Skip to main content

 

 

bobdylan.jpg
 

 

จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที

 

ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้

คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น เรียกได้ว่าเอาไปเทียบกับการฟังจาก CD หรือแม้แต่การฟังจากไฟล์เสียงไม่ได้เลยทีเดียว (ในกรณีที่เทียบกับไฟล์เสียงที่คุณภาพ สัก 128 KB/s ขึ้นไป) แต่ผมไม่ได้เป็นคนที่จริงจังกับคุณภาพเสียงขนาดพวก Audiophile เสียงร้องของ Bob Dylan เองก็สาก ๆ เป็นเอกลักษณ์อยู่แล้ว  ดนตรีเขาก็ไม่ซับซ้อนมากขนาดต้องหาความต่างจากคุณภาพเสียง

ที่สำคัญคือ ความรู้สึกตอนที่ได้ฟังเสียงคุณภาพต่ำ สลับกับเสียงเครื่องยนต์รอบข้างขณะขับรถกลับบ้านนั้น มันเป็นความรู้สึกดี ๆ ที่อธิบายออกมาเป็นคำพูดยากได้มาก จนกระทั่งว่าถ้าคุณภาพเสียงมันดีกว่านี้ คงไม่ได้อารมณ์ในแบบเดียวกัน

เรื่องของการอัดเพลงลง Cassette นี้ชวนให้ผมนึกถึงสิ่งที่เรียกว่า Mixtape

Mixtape คือการนำเอาบทเพลงจากศิลปินคนเดียวหรือต่างศิลปินก็ได้ มารวบรวมเป็นอัลบั้ม อัดลงเทปคาสเซทท์ โดยเรียงลำดับ Track ต่าง ๆ ตามใจตนเอง มีบางส่วนที่อาจจะมีลักษณะเอาดนตรีประเภทเดียวกันมาใส่ไว้ด้วยกัน บ้างก็เอาดนตรีเนื้อหาใกล้กันหรือสอดคล้องกันมารวมเป็นคอนเซปต์อัลบั้มในแบบของตัวเอง ใครที่มีความสามารถในด้านเครื่องมือเครื่องไม้ก็อาจจะดัดแปลงซาวน์เสริมเข้าไปในขั้นตอนต่าง ๆ ตามแต่เห็นเหมาะสม

กับเรื่องนี้คนที่จริงจังกับเรื่อง Mixtape บางคน จะถือว่าการเรียบเรียง Track ลงอัลบั้มเป็นเรื่องเชิงสุนทรียรสเลยทีเดียว ว่าแล้วก็นึกถึง ร็อบ ตัวเอกในนิยายและภาพยนตร์เรื่อง High Fidelity ที่มักจะชอบจัด 5 อันดับเพลงให้กับอะไรต่าง ๆ ในชีวิต

ถ้าพูดให้ใกล้ตัวเข้ามามากกว่านี้หน่อย สำหรับบางคนที่เกิดในยุคเทปอัดเฟื่องฟู คงต้องได้พบเจอ Mixtape ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการอัดเทปรวมเพลงรัก ส่งให้กันนั่นเอง (อันนี้จะกลายเป็นความทรงจำที่ดีหรือความทรงจำที่อยากจะลืมก็ไม่อาจทราบได้ :P)

นอกจากนี้ เทปอัดยังทำให้เกิดวัฒนธรรม Bootleg และ Tape Trading ตามมา เรื่องของ Tape Trading นั้นผมเกิดไม่ทัน และไม่มักคุ้นมันสักเท่าไหร่ แต่ได้ยินว่ามันมีคุณูปการต่อดนตรีใต้ดินมาก ๆ

(ไม่นับเทปพีค็อก ที่คงตรึงตราอยู่ในความทรงจำของหลาย ๆ คนอยู่แล้ว)

ขณะที่ Bootleg นั้นมันคือการบันทึกเสียงจากการแสดงสดอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งต่างจาก Live album ซึ่งออกมาจากต้นสังกัดอย่างเป็นทางการ) รวมถึง "เพลงหายาก" (Rarity) ซึ่งหมายถึงพวก Demo งานที่ยังไม่สมบูรณ์ (แต่รั่วไหลออกมาก่อน) , งานที่ศิลปินไม่ได้วางแผนจะปล่อยออกมา

อะไรพวกนี้เป็นต้นซึ่งดูเหมือนว่าวัฒนธรรมการบันทึกเสียงนี้เสี่ยงต่อกฏหมายลิขสิทธิ์เอาการ แต่ในขณะเดียวกันบางศิลปินก็กลับอนุญาตให้ผู้เข้าชมอัดเสียงกันได้ตามสบาย เช่นวง The Grateful Dead , Nickel Creek , The Decemberists , John Mayer , Jack Johnson ฯลฯ

ขณะที่บางคนมองเป็นวิกฤต แต่ตันสังกัดหัวธุรกิจก็มองมันเป็นโอกาส แทนที่จะปล่อยให้ผู้ฟังทำแจกทำขายกันเอง ทางต้นสังกัดก็ทำการเลยออก Bootleg ของตัวเองอย่างเป็นทางการ (Official Bootleg) ให้กับศิลปินที่พอมีหน้ามีตามาขายเองเสียเลย

