Skip to main content
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม

ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม จนถึงขั้นไม่ต้องการให้มีที่ยืนอยู่ในสังคม

บทความวันนี้ ข้าพเจ้าตั้งใจที่จะวิพากษ์ ถึงความจำเป็นที่องค์กร ต้องตระหนักถึงความจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นอันสำคัญ ที่นำการเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย มาสู่องค์กร โดยเฉพาะบริบทของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ซึ่งในปัจจุบันยังถูกมองข้ามโดยองค์กรต่างๆ

ข้าพเจ้าขอเริ่มต้น ด้วยการยกมุมมองการวิเคราะห์องค์กร ที่สำคัญมุมมองหนึ่ง นั่นคือ มุมมองที่มองว่าองค์กรต่างๆมีภาระกิจหลัก ในการเอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม นั่นหมายความว่า องค์กรต้องพร้อมรับมือ กับผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพและชาญฉลาด ไม่ว่าสภาพแวดล้อมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ซึ่งจากมุมมองข้างต้น องค์กรต่างๆมักมุ่งให้ความสำคัญ กับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด ความเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า และการเปลี่ยนแปลงของสภาพการแข่งขัน หรือที่เรียกรวมๆว่า การเปลี่ยนแปลงของ  “สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร”  ซึ่งถือเป็นตัวแปรหลัก ที่องค์กรจำเป็นต้องรับมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการล่มสลาย

ในขณะที่ ทุกองค์กรตั้งหน้าตั้งตา รับมือกับความเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรข้าพเจ้าอยากให้ทุกองค์กร พิจารณาอีกหนึ่งตัวแปร ที่องค์กรในทุกระดับ จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ที่ตัวแปรนี้นำมาสู่องค์กร เพื่อประโยชน์ในการอยู่รอดขององค์กรอีกเช่นกัน และตัวแปรตัวที่ว่านี้คือ ICT

เพื่อขยายความคิดที่ว่า องค์กรต่างๆมีความจำเป็น ที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ที่มี ICT เป็นตัวการ อย่างเร่งด่วน ข้าพเจ้าขอใช้คำถามนำดังต่อไปนี้

ICT นำความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างมาสู่องค์กร ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญ กับการเปลี่ยนแปลงที่ ICT นำมาสู่องค์กร และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สำคัญในระดับที่ว่า หากองค์กรไม่สามารถรับมือกับมันได้แล้ว องค์กรต้องล่มสลายจริงหรือ”

ข้าพเจ้าขอเริ่มด้วย การวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลง ที่ ICT สามารถนำมาสู่องค์กร เพื่อประเมิณระดับความสำคัญ ของผลลัพธ์ ที่องค์กรควรต้องตระหนัก

ในมุมมองของข้าพเจ้า ICT สามารถนำความเปลี่ยนแปลง อย่างมหาศาลมาสู่องค์กรต่างๆ ไล่ตั้งแต่การที่ ICT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ที่องค์กรต้องรับมือเป็นหลักอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น ICT เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้รูปแบบการแข่งขันหรือภาวะตลาด เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยทำให้มีตลาดใหม่ๆเกิดขึ้น รวมถึงทำให้ผู้บริโภคมีรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ๆ เช่นปรากฎการณ์การเกิดขึ้นและเป็นที่นิยม ของตลาดบนอินเตอร์เนต การทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ และสังคมออนไลน์ต่างๆ

เป็นที่น่าดีใจ ที่หลายองค์กรเริ่มตระหนัก และได้ให้ความสำคัญกับแผนรับมือ ผลกระทบของ ICT ในบริบทนี้ ในลักษณะของการขยายบริการออนไลน์ต่างๆ รวมถึงการนำรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่อิงกับโลกอินเตอร์เนตมาใช้มากขึ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ดี นอกจาก ICT จะนำความเปลี่ยนแปลงในบริบทข้างต้น มาสู่องค์กรแล้ว ยังมีอีกบริบทหนึ่ง ที่องค์กรจำนวนมาก ยังมีความบกพร่อง ในการทำความเข้าใจถึงผลกระทบ รวมถึงการมีแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

