Skip to main content

การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก

เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง
แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
\\/--break--\>

เนื่องจากระยะทางยาวไกล มีการผลัดกันขับรถ วันนี้ถึงคิวผมขับรถ เป็นครั้งแรกที่ขับรถพวงมาลัยอยู่ทางซ้ายแต่ขับแลนขวา ขับไปเรื่อยๆจนผมเห็น ธง โบกปลิวโดยที่ไม่ใช่ ธง ของสหรัฐอเมริกา ธงถูกติดตามที่ต่าง มีสามแถบ สามสี ขาว แดง น้ำเงิน และ หนึ่งดาว

นี่เป็น ธงอะไรคับ?” ผมถามคนในประเทศอเมริกา
อ้อ นี่เราถึงเท็กซัส แล้ว Lone star state” เจ้าถิ่นบอกผม

คนเท็กซัสมีเรื่องราวการต่อสู้ที่น่าสนใจ พวกเขาต้องการเป็นอิสระ ไม่ต้องการเป็นสหรัฐอเมริกา ธงที่เป็นสัญลักษณ์ของ เท็กซัส จึงมีเพียงดาวเดียว นั่นเป็นที่มาของการขนานนามรัฐว่า “รัฐดาวเดี่ยว”

ในปี
1519-1685 อาณานิคมสเปน ได้มาปกครองเท็กซัส ปี 1685-1690 แยกตัวออกมาเป็นสาธารณรัฐเท็กซัส ปี 1690-1821 ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนอีกครั้ง ปี 1821-1836 ถูกปกครองโดยเม็กซิโก ปี 1836-1845 แยกตัวมาเป็นสาธารณรัฐอีกครั้ง ปี 1845-1861 รวมตัวกับสหรัฐอเมริกา ปี 1861-1865 แยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง ต่อมาอเมริกาได้ทำทุกวิถีทาง จนสามารถผนวกเอาเท็กซัสกลับมาเป็นส่วนหนึ่งสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้งตั้งแต่ ปี 1865 จนถึงปัจจุบัน

แต่คนเท๊กซัสก็ยังคงอยากที่จะเป็นเท๊กซัสมากกว่าเป็นอเมริกา ความภูมิใจของคนเท็กซัสในการต่อสู้เพื่อปกป้องมาตรภูมิครั้งสำคัญ การต่อสู้กับเม็กซิโก ที่
Alamo ที่คนเท็กซัสได้พลีชีพมากมายในการต่อสู้ครั้งนั้น จนได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้เสียสละเพื่อแผ่นดินเกิด ของที่ระลึกเมืองนี้ที่มีมากที่สุดคือสินค้าที่มี ธงเท็กซัส ดาวเดี่ยวและข้อความ “REMEMBER THE ALAMO”

ในใจผมนึกถึง ค่ายมาเนอปลอ ค่ายก่อมูหร่า ของคนกะเหรี่ยง ริมฝั่งแม่น้ำเมยในรัฐกะเหรี่ยง น่าเสียดายที่มิอาจรักษาค่ายทั้งสองแห่งที่ว่านั้นได้ เวลาพูดถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนกะเหรี่ยงในประเทศพม่าช่วงหลังๆ มีแต่คำว่าน่าเสียดาย เพราะมันมีแต่สิ่งที่น่าเสียดาย เสียดายโอกาส เสียดายพื้นที่ เสียดายคน

ถึงโบสถ์เก่าที่ถูก เทคโอเวอร์ มาทำเป็น
Casbeer’s Nightclub ในเมือง San Antonio เวลาประมาณ 2 ทุ่มเศษ ต้องเล่นคอนเสริตโดยที่ยังไม่มีใครทานข้าวมื้อเย็นเลย ผู้ชมผู้ฟังเป็นคนไทยประมาณ ร้อยกว่าคน การแสดงดำเนินไปอย่างเต็มที่เต็มรูปแบบ 3 ชั่วโมงจบลง ทั้งนักดนตรี นักร้อง นักเต้น ต่างเก็บของเครื่องไม้เครื่องมือเสื้อผ้า เครื่องเสียงขึ้นรถ อากาศร้อน ความหิวรบกวน ความเพลียมาเยือน ความง่วงทักทาย ความหงุดหงิดเข้ามา

