Skip to main content

การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก

เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง
แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
\\/--break--\>

เนื่องจากระยะทางยาวไกล มีการผลัดกันขับรถ วันนี้ถึงคิวผมขับรถ เป็นครั้งแรกที่ขับรถพวงมาลัยอยู่ทางซ้ายแต่ขับแลนขวา ขับไปเรื่อยๆจนผมเห็น ธง โบกปลิวโดยที่ไม่ใช่ ธง ของสหรัฐอเมริกา ธงถูกติดตามที่ต่าง มีสามแถบ สามสี ขาว แดง น้ำเงิน และ หนึ่งดาว

นี่เป็น ธงอะไรคับ?” ผมถามคนในประเทศอเมริกา
อ้อ นี่เราถึงเท็กซัส แล้ว Lone star state” เจ้าถิ่นบอกผม

คนเท็กซัสมีเรื่องราวการต่อสู้ที่น่าสนใจ พวกเขาต้องการเป็นอิสระ ไม่ต้องการเป็นสหรัฐอเมริกา ธงที่เป็นสัญลักษณ์ของ เท็กซัส จึงมีเพียงดาวเดียว นั่นเป็นที่มาของการขนานนามรัฐว่า “รัฐดาวเดี่ยว”

ในปี
1519-1685 อาณานิคมสเปน ได้มาปกครองเท็กซัส ปี 1685-1690 แยกตัวออกมาเป็นสาธารณรัฐเท็กซัส ปี 1690-1821 ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนอีกครั้ง ปี 1821-1836 ถูกปกครองโดยเม็กซิโก ปี 1836-1845 แยกตัวมาเป็นสาธารณรัฐอีกครั้ง ปี 1845-1861 รวมตัวกับสหรัฐอเมริกา ปี 1861-1865 แยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง ต่อมาอเมริกาได้ทำทุกวิถีทาง จนสามารถผนวกเอาเท็กซัสกลับมาเป็นส่วนหนึ่งสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้งตั้งแต่ ปี 1865 จนถึงปัจจุบัน

แต่คนเท๊กซัสก็ยังคงอยากที่จะเป็นเท๊กซัสมากกว่าเป็นอเมริกา ความภูมิใจของคนเท็กซัสในการต่อสู้เพื่อปกป้องมาตรภูมิครั้งสำคัญ การต่อสู้กับเม็กซิโก ที่
Alamo ที่คนเท็กซัสได้พลีชีพมากมายในการต่อสู้ครั้งนั้น จนได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้เสียสละเพื่อแผ่นดินเกิด ของที่ระลึกเมืองนี้ที่มีมากที่สุดคือสินค้าที่มี ธงเท็กซัส ดาวเดี่ยวและข้อความ “REMEMBER THE ALAMO”

ในใจผมนึกถึง ค่ายมาเนอปลอ ค่ายก่อมูหร่า ของคนกะเหรี่ยง ริมฝั่งแม่น้ำเมยในรัฐกะเหรี่ยง น่าเสียดายที่มิอาจรักษาค่ายทั้งสองแห่งที่ว่านั้นได้ เวลาพูดถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนกะเหรี่ยงในประเทศพม่าช่วงหลังๆ มีแต่คำว่าน่าเสียดาย เพราะมันมีแต่สิ่งที่น่าเสียดาย เสียดายโอกาส เสียดายพื้นที่ เสียดายคน

ถึงโบสถ์เก่าที่ถูก เทคโอเวอร์ มาทำเป็น
Casbeer’s Nightclub ในเมือง San Antonio เวลาประมาณ 2 ทุ่มเศษ ต้องเล่นคอนเสริตโดยที่ยังไม่มีใครทานข้าวมื้อเย็นเลย ผู้ชมผู้ฟังเป็นคนไทยประมาณ ร้อยกว่าคน การแสดงดำเนินไปอย่างเต็มที่เต็มรูปแบบ 3 ชั่วโมงจบลง ทั้งนักดนตรี นักร้อง นักเต้น ต่างเก็บของเครื่องไม้เครื่องมือเสื้อผ้า เครื่องเสียงขึ้นรถ อากาศร้อน ความหิวรบกวน ความเพลียมาเยือน ความง่วงทักทาย ความหงุดหงิดเข้ามา

