Skip to main content

นายยืนยง


บทความนี้เกิดจากการรวบรวมกระแสคิดที่มีต่อกวีนิพนธ์ไทยในรุ่นหลัง เริ่มนับจากกวีนิพนธ์แนวเพื่อชีวิตมาถึงปัจจุบัน  และให้น้ำหนักเรื่อง
กวีกับอุดมคติทางกวีนิพนธ์


กวีนิพนธ์ในยุคเพื่อชีวิต ถูกทำให้สาธารณชนจดจำได้เป็นภาพชัดเจนทั้งตัวกวีและผลงาน เพราะส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการทางประวัติศาสตร์การเมืองในพ.ศ.2516 , พ.ศ. 2519 และ พ.ศ.2535 และสถานการณ์ดังกล่าวได้สร้างให้สาธารณชนรู้จักกวีในภาพของ กลุ่มคนที่ยึดมั่นในอุดมคติซึ่งกล่าวได้ว่า กวีนิพนธ์ในยุคนั้นได้สร้างกระแสความคิด สร้างอุดมการณ์ทางการเมืองให้กับสาธารณชน ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปลุกกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์การเมือง

จะเห็นได้ว่า ทั้งตัวกวีและผลงานต่างก็ถูกจดจำในภาพของ
กลุ่มคนที่ยึดมั่นในอุดมคติ และ กวีนิพนธ์ในอุดมคติ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ตัวกวีและผลงานต่างถูกมองเป็นสัญลักษณ์ในทางเดียวกัน ซึ่งมีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้สาธารณชนถือว่า ตัวกวีและผลงานเป็นกลุ่มคนที่มีอุดมคติซึ่งสร้างสรรค์ผลงานกวีนิพนธ์อันเปี่ยมด้วยอุดมคติ

ข้อเท็จจริงที่กวีสมมุติขึ้นในการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์


ในยุคเพื่อชีวิต กวีนิพนธ์ที่อยู่ในกระแสส่วนใหญ่เป็นกวีนิพนธ์ที่มองโลกอย่างที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสถานการณ์จริงที่กำลังดำเนินอยู่ บริบทอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือกวีนิพนธ์จึงถูกอ่านไปพร้อมกับกวีนิพนธ์ด้วย ทำให้สาธารณชนไม่รีรอที่จะสรุปว่า ตัวกวีกับผลงานไม่อาจแยกแยะออกจากกันได้ ยกเว้นบางกรณีเท่านั้น 


ดังนั้นเราจึงได้เห็นว่า บางครั้ง บทกวีการเมืองที่เราไปรู้มาว่ากวีตั้งใจเขียนเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ทางเมืองที่เขาศรัทธา จะเป็นบทกวีที่ดีขึ้นมาได้

ปัจจุบันนักวิจารณ์ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า ผู้เล่า ในวรรณกรรมนั้นไม่อาจที่จะถือว่าเป็นคนเดียวกับผู้แต่งจริง กวีคือคน ๆ หนึ่งที่สื่อสารกับหลายคน แต่สื่อสารโดยใช้เรื่องสมมุติ บทกวีประเภทลำนำทั้งหลายเขียนเป็นบทรำพึงความในใจทั้ง ๆ ที่ต้องการให้คนจำนวนมากรับรู้ เราสงวนคำว่า ผู้เล่า นี้ไว้ใช้ในกรณีที่เห็นชัดว่าผู้เล่าไม่ใช่คนเดียวกับผู้แต่ง (จากย่อหน้าที่ขีดเส้นใต้ คัดลอกมาจากหนังสือ ว่าด้วยหลักวรรณคดีวิจารณ์ แปลจาก An Essay on Criticism by Graham Hough,1973 แปลโดย นฤมล กาญจนทัต และ อุบลวรรณ โชติวิสิทธิ์)

จากย่อหน้าข้างต้น จะเห็นได้ว่า กวีมองโลกอย่างที่เป็นข้อเท็จจริงตามสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ เพื่อสร้างสรรค์บทกวีขึ้นมา แต่จะเป็นไปได้หรือที่กวีจะมองเห็นข้อเท็จจริงในทุกด้านทุกแง่มุมตามข้อเท็จจริงที่กำลังดำเนินอยู่ ฉะนั้นกวีนินพนธ์ในยุคนี้แม้จะถูกขึ้นในสถานการณ์ที่เป็นจริง แต่กวีนิพนธ์ย่อมตกอยู่ในขอบเขตของ
เรื่องสมมุติ อยู่นั่นเอง ทั้งนี้ เรื่องสมมุติ ดังกล่าวที่กวีสร้างสรรค์ขึ้นจากประสบการณ์จริงหรือจากโอกาสของตนเองนั้น ก็หาใช่ชีวประวัติของกวีเองทั้งหมด

