงจึงขอเชิญทุกท่านที่มีความสนใจเกี่ยวกับพลังงานพึ่งตนเอง เข้าร่วมในงานนี้เพราะงานนี้จะมีเทคโนโลยีพลังงานชุมชนกว่า21บู๊ทให้เราได้ชมและยังมีคลินิคพลังงานที่มีผู้เชี่ยวชาญแต่ละพลังงานหมุนเวียนคอยให้คำปรึกษาสำหรับท่านที่อยากจะทำพลังงานเพื่อพึ่งตนเอง นอกจากนี้ยังมีเวทีแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประสบการณ์การทำพลังงานหมุนเวียน ของชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จ และวัฒนธรรมของภาคใต้บนเวทีอีกด้วยงานนี้พี่น้องชาวใต้พลาดไม่ได้แล้ว แต่ถ้าสนใจ ต้องการรายละเอียดหรือกำหนดการเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อได้ที่ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ โทร (02)951-0616,(02)951-0683 หรือที่โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา ตรัง โทร 075582046 **ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้งานมหกรรมพลังงานหมุนเวียนภาคใต้ "โหมเราหลบมาแลพลังงานในชุมชนภาคใต้กันดีหวา"ต่อๆกันด้วยนะคะ เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่น้องชาวใต้คะ กำหนดการการศึกษาดูงานพลังงานชุมชนก่อนงานมหกรรมกลุ่มที่ 1 ชุมพร-นครศรีธรรมราช-พัทลุงวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 255222.00   ออกจากกรุงเทพฯ เดินทางไปชุมพรวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 25525.00     เดินทางถึง สำนักงานสมาคมประชาสังคมชุมพร            พักผ่อนและอาหารเช้า8.00     ออกเดินทางไปอำเภอพะโต๊ะ9.00     ศึกษาดูงาน กังหันน้ำขนาดเล็กผลิตไฟฟ้า ม. 7 บ้านบกแบก ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะรายละเอียดเบื้องต้น ใช้กังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยไดนาโมในระดับครัวเรือน และติดตั้งที่สำนักสงฆ์สามัคคี11.00   เดินทางออกจากอำเภอพะโต๊ะ12.00   อาหารกลางวันที่อำเภอหลังสวน13.00   ศึกษาดูงาน พลังงานก๊าซชีวภาพจากการเลี้ยงหมู ม.7 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวนรายละเอียดเบื้องต้น จากกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนท่ามะพลา เมื่อปี 2548 จึงเกิดกิจกรรมเลี้ยงหมู และพัฒนามาสู่การผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือนและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น กล้วยอบเล็บมือนางทุเรียนอบ และลูกจันทร์ เป็นต้น14.00   ออกเดินทางไป จ.นครศรีธรรมราช18.00   พักที่บ้านคีรีวง อ.ลานสกาวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม 25528.30     บรรยายภาพรวมการพัฒนากังหันน้ำคีรีวง นวัตกรรมท้องถิ่นและการต่อยอดทางวิชาการ9.30     เดินทางขึ้นไปดูการใช้งานกังหันน้ำผลิตไฟฟ้า11.00   ดูงานกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชนคีรีวง12.00   อาหารกลางวัน13.00   ออกเดินทางไปอำเภอท่าศาลา14.00   ศึกษาดูงาน ก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนจากน้ำเสียของการทำยางแผ่น15.30   ออกเดินทางไปจังหวัดพัทลุง17.30   พักที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย อ.ป่าพะยอมกลุ่มที่ 2 สงขลา-พัทลุงวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม 25528.00 - 8.30 นัดพบกันที่หาดใหญ่ หรือ อำเภอเมือง สงขลา เพื่อเดินทางไป อ.สทิงพระ9.30     ศึกษาดูงานพลังงานชุมชนเรื่อง ก๊าซชีวภาพและกังหันลมผลิตไฟฟ้า โดยเครือข่ายลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อำเภอสทิงพระ11.00   ออกเดินทางไปอำเภอรัตภูมิ12.00   อาหารกลางวันที่อำเภอรัตภูมิ13.00   ศึกษาดูงานไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วและไขมันหมูที่สถานีตำรวจอำเภอรัตภูมิ14.30   ออกเดินทางไปจังหวัดพัทลุง15.30   ศึกษาดูงานก๊าซชีวภาพที่ภักดีฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มหมูที่ทำระบบก๊าซชีวภาพและส่งให้ชุมชนใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม17.00   ออกเดินทางไปมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง17.30   เข้าพักที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย อ.ป่าพะยอมกำหนดการมหกรรมพลังงานชุมชนภาคใต้"โหมเราหลบมาแลพลังงานในชุมชนภาคใต้กันดีหวา"วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2552สถาบันวิทยบริการ มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุงนิทรรศการพลังงานชุมชน "นิทรรศการที่มีชีวิต" และ "คลินิก" พลังงานชุมชน ดำเนินการตลอดงานตั้งแต่วันจันทร์ 8.00 - 17.30 น. และวันอังคาร 8.00 - 12.00กำหนดการบนเวที ที่ห้องประชุม สถาบันวิทยบริการ9.00 - 9.30      การเปิดงานมหกรรมพลังงานชุมชนภาคใต้                        โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ (กำลังติดต่อ)9.30 - 11.00    การเสวนา "พลังงานชุมชน : ทางเลือกและทางรอดของชาวใต้"                          วิทยากร 1. เจ้าอาวาสวัดป่ายาง จ.นครศรีธรรมราช2. นายอำนาจ  คงทอง พลังงานจังหวัดตรัง                                              3. ผศ.ประสาท มีแต้ม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                              4. อบต.นาหมอบุญ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช                                           ผู้ดำเนินรายการ ดร.อุษา อ้นทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ11.00 - 11.30      นำเสนอและซักถามโครงการพลังงาน สสส. (ไบโอดีเซลที่รัตภูมิ และโครงการกังหันน้ำคีรีวง)14.00 - 14.30      การแสดงื้องถิ่นภาคใต้14.30 - 15.00      นำเสนอและซักถามโครงการพลังงาน สสส. (ก๊าซชีวภาพน้ำเสียยางแผ่น และก๊าซชีวภาพน้ำเสียไบโอดีเซล)15.00 - 17.00  การเสวนา "ประสบการณ์ของชุมชนในการจัดการพลังงาน"                     วิทยากร 1. คุณทัศนีย์ สุนทรนนท์  เทศบาลตำบลย่านตาขาว  จ.ตรัง                                        2. ผู้แทนชุมชน พลังงานน้ำขนาดเล็ก จ.ชุมพร                                       3. คุณอำพล ช่วยสกุล     ชุมชนตำบลเขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง                                       4. ผู้แทนชุมชนจากจังหวัดปัตตานี                        ผู้ดำเนินรายการ คุณเอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้18.30 - 19.30  การแสดงหนังตะลุงวันอังคารที่ 2 มิถุนายน 25529.30 - 11.30    การเสวนา "อนาคตพลังงานชุมชนภาคใต้ : นโยบายและเครือข่ายความร่วมมือ"                   วิทยากร 1. ผู้แทนจากกระทรวงพลังงาน                                       2. ผู้แทนจาก อบต.นาหม่อม จ.สงขลา                                      3. รศ.ดร.ชาคริต ทองอุไร สถานวิชาการไบโอดีเซล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                     4. คุณศยามล ไกรยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา จ.ตรัง                                     5.  ดร.เดชรัต สุขกำเนิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์                        ผู้ดำเนินรายการ คุณศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ11.30 - 12.00  การปิดงาน      
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน เสาไฟฟ้าที่พอสันนิษฐานได้ว่าตรงนั้นเคยเป็นถนนมาก่อนถูกน้ำท่วมขึ้นมาถึงครึ่งหนึ่ง
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน บางคนแม้กระทั่งบ้านที่อยู่ก็ไม่มีเอกสารสิทธิ
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด เป็นต้นถ้ากล่าวโดยสั้น ๆ จะได้ว่า ภาคใต้กำลังจะถูกทำให้เป็นมาบตาพุดแห่งที่สองนั่นเอง
สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง แม่น้ำคงร้องเพลงสักเพลงปลอบให้คลายเศร้า และแม่น้ำคงปลอบประโลมเราให้อดทนในเวลาที่สายฝนกระหน่ำลงมาไม่ขาดสาย