บรรยากาศการเก็บของเริ่มเปลี่ยนจากวันแรกๆ เสียงบ่นเริ่มมา คนยกของเริ่มปวดเอว

โอย ต้องเล่นดนตรีด้วย ต้องยกของด้วย ต้องขับรถด้วย อะไรกันเนี้ย!” มือกีตาร์จากฝรั่งเศสเริ่มเปิดหัว
เป็นนักร้องนี้มันสบายนะ ไม่ต้องยกของไม่มีเครื่องดนตรี ร้องเพลงเสร็จ ถ่ายรูปกับคนดู เดี๋ยวผมจะเป็นนักร้องบ้าง (หัวเราะ)” เขาบ่นทีเล่นเล่นทีจริงต่อ
เอ้า! พูดอย่างแสดงว่า คุณกำลังบอกว่าฉันกินแรงคุณเหรอ? ฉันเป็นผู้หญิงคุณจะให้ฉันยกของเหมือนผู้ชายเหรอ” นักร้องหญิงทัก เขาไม่ตอบเธอ แต่เขายกขวดเบียร์กระดกใส่ปากแทน
โอย หิวข้าว” เขาเปลี่ยนเรื่อง ทุกคนจึงบ่นหิวข้าวตามๆกันไปขณะที่เกือบเที่ยงคืนแล้ว
ผมอยากพาไปที่ที่หนึ่งก่อน อยากให้ทุกคนไป มันเหมือนคนบางระจัน ที่เมืองไทย คนAlamo ต่อสู้เหมือนคนบางระจัน” มีทั้งคนเห็นด้วยกับคนไม่เห็นด้วย บางคนอยากให้ไปหาที่นอนก่อน บางคนอยากให้ไปหาที่กินก่อน แต่พี่ทอด์ดก็ไปที่พิพิธภัณฑ์ Alamo ก่อน โดยหวังที่จะให้ทางคณะได้ซึ้งกับวีรกรรมการต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด แต่เนื่องจากยามวิกาลเราไม่สามารถเข้าไปข้างในได้ ทำได้เพียงโพสท่าถ่ายรูปหน้าประตูพิพิธภัณฑ์ กว่าจะออกมาก็ราว เที่ยงคืนครึ่ง เราจึงไปหาที่นอน

เนื่องจากไม่ได้มีการจองที่นอนไว้ล่วงหน้า ห้องบางห้องไม่ได้มีการเตรียมไว้รอ จึงต้องรอจนกว่าห้องจะครบ เมื่อห้องครบการจัดสรรคนนอนไม่ลงตัวอีก บางคนไม่ชอบนอนกับคนสูบบุหรี่ บางคนไม่ชอบนอนกับคนนอนกรน บางคนไม่ชอบนอนกับฝรั่งด้วยเหตุผลที่คุยกันไม่รู้เรื่อง กว่าจะจัดห้องลงตัว เปลี่ยนกันไป เปลี่ยนกันมาตั้งหลายรอบ


เดี่ยวผมจะไปล่าอาหารมาทุกคนรออยู่ที่นี่” พี่ทอด์ดพูดเสร็จออกจากที่พัก กว่าจะกลับมาอีกทีประมาณชั่วโมงหนึ่ง
ผมล่ามาได้แค่นี้ ร้านแถวๆนี้ปิดหมดเลย อยากให้ทุกคนกินอันนี้ไปก่อน พรุ่งนี้เช้าค่อยฟัดหนักๆ” พี่ทอด์ดพูดพร้อมยื่นอาหารสำเร็จรูป อาทิ มาม่า ขนมปัง มาให้คณะทานก่อนนอน แต่บางคนง่วงมากกว่าหิวเลยไม่สนอาหารแล้ว

รุ่งเช้า ผมเดินไปที่พิพิธภัณฑ์
Alamo อีกรอบ ข้างในมีนิทรรศการเรื่องราวการต่อสู้ มีเครื่องมือเครื่องใช้ของวีชน มีของที่ระลึก แต่ห้ามถ่ายรูป
ถ่ายข้างในไม่ได้ก็ถ่ายข้างนอก" ผมออกไปถ่ายรูปข้างนอก
มันมีหลักการอยู่ว่า อย่าเพิ่งถาม ทำไปก่อนถ้าเขามาว่า แล้วหยุด การถ่ายรูปก็เหมือนกัน ถ่ายก่อนแล้วค่อยว่ากัน” พี่ทอด์ดบอกผม ก่อนออกจากรั้วพิพิธภัณฑ์

 

 

 บนถนนระหว่างเดินทางไป Texas

 


ธงดาวเดี่ยว ของ
Texas

 


ร้านขายของที่ระลึกใน
Texas

 


พ่อค้า ชาวแม็กซิโก

 

 


ค่ายบางระจัน แห่ง
Texas

 

 


 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…