บรรยากาศการเก็บของเริ่มเปลี่ยนจากวันแรกๆ เสียงบ่นเริ่มมา คนยกของเริ่มปวดเอว

โอย ต้องเล่นดนตรีด้วย ต้องยกของด้วย ต้องขับรถด้วย อะไรกันเนี้ย!” มือกีตาร์จากฝรั่งเศสเริ่มเปิดหัว
เป็นนักร้องนี้มันสบายนะ ไม่ต้องยกของไม่มีเครื่องดนตรี ร้องเพลงเสร็จ ถ่ายรูปกับคนดู เดี๋ยวผมจะเป็นนักร้องบ้าง (หัวเราะ)” เขาบ่นทีเล่นเล่นทีจริงต่อ
เอ้า! พูดอย่างแสดงว่า คุณกำลังบอกว่าฉันกินแรงคุณเหรอ? ฉันเป็นผู้หญิงคุณจะให้ฉันยกของเหมือนผู้ชายเหรอ” นักร้องหญิงทัก เขาไม่ตอบเธอ แต่เขายกขวดเบียร์กระดกใส่ปากแทน
โอย หิวข้าว” เขาเปลี่ยนเรื่อง ทุกคนจึงบ่นหิวข้าวตามๆกันไปขณะที่เกือบเที่ยงคืนแล้ว
ผมอยากพาไปที่ที่หนึ่งก่อน อยากให้ทุกคนไป มันเหมือนคนบางระจัน ที่เมืองไทย คนAlamo ต่อสู้เหมือนคนบางระจัน” มีทั้งคนเห็นด้วยกับคนไม่เห็นด้วย บางคนอยากให้ไปหาที่นอนก่อน บางคนอยากให้ไปหาที่กินก่อน แต่พี่ทอด์ดก็ไปที่พิพิธภัณฑ์ Alamo ก่อน โดยหวังที่จะให้ทางคณะได้ซึ้งกับวีรกรรมการต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด แต่เนื่องจากยามวิกาลเราไม่สามารถเข้าไปข้างในได้ ทำได้เพียงโพสท่าถ่ายรูปหน้าประตูพิพิธภัณฑ์ กว่าจะออกมาก็ราว เที่ยงคืนครึ่ง เราจึงไปหาที่นอน

เนื่องจากไม่ได้มีการจองที่นอนไว้ล่วงหน้า ห้องบางห้องไม่ได้มีการเตรียมไว้รอ จึงต้องรอจนกว่าห้องจะครบ เมื่อห้องครบการจัดสรรคนนอนไม่ลงตัวอีก บางคนไม่ชอบนอนกับคนสูบบุหรี่ บางคนไม่ชอบนอนกับคนนอนกรน บางคนไม่ชอบนอนกับฝรั่งด้วยเหตุผลที่คุยกันไม่รู้เรื่อง กว่าจะจัดห้องลงตัว เปลี่ยนกันไป เปลี่ยนกันมาตั้งหลายรอบ


เดี่ยวผมจะไปล่าอาหารมาทุกคนรออยู่ที่นี่” พี่ทอด์ดพูดเสร็จออกจากที่พัก กว่าจะกลับมาอีกทีประมาณชั่วโมงหนึ่ง
ผมล่ามาได้แค่นี้ ร้านแถวๆนี้ปิดหมดเลย อยากให้ทุกคนกินอันนี้ไปก่อน พรุ่งนี้เช้าค่อยฟัดหนักๆ” พี่ทอด์ดพูดพร้อมยื่นอาหารสำเร็จรูป อาทิ มาม่า ขนมปัง มาให้คณะทานก่อนนอน แต่บางคนง่วงมากกว่าหิวเลยไม่สนอาหารแล้ว

รุ่งเช้า ผมเดินไปที่พิพิธภัณฑ์
Alamo อีกรอบ ข้างในมีนิทรรศการเรื่องราวการต่อสู้ มีเครื่องมือเครื่องใช้ของวีชน มีของที่ระลึก แต่ห้ามถ่ายรูป
ถ่ายข้างในไม่ได้ก็ถ่ายข้างนอก" ผมออกไปถ่ายรูปข้างนอก
มันมีหลักการอยู่ว่า อย่าเพิ่งถาม ทำไปก่อนถ้าเขามาว่า แล้วหยุด การถ่ายรูปก็เหมือนกัน ถ่ายก่อนแล้วค่อยว่ากัน” พี่ทอด์ดบอกผม ก่อนออกจากรั้วพิพิธภัณฑ์

