Skip to main content

‘นายยืนยง’

20080220 ภาพปกโศกนาฎกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์

ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day
ประเภท            :    วรรณกรรมแปล
จัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙
ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ
ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์

เราต่างเดินเท้าผ่านเวลาของวันคืน วนรอบอยู่ในสังคม ในโลก และในเรา  
ชีวิตอาจเป็นเรื่องน่าเศร้า อาจเป็นมากกว่าโศกนาฏกรรมในนวนิยาย หรือชีวิตจะไม่ใช่...

เคยถามตัวเองว่า ทำไมการเผชิญหน้ากับปัญหาที่ล้อมรุมเข้ามาจึงเป็นความยากหนึ่งที่หลายครั้งถึงกับต้องยอมจำนน แต่ทำไมเมื่อเราเลือกหยิบหนังสือบางเล่มเพื่อผ่อนเกลียวของความเศร้า หนังสือนั้นกลับตรึงเราไว้กับเรื่องราวเหล่านั้นทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราสักนิด ขณะเดียวกันเรายังมองเห็นตัวตนของเราในนั้นได้ โดยเฉพาะกับนวนิยาย

นอกเหนือจากการได้สนทนากับตัวละครในเรื่องแล้ว ระหว่างการอ่านอันดื่มด่ำ เราก็ค้นพบว่าปัญหาอันทุกข์เศร้าที่มีอยู่กลับไม่เผยตัวตนให้เจ็บปวด หรือที่ผ่านมาชีวิตเราช่างไร้สุนทรียะ เราจึงได้เสพมันราวกับกระหายเต็มประดา

นวนิยายแต่ละเรื่องต่างมีรสสัมผัสผิดแผกกันไป ความพริ้งเพริศของภาษา บรรยากาศเร้าชวนหลงใหล ตัวละครที่มีบุคลิกโดดเด่นสะดุดตา ซึ่งประกอบกันเป็นนวนิยายนั้น ล้วนผ่านกลวิธีการเขียนของนักเขียน โดยแต่ละคนก็ย่อมคิดค้นหาศิลปะการเล่าที่เหมาะสม แตกต่าง และสร้างสรรค์ใหม่

ทฤษฎีว่าด้วยศิลปะการเขียนมีให้ศึกษาไม่รู้จบ แม้นเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกถ่ายทอดครั้งแล้วครั้งเล่า แต่รสสัมผัสที่ได้กลับไม่เคยเหมือนเดิม ดังเช่นที่เราเคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของระบบศักดินาแบบอังกฤษ รู้จักธรรมเนียม มารยาท แบบแผนต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของคนอังกฤษมาบ้างแล้ว แต่กับนวนิยายเล่มนี้เราจะต้องตื่นตะลึงกับการถ่ายทอดอย่างร่วมสมัยแต่คงไว้ซึ่งความคลาสสิคยิ่ง

เถ้าถ่านแห่งวารวัน บทประพันธ์ของคาสึโอะ อิชิงุโระ เป็นนวนิยายที่เขียนออกมาได้อย่างหมดจดงดงามและประณีตที่สุด และเหมาะสมยิ่งที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ BOOKER PRIZE ปี 1989   

คาสึโอะ อิชิงุโระ เกิดที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1954 และย้ายไปพำนักที่ประเทศอังกฤษเมื่อปี 1960  สำเร็จการศึกษาด้านภาษาอังกฤษและปรัชญาจากมหาวิทยาลัยเคนต์ที่แคนเทอร์เบอรี ผลงานของเขาล้วนโดดเด่นและได้รับรางวัลแทบทั้งสิ้น

นอกจากนั้น ต้องยกย่อง นาลันทา คุปต์ผู้ถ่ายทอดจากภาษาอังกฤษสู่ภาษาไทยให้เราได้อ่าน ต้องชื่นชมในการเลือกใช้คำ การวางประโยคอันสละสลวยและมีนัยยะต่อความรู้สึกนึกคิดอีกด้วย