จึงกล่าวได้ว่า การอ่านกวีนิพนธ์ในยุคเพื่อชีวิต เราจะต้องสงวนบูรณภาพของบทกวีเพื่อไม่ให้บทกวีกลายเป็นชีวประวัติของกวี แต่การอ่านกวีนิพนธ์โดยไม่คำนึงถึงกวีเลยก็ไม่อาจเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน 


และอาจกล่าวได้อีกว่า สถานการณ์ทางการเมืองในยุคที่ผ่านมา ไม่อาจสร้างวีรบุรุษกวีหรือวีรสตรีกวีได้ นอกเสียจากมันได้สร้างอุดมคติของกวีนิพนธ์ไว้ให้กวีรุ่นหลังต่อมา


ดังนั้นความรู้สึกที่จะเรียกร้องให้บรรดากวีเดือนตุลาในอดีตทั้งหลาย ก้าวออกมามีส่วนร่วมในขบวนการทางเมืองของวันนี้ จึงเป็นการกระทำที่ไร้วุฒิภาวะ


อุดมคติอันเป็นมรดกตกทอด


ในยุคเพื่อชีวิต เป็นยุคที่กวีนิพนธ์มองโลกอย่างที่เป็นข้อเท็จจริงตามสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ เพื่อแสดงศีลธรรมชุดหนึ่งในปรากฎขึ้น ในการที่จะสร้างสรรค์สังคมอุดมคติ กลวิธีนี้ถูกเรียกว่า สัจจะนิยมหรืออัตนิยม


สังคมในอุดมคติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในความรู้สึกของผู้อ่านผ่านวรรณกรรมหลายประเภท ทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย รวมทั้งกวีนิพนธ์ด้วย เนื่องจากวรรณกรรมเหล่านั้นได้แสดงถึงศีลธรรมชุดดังกล่าว


ขณะเดียวกัน มันก็ได้ส่งทอดอุดมคติมาสู่วรรณกรรมด้วย กล่าวคือ วรรณกรรมจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันกล่าวถึงอุดมคติ


เท่ากับเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการอ่านกวีนิพนธ์ให้กับสาธารณชน เช่น กวีนิพนธ์ที่แสดงออกถึงความคิดทางการเมืองในการจะล้มล้างรัฐทหารนั้นมีคุณค่าควรแก่การอ่านมากกว่า กวีนิพนธ์ที่แสดงออกถึงพลังของประชาชนนั้นมีคุณค่าแก่การอ่านมากกว่าเนื่องจากมันได้สร้างพื้นที่ของประชาธิปไตยลงในประชาชน และเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อุดมคติดังกล่าวได้แปรสภาพเป็นอุดมคติของชนชั้นกลางไปด้วย


อาจกล่าวได้ว่า กวีนิพนธ์ยุคเพื่อชีวิตได้สถาปนาศีลธรรมชุดหนึ่งให้กับกวีนิพนธ์ คือ กวีนิพนธ์ที่แท้นั้นต้องแสดงออกถึงทัศนะทางการสังคมการเมืองในอุดมคติ หรือชี้ให้เห็นหนทางของชีวิตที่ดีงาม หรือชีวิตจะดีได้สังคมต้องดีควบคู่กันไปด้วย เท่ากับว่าอุดมคติดังกล่าวได้สร้างเส้นแบ่งระหว่างกวีนิพนธ์ที่ทรงคุณค่ากับกวีนิพนธ์ที่ไร้คุณค่าออกจากกัน


และศีลธรรมชุดนี้ก็เป็นมรดกตกทอดอันหนึ่งของสังคมกวีนิพนธ์ในยุคต่อมา


ท่าทีต่อต้านที่เป็นมรดกอีกกองหนึ่ง


ในยุคหลังเพื่อชีวิตมาแล้ว นอกจากกวีนิพนธ์จะมีเนื้อหาในทางสังคมการเมืองแล้ว เราจะเห็นว่ากวีนิพนธ์ในยุคดังกล่าวได้แสดงบทบาทการวิพากษ์วิจารณ์ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในสังคมด้วยท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น ศัตรูของประชาชนคือเผด็จการทหาร รวมไปถึงการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม และจักรวรรดิอเมริกา ทำให้กวีนิพนธ์ในยุคนี้ต่างตั้งตัวเป็นศัตรูกับชาติตะวันตกอย่างอเมริกา 