 

 

 บนถนนระหว่างเดินทางไป Texas

 


ธงดาวเดี่ยว ของ
Texas

 


ร้านขายของที่ระลึกใน
Texas

 


พ่อค้า ชาวแม็กซิโก

 

 


ค่ายบางระจัน แห่ง
Texas

 

 


 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์ เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน “ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์”…
ชิ สุวิชาน
ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา “โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง…
ชิ สุวิชาน
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่…
ชิ สุวิชาน
เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า   เก่อ…
ชิ สุวิชาน
หมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขาน ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วย การจากไปสู่ปรโลก ซึ่งปกติแล้วก่อนที่คนจะตายมักมีลางสังหรณ์ปรากฎแก่คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างเสมอ นั่นหมายความว่าถึงเวลาของผู้ตายแล้ว เวลาแห่งความตายนั้นย่อมมาถึงทุกคน เพราะฉะนั้นก่อนตายควรทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินถิ่นเกิดที่เราอาศัยอยู่ตอนมีชีวิตให้มากที่สุด เมื่อลางสังหรณ์มาถึงเราจะได้จากอย่างหมดทุกข์หมดห่วง ตัวอย่าง ธา หมวดนี้เริ่มต้นดังนี้ มี หม่อ เคลอ ฮะ เหน่ อะ เด                 มีหม่อ คอ ฮะ เหน่ อะ เด เต่อ เหม่ เคลอ ฮะ เหน่ อะเด      …
ชิ สุวิชาน
“โมะโชะมาแล้ว” ชายหนุ่มคนหนึ่งกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น เมื่อเห็นร่างชายวัยปลายกลางคนเดินเข้ามา สายตาทุกดวงจึงมองไปที่ โมะโชะ เขาคือผู้นำในการขับขานเพลงธา เขาต้องเรียนรู้และพิสูจน์ตัวเองมาหลายปีกว่าเขาจะได้รับตำแหน่งนี้ หน้าที่รับผิดชอบสำหรับตำแหน่งนี้คือการเป็นผู้นำในการขับขานธาในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่น งานแต่ง หรืองานตาย บางชุมชนทั้งหมู่บ้านไม่มีโมะโชะเลย เวลามีงานต้องไปยืมหรือเชื้อเชิญโมะโชะจากชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้ ว่ากันว่าชุมชนที่สมบูรณ์นอกจากต้องมีผู้นำชุมชนตามประเพณีที่เรียกว่า ฮี่โข่ ต้องมีจำนวนหลังคาในชุมชนมากกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว…
ชิ สุวิชาน
ช่วงเย็นหลังจากที่ทำงานในไร่ และกำลังจะนั่งกินข้าวร่วมครอบครัว “ลุงเร็ว ปู่ วาโข่ หายใจขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้หายใจลงแล้ว” หลานชายมาวงข่าวเกี่ยวกับพือวาโข่ซึ่งเป็นพ่อของเขา เขาละจากวงทานข้าวของครอบครัว แล้ววิ่งไปหาพ่อทันที พือวาโข่ เป็นฉายาที่เด็กๆ ในหมู่บ้านและหลานๆเ รียกชื่อผู้เฒ่าผู้ชายที่อาวุโส จนผมหงอกทั้งหัว พือหมายถึงพ่อเฒ่า วาโข่หมายถึง ผมขาว หากเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า พีวาโข่ พีแปลว่าแม่เฒ่า นั่นเอง คนรุ่นนี้จะเป็นที่รักใคร่ของลูกหลานทั้งในครอบครัวและในชุมชน เพราะถือเป็นทรัพยากรบุคคลของชุมชนทีมีค่า หากมีปัญหาเกิดขึ้นในชุมชนที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถหาทางออกได้…