นวนิยายที่ประณีตและโดดเด่นยิ่งเรื่องนี้ เปี่ยมด้วยความสดใหม่ ลึกซึ้งและอ่อนโยน  แต่ข้อสำคัญน่าศึกษาสำหรับนักอ่านหรือนักเขียนก็คือศิลปะแห่งการเล่าเรื่องนั่นเอง         

การจะพิจารณาถึงข้อดังกล่าวนั้นเราไม่อาจแยกในส่วนที่เป็นรูปแบบของการเล่าออกจากแนวคิดทางด้านศีลธรรมของเรื่องได้ชัดเจน แม้จะบอกได้อย่างชัดเจนว่าศีลธรรมของเรื่องมุ่งเน้นในการอธิบายถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในสถานภาพที่ต่างกัน รวมทั้งเหตุผลของการนับถือตนเองด้วย
        
เถ้าถ่านแห่งวารวัน เป็นเรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของตัวละครเอกที่เป็นพ่อบ้านในคฤหาสน์ดาร์ลิงตันฮอลล์ ในยุคที่ความสับสนระหว่างกลุ่มชนที่ยึดถือขนบแบบแผนอันมีมาเนิ่นนานกับความคิดที่จะก้าวให้ทันโลกสมัยใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นวนิยายเรื่องนี้ได้สนทนากับผู้อ่านด้วยอารมณ์ของโศกนาฏกรรมตลอดทั้งเรื่อง แต่เราจะไม่เห็นหยาดน้ำตาหรือร่องรอยของความเศร้าโศกนั้นเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะรุนแรงร้ายกาจเพียงใดในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แต่สำหรับพ่อบ้านอย่างสตีเวนส์ ผู้สูญเสียพ่อและคนรัก รวมทั้งตระหนักในความพ่ายแพ้ต่อยุคสมัยของเจ้านายผู้ที่เขามอบความจงรักภักดีไว้แทบเท้า

จากที่ได้เกริ่นไว้ว่ารูปแบบของศิลปะการเล่าเรื่องนั้นน่าสนใจศึกษาเพียงไร อาจสรุปได้อย่างชัดถ้อยชัดคำว่า เถ้าถ่านแห่งวารวันเป็นโศกนาฏกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ประณีตงามยิ่ง โดยเน้นย้ำว่าผู้เขียนได้ใช้วิธีการที่ละเลยต่อรูปแบบดั้งเดิม ทั้งยังมีทีท่าไม่สนใจต่อเอกภาพของเรื่อง แต่องค์ประกอบทุกส่วนล้วนเป็นบูรณภาพอย่างร้ายกาจเหลือเชื่อ เป็นความประสานลงตัวที่ชวนให้ตื่นตะลึงทีเดียว

ว่าด้วยการละเลยรูปแบบ หาใช่มีความหมายไปในทางที่เรียกกันไปอย่างไร้ความรับผิดเลย หากหมายถึงการละเลยรูปแบบซึ่งจงใจร้อยรัดไว้อย่างประณีตเหมือนอย่างจิตรกรรมในแนวทางของอิมเพรสชั่นนิสม์ โดยผู้เขียนอาศัยหลักจิตวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นแนวทางในการตรึงผู้อ่านไว้กับเรื่องโดยตลอด เป็นวิธีที่เรียกว่าเร้าความสนใจไปเรื่อย ๆ แทนที่จะทำให้ผู้อ่านใฝ่หาถึงแต่ตอนจบอันสมบูรณ์อย่างเดียวเท่านั้น และถือเป็นวิธีการที่ยากยิ่ง เนื่องจากการเน้นความเป็นไปของเรื่องราวในระหว่างการดำเนินเรื่อง ต้องอาศัยความสอดคล้องมากกว่าบูรณภาพของเรื่อง แต่ยิ่งอ่านไปเรื่อย ๆ ก็จะพบว่าช่างเต็มไปด้วยบูรณภาพยิ่ง แม้กระทั่งการเปรียบเปรยในช่วงแรก ยกตัวอย่างหน้า 37
    