มีบทกวีที่วิพากษ์วิจารณ์ และมีปฏิกิริยาต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ของลัทธิบริโภคนิยม อเมริกา รวมถึงสัญลักษณ์ของการล่าอาณานิคมรูปแบบใหม่ ที่แผ่ขยายอิทธิพลมาทางกระแสวัฒนธรรม


อุดมคติของกวีนิพนธ์อันเป็นมรดกตกทอดจากยุคเพื่อชีวิต ที่มีศัตรูเป็นเผด็จการหรืออำนาจปกครองจึงได้แปรสภาพมาเป็นลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งตอนนั้นค่านิยมของชนชั้นกลางที่ยึดถืออุดมคติของกวีนิพนธ์ในยุคเพื่อชีวิตได้หันมาต้อนรับโลกเสรีนิยมแบบอเมริกากันอย่างแพร่หลาย กวีนิพนธ์ที่มีเนื้อหาต่อต้านลัทธิบริโภคนิยมจึงไม่ได้ทำหน้าที่สร้างอุดมคติใหม่สนองชนชั้นกลางอย่างเดียว แต่ทำหน้าที่ต่อต้านสิ่งที่ชนชั้นกลางแสวงหา


เช่นนี้เท่ากับว่า อุดมคติของกวีนิพนธ์ยุคเพื่อชีวิตที่เทศนาให้ชนชั้นกลางมุ่งสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น มุ่งไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า และมีความเป็นเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น กลับมาขัดแย้งกับอุดมคติของกวีนิพนธ์ในยุคหลังเพื่อชีวิต ที่วิพากษ์วิจารณ์ค่านิยมของชนชั้นกลางซึ่งดำเนินชีวิตตามเงื่อนไขของอุดมคติในยุคเพื่อชีวิตอย่างว่านอนสอนง่าย

ท่าทีต่อต้านลัทธิบริโภคนิยมของกวีนิพนธ์ในยุคหลังนี้ มักถูกสร้างขึ้นด้วยมุมมองแบบข้อเท็จจริงผสมผสานกับการใช้ อำนาจพิเศษบางอย่าง ที่เสมือนหนึ่งว่ามันดำรงอยู่ในตัวตนของกวีมาช้านาน ตรงนี้น่าสังเกตว่า นอกจากกวีจะถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษกวีหรือวีรสตรีกวีอย่างหลงงมงายจากสาธารณชนแล้ว กวียังถูกยกย่องให้เป็นชนชั้นพิเศษแบบหนึ่ง ที่ไม่เพียงมี ปมพลังอิสระ (autonomous complex) อย่างที่ยุง (Jung) อธิบายไว้ แต่กวียังมีญาณทัศน์ที่พิเศษว่า ยังมีการกล่าวอย่างกว้างขวางด้วยว่า กวีมีนัยน์ตาพิเศษ อีกด้วย ดังนั้นแล้วกวีนิพนธ์ในยุคนี้จึงแสดงออกอย่างชัดเจนในการที่จะวิพากษ์วิจารณ์ หรือทำนายทายทักเหตุการณ์ในอนาคตว่าบริโภคนิยมอันชั่วร้ายนั้นจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง พวกเขาได้ชี้ถูกชี้ผิด แม้กระทั่งพิพากษาชะตากรรมของลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งกวีมองว่าชนชั้นกลางกำลังลุ่มหลงมัวเมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธิดังกล่าว

กวีนิพนธ์ในยุคนี้อาจถูกมองอย่างหมางเมินจากชนชั้นกลางไประยะหนึ่ง แต่เมื่อญาณทัศน์ของกวีที่มองเห็นผลร้ายของปีศาจบริโภคนิยม เริ่มปรากฎเป็นขึ้นเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม โดยเฉพาะสังคมเมืองหลวง ซึ่งก็เท่ากับเป็นการตอกย้ำอีกว่า กวีเป็นชนชั้นพิเศษอยู่ไม่เปลี่ยนนั่นเอง ชนชั้นกลางที่หมางเมินกวีนิพนธ์ก่อนหน้านี้น่าจะกลับมาสนใจกวีนิพนธ์อย่างว่านอนสอนง่ายเหมือนในอดีต ซึ่งชนชั้นกลางก็ยังเป็นกลุ่มคนที่ว่านอนสอนง่ายเหมือนเดิม แต่พวกเขาย่อมไม่อาจแสร้งตาบอดได้ เมื่อชนบทในฝันได้เปลี่ยนไปแล้ว