ตัวผมเติบโตผ่านยุคที่ CD เข้ามาแทนเทปคาสเสทท์ และในปัจจุบันนี้เอง Digital media กำลังปันพื้นที่กับ CD อย่างสนุกสนาน (ในความรู้สึกผมนะ คนอื่นอาจจะไม่สนุกเท่าไหร่ เพราะส่วนตัวผมเสพย์ดนตรีทั้งทาง CD และไฟล์เพลง นอกจากนี้ก็คิดว่า CD จะยังไม่ตายง่าย ๆ) วัฒนธรรมการ Mixtape อาจจะกลายเป็นการ WriteCD ซึ่งทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าการอัดเทปแบบเป็นเพลง ๆ ไป โปรแกรมเล่นเพลงในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะโปรแกรมไหนก็มีระบบจัด Playlist ได้อิสระง่ายดาย อารมณ์ไหนก็เลือกเอาได้

cassettes.jpg

แต่ถ้าหากลองได้สำรวจความรู้สึกอันละเอียดอ่อนมนุษย์ดูแล้วล่ะก็ ความรู้สึกของการได้ WriteCD ให้ใครบางคน (อย่าเพิ่ง ! อย่าเพิ่งเอาเรื่องลิขสิทธิมาขัดอารมณ์โรแมนติกสิ เดี๋ยวค่อยไปเถียงกันทีหลัง) หรือการได้ส่งไฟล์เพลงให้ใครบางคน มันก็ต่างกับ ความรู้สึกตอนที่เราได้อัดเทปอยู่ลึก ๆ

ยังไงก็น่าลองหยุดทำความเข้าใจตัวเองกันสักนิดก็ดีว่า ความรู้สึกเก่า ๆ ตอนที่เรากดไอ่ปุ่มที่มีจุดแดง ๆ บนเครื่องอัดเทป แล้วนั่งดูรีลมันหมุนไปนั้น เป็นความรู้สึกที่ดีกว่าตอนที่เรานั่งฟังเสียงวี้ ๆ จากการเบิร์นซีดี จริงน่ะหรือ หรือมันเป็นแค่อุปาทานของเราเอง

เป็นธรรมดาที่เวลาเราเกิดความรู้สึกแบบหวนรำลึกหาอดีต (Nostalgia) แล้ว ภาพความเลวร้ายของ "อดีต" จะดูเลือน ๆ ไป สิ่งที่เด่นชัดกว่าคือด้านดี ๆ ของมัน ทำให้ยึดติดไปเองว่าอดีตมันดีกว่าปัจจุบัน ดีกว่าอนาคตการฝันถึงอดีตชั่วยามมันดีที่ช่วยปลุกปลอบหัวใจให้คลายความหมองหม่นไปบ้าง แต่สิ่งที่น่ากลัวคือการยึดมั่นถือมั่นจนอยากที่จะให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปเป็นเหมือนเดิม แล้วปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง

ยังไม่รู้ว่าโลกจะหมุนไปไกลถึงแค่ไหนอีก เวลาเราก้าวไปข้างหน้า มันจะต้องมีอะไรหล่นหายไปรายทางเสมอ ความรู้สึกเก่า ๆ พวกนั้นเราอาจไม่ได้กลับคืนมา แต่มันก็ดีไม่ใช่หรือเวลาที่เราได้แค่คิดถึงมัน

ผมเคยยึดติดอดีตและอะไรเก่า ๆ อยู่เหมือนกัน แต่เวลาที่ผันผ่านไปจะทำให้เราเรียนรู้ว่า สิ่งที่มันหล่นหายไป สิ่งเราคิดถึงมันอาจจะเป็นแค่ภาพมายาฉุดเราไว้ สำหรับสิ่งที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าขอเพียงแค่เรามีส่วนร่วมกำหนดมัน เราอาจจะได้พบเจอสิ่งที่ดีกว่าก็ได้

บางคนอาจจะเกิดทันยุคของแผ่นเสียง Vinyl ที่มันเคยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมดนตรีอย่างแยกไม่ออก ก่อนที่จะห่างหายไปตามยุคสมัย แล้วในตอนนี้มันก็กลับมาอีกครั้ง ต่างกันตรงที่กลับมาด้วยความเป็น Rarity และเป็นสินค้าสำหรับนักสะสมทุกวันนี้

Cassette เองก็ยังคงมีใช้กัน เพียงแต่ไม่แพร่หลาย และวัฒนธรรมที่มากับมันคงถูกโอนถ่ายไปสู่ CD ไปสู่ Digital media โดยเปลี่ยนคุณลักษณะให้เข้ากับความสะดวกรวดเร็วของตัวมันเองแล้ว สักวันหนึ่งแม้แต่ CD เองก็อาจจะกลายเป็นวัฒนธรรมกลุ่มย่อย (Subculture) ที่มีกลุ่มคนอีกหยิบมือหนึ่ง รักษาและสะสมมันไว้ด้วยใจรักเช่นเดียวกับ Vinyl และ เทปคาสเสทท์ ก็ได้

มันคงไม่ได้ตายไปร้อยเปอร์เซนต์ มันเพียงแค่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น และน่าสนุกหากได้คิดว่า วัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่มากับการเผยแพร่ดนตรีรูปแบบใหม่ในยุคต่อไปจะมีลักษณะเป็นเช่นไร

แม้ผมจะไม่มีเครื่องเล่นคาสเสทท์นั้นแล้ว แต่เสียงร้องแหบ ๆ ของ Bob Dylan จากเทปอัดม้วนนั้นยังคงตรึงอยู่ในใจผมเสมอ มีเพลงโปรดผมเพลงนึงที่ผมมักเปิดฟังเวลาเสียกำลังใจ เนื้อหาของมันที่เปล่งมาจากลำโพง Lo-fi เสียงแตก ๆ นั้น ยังคงย้ำเตือนอยู่เสมอว่า "The Time They are A-Changin' "

.
.
.

"เวลานั้นหรือคือการเปลี่ยนแปลง"

 

"The line it is drawn
The curse it is cast
The slow one now
Will later be fast
As the present now
Will later be past
The order is
Rapidly fadin'.
And the first one now
Will later be last
For the times they are a-changin'"

- The Time They are A-changin' 

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…