เมื่อผมยืนอยู่บนชะง่อนผาสูงยามเช้าและมองเห็นผืนดินเบื้องหน้านั้น ผมสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่หาได้ยากยิ่ง แต่ไม่มีทางจะเป็นอื่นไปได้นั้นได้อย่างชัดเจน  นั่นคือความรู้สึกว่ากำลังอยู่เบื้องหน้าความยิ่งใหญ่ เราเรียกแผ่นดินของเรานี้ว่า บริเตนใหญ่ และก็อาจจะมีบางคนที่เชื่อว่านั่นออกจะเป็นการทะนงตัวไปเสียหน่อย แต่ผมก็กล้าพูดว่า เพียงแค่ภูมิทัศน์ของประเทศเราก็พอให้ใช้คำคุณศัพท์ที่เลิศลอยนั้นได้อย่างไม่ละอายแล้ว  ...ฯลฯ ...  

ผมก็จะบอกว่าเป็นเพราะไม่มีความน่าตื่นตาหรือน่าทึ่งอย่างโจ่งแจ้งนั่นแหละที่ทำให้ความงามของประเทศเราพิเศษกว่าใคร สิ่งสำคัญคือความเยือกเย็นของความงามนั้น ความรู้สึกสงบใจของมัน เหมือนกับแผ่นดินรู้ตัวว่างดงาม รู้ตัวว่ายิ่งใหญ่และไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องประกาศก้อง เมื่อเทียบกันแล้ว ทิวทัศน์ประเภทที่มีให้เห็นในที่อย่างแอฟริกาหรืออเมริกานั้น ถึงแม้จะน่าตื่นเต้นเพียงไร แต่ผมก็แน่ใจว่าผู้ที่มองอย่างเป็นกลางจะเห็นว่าด้อยกว่าเพราะการป่าวร้องอย่างไม่สมควรนั่นเป็นแน่...

จากย่อหน้าดังกล่าว จะเห็นว่ากระแสความคิดของสตีเวนส์เมื่อได้เห็นทัศนียภาพของประเทศ แม้เป็นจะเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กน้อยของนวนิยายทั้งเล่ม แต่เราจะได้พบกับเรื่องราวย่อย ๆ ที่เป็นความสมดุลเชื่อมโยง สอดคล้องกันไปทั้งหมดกับเรื่องราวย่อยอื่นของเรื่องและประสานกันได้อย่างแนบเนียนกับบูรณภาพและศีลธรรมของเรื่อง

นอกเหนือจากข้อสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังมีการประสานขององค์ประกอบอื่นอีกมากมาย เช่นตัวละครที่มีทั้งจากการแต่งขึ้นใหม่และตัวละครที่มีชีวิตอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เช่น จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ นักเขียนบทละคร, ศาสตราจารย์เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษผู้ได้รับสมญานามว่าบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ หนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือ การวิพากษ์สนธิสัญญาแวร์ซายส์ว่าจะทำให้เศรษฐกิจของยุโรปทั้งหมดต้องพินาศ (หน้า 84 ) ฯลฯ   ภายใต้มุมมองและกระแสคิดของสตีเวนส์ พ่อบ้านประจำคฤหาสน์ฯ ที่ถูกกระตุ้นด้วยสภาพแวดล้อม ผู้คน สังคมภายนอกคฤหาสน์ เรื่องราวในอดีตอันยิบย่อยก็ค่อย ๆ ผลิเผยออกมาเป็นเรื่องราวจากความทรงจำ

ศิลปะการเล่าเรื่องดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นดุมล้อแห่งสุนทรียภาพที่เฝ้าปลอบประโลมมนุษยชาติได้เลยทีเดียว  แม้บางคนอาจเคยรู้สึกว่า ทำไมต้องเสียเวลากับเรื่องโศกนาฏกรรมด้วยเล่า ในเมื่อชีวิตจริงน่าเศร้าเสียยิ่งกว่านิยาย

แต่กับโศกนาฏกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์เล่มนี้
ทำให้เราคงอยู่กับความเศร้าโศกได้อย่างเข้าอกเข้าใจ ทั้งสุขุมเยือกเย็นและสง่างาม.


            

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…