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง  นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ…
ชิ สุวิชาน
มีบทธา ซึ่งเป็นบทกวีหรือสุภาษิตสองลูกสอนหลานของคนปกาเกอะญอมากมาย ที่กล่าวถึงเตหน่ากูเครื่องดนตรีดั้งเดิมของคนปกาเกอะญอ แต่ในตรงนี้จะยกมาเพียงส่วนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่างเบื้องต้นของ ธา ที่กล่าวถึงเตหน่ากู 1. เตหน่า อะ ปลี เลอ จอ ชึ             เด เต่อ มึ เด ซึ เด ซึ2.เตหน่า เลอ จอ แว พอ ฮือ            เต่อ บะ จอ จึ แซ เต่อ มึ3.เตหน่า ปวา แกวะ ออ เลอ เฌอ      เด บะ เก อะ หล่อ เลอ เปลอ4.เตหน่า ปวา เจาะ เลอ เก่อ มา     …
ชิ สุวิชาน
ลูกชายหายหน้าไปจากการเรียนรู้การเล่นเตหน่ากูกับพ่อเป็นหลายสิบ จนผู้เป็นแม่ที่คอยหุงอาหารให้หมูในตอนหัวค่ำเกิดคำถามต่อผู้เป็นพ่อ “ไอ้ตัวเล็กมันเล่นเป็นแล้วเหรอ? มันถึงไม่มาฝึกเพิ่ม” แม่ถามพ่อซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกะบะไฟดินในบ้าน “มันบอก มันจะฝึกเอง มันคงไปฝึกที่บ้านผู้สาวมั้ง?” พ่อตอบแม่พร้อมกับสันนิษฐานพฤติกรรมของลูกชาย “มันก็ธรรมดาแหละ วัวตัวผู้พอมันเริ่มเป็นหนุ่ม มันก็เริ่มแตกฝูงไปหาตัวเมียในฝูงอื่น ก็เหมือนพ่อตอนเป็นหนุ่มนั่นแหละ อยู่บ้านอยู่ช่องซะที่ไหน กลางค่ำกลางคืนดึกแล้วไล่กลับบ้านก็ไม่ยอมกลับ ค่ำไหนค่ำนั้น มาหาทุกคืน” แม่เปรียบเทียบให้พ่อฟัง
ชิ สุวิชาน
“วิธีการเล่นล่ะ? แตกต่างกันมั้ย?” ลูกชายถามพ่อ “ถ้าเล่นอย่างไดอย่างหนึ่งได้นะ ก็เล่นอีกอย่างได้เองแหละ ขอให้เข้าใจวิธีการตั้งสายเถอะ อย่าตั้งสายเพี้ยนละกัน” พ่อบอกและย้ำกับลูกชาย “งั้นพ่อสอนเพลงอีกซักเพลงที่เล่นแบบเมเจอร์สเกลนะ” ลูกขอวิชาจากพ่อ “เอาซิ! เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นกับเตหน่ากูบ่อยๆ อีกเพลง ร้องตามนะ” พ่อเริ่มร้องนำ ลูกจึงเริ่มร้องตาม
ชิ สุวิชาน
สองสามคืนผ่านไป ลูกชายไม่ได้มายุ่งกับพ่อ แต่คืนนี้ภายในบ้านไม้ไผ่ หลังคาตองตึงทรงปวาเก่อญอหลังเดิม ลูกชายถือเตหน่ากูมาอยู่ข้างพ่ออีกครั้ง “ลองฟังดูนะ ใช้ได้หรือยัง?” ลูกชายพูดจบเริ่มดีดเตหน่าและเปล่งเสียงร้องเพลงแบบไมเนอร์สเกลให้พ่อฟัง แต่ด้วยความตั้งใจมากไปหน่อยทำให้การเล่นบางครั้งมีสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ลูกชายไม่ยอมแพ้และไม่ยอมหยุด เล่นและร้องให้พ่อซึ่งเป็นครูสอนเตหน่ากูให้เขาจนจบเพลง “ฮึ ฮึ ก็ดี เริ่มต้นได้ขนาดนี้ก็ไช้ได้” พ่อตอบเขาแบบยิ้มๆ “แล้วพ่อจะสอนอีกแบบหนึ่งได้หรือยัง?” เขามองหน้าพ่อ “อ๋อ ที่มาเล่นให้ฟังนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าเล่นไมเนอร์ได้แล้ว จะขอเรียนแบบเมเจอร์ต่อว่างั้นเถอะ”…