Skip to main content

ในขณะที่ผู้คนที่มาดูต้นไม้ ต่างตื่นเต้นกับต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ใหญ่ที่สุดที่นี่คือต้นจามจุรีหรือต้นก้ามปูที่สโมสรเชียงใหม่ยิมคานา เป็นสนามกอล์ฟเก่า เขาเล่ากันว่าต้นไม้นี้มีอายุมากกว่าร้อยปี ส่วนสูง 15 เมตร ผ่านการประกวดต้นไม้ใหญ่ที่ได้รับรางวัลของเทศบาลมาแล้ว

บางคนบอกว่า น้ำตาแทบไหลเมื่อเห็นต้นไม้ต้นนี้ บางคนยกมือไหว้                    

วันนี้มีนักวิชาการเดินทางมาด้วย เขาบอกว่า"อย่าตื่นเต้นยินดีกับไม้ใหญ่เพียงต้นเดียว เพราะเป็นเพียงเศษเสี้ยวร่องรอยที่ฝรั่งทิ้งไว้"

บางคนยิ้มบางคนหัวเราะขำ
ฉันเป็นคนที่อื่นที่เดินทางมาอยู่ที่นี่ แต่เคยได้ยินใครต่อใครพูดหลายครั้งว่า ไม้ที่เมืองเหนือหมดไปเพราะฝรั่ง บริษัทฝรั่งเข้ามาทำไม้
ได้ยินได้ฟังมาอย่างนั้นจริง ๆ แต่ก็มีบางคนบอกว่า ไม่ได้หมดไปเพราะฝรั่งเพราะถ้าเจ้าของบ้านรักบ้านรักเมืองจริง ๆ ใครก็มาทำลายไม่ได้

เช้านี้ฉันได้ยินการพูดคุยทำนองนี้อีกครั้ง เพราะได้รับการเชิญชวนจากพวกน้อง ๆ ที่จัดงานทัวร์ต้นไม้ใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ การเดินทางครั้งนี้มากับทีมจักรยาน

ฉันบอกเพื่อนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ ว่า  "คิดดูก็น่าตลก ใครจะคิดว่ายุคหนึ่งลูกหลานของคนในประเทศที่มีป่าไม้หนาแน่นที่สุดจะต้องเที่ยวตามดูต้นไม้ใหญ่  และเทศบาลนครเชียงใหม่จัดประกวดต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงการมีต้นไม้ใหญ่ การมีพื้นที่สีเขียวเพื่อเมืองเชียงใหม่  แล้วต่อไปรุ่นหลังจากเราอาจจะต้องตามดูสายน้ำ ไปดูว่ามีสายน้ำที่ไหนบ้าง เพราะสายน้ำที่สวย ๆ และสะอาดหายไปแล้ว น่าตลกไหม"

เพื่อนที่มาจากเมืองหลวงเพื่อทำข่าวเรื่องนี้บอกว่า
"ใช่ ไม่น่าเชื่อว่า เราจะมาตามดูต้นไม้เพราะต้นไม้กลายเป็นของหายาก แต่ไม่ตลกหรอก น่าเศร้ามากกว่า แต่ก็น่ายินดีอยู่บ้างที่มีผู้คนจำนวนหนึ่งตระหนักถึงเรื่องนี้ แม้ว่าจะดูสวนทางกับนโยบายการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยว

มีผู้ถามว่าทำอย่างไรกับกิ่งไม้ที่จะหักลงมา ผู้ชายคนหนึ่งตอบว่า "ต้องคอยดูแลตัดแต่งกิ่ง อย่างกิ่งไม้ใหญ่เราต้องตัดกิ่งข้างในออกไปบ้าง เพราะกิ่งข้างในไมได้รับแสงมันจะผุ" (แต่คนตอบไม่ได้มีหน้าที่นั่นเขาเพียงแต่เสนอแนวคิดเท่านั้น)

ดูต้นไม้ใหญ่แล้ว เราเดินทางตามเส้นทางถนนสายต้นยางไปลำพูนกับจักรยานโดยชมรมจักรยานวันอาทิตย์เชียงใหม่