และบริบทที่ว่านี้ก็คือ การที่ ICT ก่อให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร”

ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่าง ความเปลี่ยนแปลงในด้านแผนทรัพยากรบุคคล เพื่อทำให้องค์กร มีกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน อันเนื่องมาจากการที่ ICT กำลังเพิ่มบทบาท ในทุกขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงสำคัญภายในองค์กร อันมี ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ

ในขณะที่อายุของเทคโนโลยี ICT ต่างๆสั้นลงทุกที และองค์กรต่างๆ มีความต้องการใช้เทคโนโลยี ICT ที่มีความหลากหลายและในปริมาณที่มากขึ้น แต่องค์กรต้องใช้เวลาอย่างมากมาย เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้มีความสามารถเพียงพอ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังกล่าว

เนื่องจากเวลาที่องค์กร ต้องใช้พัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอ เพื่อสนองตอบความจำเป็นอันเร่งด่วน ที่องค์กรจำเป็นต้องนำ ICT เข้ามาใช้ เพื่อทำให้องค์กร มีความสามารถในการแข่งขัน อันทัดเทียมกับคู่แข่งขัน มีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เกิดภาวะปัญหา ที่องค์กรไม่สามารถพัฒนาบุคลากรภายในได้ทัน จนเป็นที่มาของการนำ “ทรัพยากรบุคคลจากภายนอก” (outsourcing) มาใช้

โดยในปัจจุบัน องค์กรต่างๆมีแนวโน้ม ที่จะนำเอาทรัพยากรบุคคลจากภายนอก เข้ามารับมือกับปัญหาบุคลากรภายใน ขาดแคลนความรู้ความสามารถ อันจำเป็นต้องใช้ เพื่อการบริหารจัดการและใช้งานเทคโนโลยี ICT ที่จำเป็นต้องนำมาใช้งานภายในองค์กร มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า ทั้งฝ่ายองค์กร และฝ่ายบุคลากรภายในองค์กร ย่อมเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการเปลี่ยนแปลงนี้

จากตัวอย่างนี้ ชี้ให้เห็นว่า ICT ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ในด้านของการบริหารทรัพยากรบุคคล ในระดับสำคัญ

นอกจากตัวอย่างข้างต้น การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่มี ICT เป็นตัวแปรต้น ยังมีอยู่อีกมากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของรูปแบบการติดต่อสื่อสาร วิธีการทำงาน ความต้องการการลงทุนด้าน ICT ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกที ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจขององค์กร

ด้วยตัวอย่าง และความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรอื่นๆ ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น องค์กรต่างๆย่อมต้องการความรู้ความสามารถ ตั้งแต่ในระดับวิสัยทัศน์ ในระดับนโยบาย และจนลงมาถึงในระดับปฏิบัติ อันเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบ ของการนำ ICT มาใช้ในองค์กร อย่างรอบคอบ รอบด้าน และอย่างเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจลงทุนนำ ICT มาใช้ โดยมองไปที่ประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว และมองข้ามผลกระทบด้านต่างๆ ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องเตรียมรับมือ

จากข้อมูลและเหตุผลทั้งหมดข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่า ICT เป็นตัวแปรต้นอันสำคัญ ที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย ทั้งในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร และในบริบทของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ซึ่งทั้งหมด เป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญ ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องตระหนักถึง และนำมาพิจารณาเพื่อหาหนทางรับมือ อย่างมีประสิทธิภาพและชาญฉลาด

โดยสรุปแล้ว

การที่องค์กรต่างๆ ในปัจจุบัน มุ่งหน้าต่อสู่เพื่อความอยู่รอด โดยใฝ่ใจตอบสนองการเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กร เป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียว ไม่อาจประสบความสำเร็จได้ หากองค์กรนั้น ไม่สามารถทำความเข้าใจ และไม่อาจรับมือกับความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบันที่ ICT กลายเป็นตัวแปรต้นสำคัญ ที่นำความเปลี่ยนแปลง ทั้งในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอก และในบริบทของการเปลี่ยนแปลงภายใน มาสู่องค์กร


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…