เนื่องจากกวีนิพนธ์ในยุคนี้ส่วนใหญ่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้าน รวมถึงพิพากษา โดยพยายามโน้มน้าวผู้อ่านให้คล้อยตามอุดมคติของกวีนิพนธ์ แต่กวีคงหลงคิดไปว่า การมองโลกด้วยมุมมองแบบข้อเท็จจริงที่นำมาสร้างสรรค์เป็น
เรื่องสมุมติเพื่อเทศนาให้สาธารณชนคล้อยตาม และนำมาใช้จริงในชีวิตนั้น เป็นการกระทำที่เลินเล่ออย่างยิ่ง และงมงายอย่างยิ่ง

เพราะขณะที่กวีโน้มน้าวชนชั้นกลางในเมืองกรุงให้หันกลับมาใช้ชีวิตแบบธรรมชาตินิยม ให้โหยหาและกลับมาสู่ชีวิตแบบเงียบสงบในชนบท ผ่านกระบวนการสร้างภาพพจน์ของชนบทที่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ต่าง ๆ นานาในกวีนิพนธ์นั้น กวีคงมองโลกชนบทผ่านญาณทัศน์ที่ผิดพลาดว่า ขณะเมืองกรุงคลั่งลัทธิบริโภคนิยม ชนบทจะยังงดงามผุดผาดดั่งในอดีตอันแสนหวาน

เมื่อกวีนิพนธ์ไร้ทางออก หนทางใหม่คือ เดินทางเข้าสู่ข้างใน


หลังจากยุคที่กวีนิพนธ์ต่างมุ่งเน้นในการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยมแล้วแต่ประสบปัญหาคือ ไร้ทางออก 
แต่พื้นที่สร้างสรรค์กวีนิพนธ์หาได้แช่ค้างไว้ เราจะเห็นว่ามีกวีนิพนธ์ที่ได้กล่าวถึงและแสดงออกถึงคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต ซึ่งก็เท่ากับว่า กวีนิพนธ์ยังคงดำรงไว้ซึ่งอุดมคติ ในการที่จะแสดงออกถึงความดีงามสูงส่งเหมือนในยุคก่อน ๆ

สังเกตว่า กวีนิพนธ์ในยุคนี้ได้แตกย่อยออกมาอย่างหลากหลายมากขึ้น มีทั้งแนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวแสวงหาความสุขทางจิตวิญญาณ รวมถึงแนวธรรมะ และน่าสนใจตรงนี้ว่า เนื้อหาของกวีนิพนธ์ในแนวทางต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ต่างก็เป็น
สาร ที่มีคุณค่าอันดีงามอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว กล่าวคือ แนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นแนวคิดที่ดีอยู่ในตัวเอง หากไม่มีการเขียนบทกวีกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ ก็ยังมีกลุ่มคนที่มีแนวคิดเช่นนี้อยู่ มีการดำเนินการที่เป็นกระบวนการอยู่แล้ว หากไม่มีบทกวีที่แสดงออกถึงแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวคิดนี้ก็ดำเนินอยู่ได้ รวมไปถึงแนวธรรมะ หรือข้อคิดปรัชญา ซึ่งล้วนดำรงอยู่ได้โดยปราศจากวีนิพนธ์

การที่กวีนิพนธ์ไปจับ
สาร เหล่านั้นมาแสดงออกนั้น จะถือเป็นการกระทำตามความเคยชิน หรือเป็นท่าทีของกวีในอุดมคติที่จำเป็นต้อง สร้างสรรค์กวีนิพนธ์เพื่อแสดงออกถึงความดีงามสูงส่ง ถ้ากล่าวเช่นนี้ จะถือเป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของกวีนิพนธ์ได้หรือไม่

สรุป


จะเห็นได้ว่า ในยุคเพื่อชีวิตและหลังเพื่อชีวิตมานั้น กวีนิพนธ์ถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความดีงามสูงส่งเป็นสำคัญ ดังนั้น กวีจึงมีความสัมพันธ์กับอุดมคติทางกวีนิพนธ์อย่างคล้อยตาม และยึดมั่นในอุดมคติเสมอมาไม่เปลี่ยน


แต่สิ่งที่จะกล่าวต่อไปในบทความตอนต่อไป จะเป็นการให้น้ำหนักความสัมพันธ์ระหว่างตัวกวีกับผลงานกวีนิพนธ์ ว่าทั้งสองส่วนนี้เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน หรือเป็นไปในทางตรงกันข้าม และส่งผลต่อการอ่านกวีนิพนธ์ของสาธารณชนอย่างไร โดยจะมุ่งเน้นไปถึงกวีที่นำมาหลักพุทธธรรมที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว มาแสดงออกผ่านกวีนิพนธ์ของเขา.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…