ฝนตกปรอย ๆ ไปตลอดทางแวะดูต้นยางไปเรื่อย ๆ สังเกตเห็นว่า ต้นยางในช่วงเมืองเชียงใหม่ ไม่ค่อยจะมีใบ มีแต่ต้นสูงชะลูด

เหตุที่ต้นยางไม่สมบูรณ์เพราะว่า ต้นยางไม่เป็นที่ต้องการของหลาย ๆ คน จึงมีความพยายามที่จะทำต้นยางให้ตาย และต้นยางก็ตายไปหลายต้นแล้วด้วย วิธีทำให้ต้นยางตายก็คือ การเอาปูนไปถมบริเวณโคนไม่ไห้น้ำซึมเข้าไป และการตัดใบให้เกรียน แล้วมันก็จะค่อย ๆ ตายไปเอง

ท่านหนึ่งกล่าวว่า "เพราะเราไปรังแกต้นยาง เราไปทำร้ายต้นไม้ เมื่อต้นอ่อนแอกิ่งก็หักร่วงลงมา"

มีผู้เสนอวิธีการดูแลต้นยางอยู่หลายอย่าง เช่นการทำตะแกรงด้านบนเพื่อให้ไม้ที่หักลงมาติดอยู่ในตะแกรง และมีการจัดงบพิเศษสำหรับดูแลต้นยาง มีการปลูกเพิ่มเมื่อต้นยางตายไป ซึ่งก็มีการปลูกเพิ่มอยู่บ้างเหมือนกันในบางแห่ง เช่นปลูกต้นสักและต้นยางเพิ่ม

ต้องยอมรับว่าพื้นที่ในเมืองทุกแห่ง กลายเป็นพื้นที่สำหรับทำมาค้าขายแม้แต่ทางเท้า พื้นที่สำหรับต้นไม้นั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น แม้ว่าในทุกครั้งเราจะวิ่งเข้าไปหาต้นไม้เพื่อหลบร้อนหลบแดดก็ตาม

มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ต้นยางใหญ่บนถนนพูดคุยกับเราว่า ปัญหาคือไม่มีผู้มาดูแลจริง บางต้นที่กำลังจะตายหรือที่กำลังจะล้มก็ต้องจัดการไปอย่างถูกวิธี  ถ้าคนอยู่ใกล้ ๆ ไม่เดือดร้อนใครก็คงไม่รังเกียจต้นยาง คนที่ได้อยู่ใกล้ ๆ ไมได้สัญจรไปมาทุกวันนาน ๆ มาทีก็จะเห็นว่าสวย แต่คนที่อยู่ทุกวันก็จะเห็นต่างออกไป มันมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยด้วย

นี้เป็นเรื่องของต้นยางบนถนนสายสารภีลำพูน ถนนสายประวัติศาสตร์ที่มีต้นไม้ใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทัวร์ไม้ใหญ่ครั้งนี้ พบว่าในเมืองเชียงใหม่ยังมีต้นไม้ใหญ่อยู่จำนวนมากที่รอการดูแลอยู่

ฉันได้ยินนักอนุรักษ์ท่านหนึ่งเสนอว่า น่าจะมีกฎหมายคุ้มครองต้นไม้ใหญ่ เพราะต้นไม้ถูกตัดไปหนึ่งต้นนั้นไม่ได้ส่งผลต่อผู้ตัดหรือเจ้าของพื้นที่ที่ต้นไม้อยู่เท่านั้นแต่ส่งผลถึงคนอื่น ๆ โดยทั่วไปด้วย เพราะเราใช้ประโยชน์จากต้นไม้ร่วมกัน เช่นได้อากาศหายใจไปด้วยกัน  เพราะเราใช้ต้นไม้ช่วยต้านหมอกควันช่วยให้เราตายช้าลงด้วยกัน

บทความนี้ เขียนจากการไปร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานทัวร์ไม้ใหญ่ เป็นงานหนึ่งในงาน โฮะโซะ หรือโครงการศิลปวัฒนธรรมในความร่วมมือเพื่อเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 5-7 มิถุนายน  2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในเมืองเชียงใหม่หลายอย่าง สนับสนุนการจัดกิจกรรมโดย เทศบาลนครเชียงใหม่ สสส. และบริติช เคานซิล  (โฮะโซะ เป็นภาษาเหนือหมายความว่าเอามารวมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน)

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย