Skip to main content

จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์

\\/--break--\>
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ICT ยังทำให้เกิดอีกผลกระทบหนึ่ง ที่เราทุกคนควรให้ความสนใจ นั่นคือ ICT ได้ทำลายข้อจำกัด ด้านเวลาและสถานที่ ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่ข้าพเจ้า อาจไม่ได้พูดถึงอย่างชัดเจนในบทความที่แล้ว หากแต่สามารถรับรู้ได้ ผ่านตัวอย่างที่ได้ยกให้เห็นเกี่ยวกับ เทคโนโลยีกล้องวงจรปิด เทคโนโลยี Google Earth บาง features บน เทคโนโลยี Google Maps และตัวอย่างการใช้ video link ของอดีตนายกฯไทยคนหนึ่ง

ความสามารถในการทำลายข้อจำกัด ด้านเวลาและสถานที่ ของเทคโนโลยี ICT มีผลกระทบสำคัญต่อสังคม เนื่องจากมันได้ทำให้ การเข้าถึงข้อมูลหนึ่งๆ การรับรู้ข้อมูลหนึ่งๆ การมีประสบการณ์หนึ่งๆร่วมกัน ไม่ได้ถูกจำกัดแค่เฉพาะ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง สถานการณ์จริง หรือในตอนที่ ข้อมูลหรือเหตุการณ์หนึ่งๆนั้น กำลังเกิดขึ้นจริง

เมื่อรวมสองผลลัพธ์ข้างต้น เข้ากับความตระหนักในสิ่งที่เรียกว่า ข้อมูลความเป็นส่วนตัว แล้ว ทำให้เกิดประเด็นสำคัญ ซึ่งบทความในวันนี้ต้องการพูดถึง นั่นคือ ชวนให้ทุกท่าน ลองคิดและไตร่ตรองดูว่า ทุกวันนี้ ท่านรู้ตัวรึเปล่า ว่าท่านกำลังหมดความสามารถในการควบคุม ความเป็นส่วนตัว ของตัวท่านเองลงไป อีกทั้งอีกหลายๆท่าน กำลังขายข้อมูลความเป็นส่วนตัว ของตัวท่านอยู่ และในราคาที่ต่ำจนหน้าตกใจ

ข้อมูลความเป็นส่วนตัว คือ ข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นตัวตน ของแต่ละปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยปกติแล้ว เป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว และเป็นการยากที่จะถูกเข้าใจ รับรู้ และตีแผ่ออกสู่วงกว้าง เพราะเนื่องจาก หากไม่ใช่เจ้าตัว หรือบุคคลที่มีความใกล้ชิดมากๆแล้ว เป็นการยากสำหรับบุคคลอื่นๆ ที่จะรับรู้ถึงข้อมูลความเป็นส่วนตัวนี้ได้

แต่เนื่องด้วยการใช้ชีวิต ของเราๆท่านๆในวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราใช้ชีวิตผ่านทางเทคโนโลยีมากขึ้นๆทุกวัน ทั้งด้วยความตั้งใจของตนเอง และถูกบังคับจากระบบของสังคม ทำให้ยิ่งนับวัน เราๆท่าน จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง กับระบบข้อมูลต่างๆมากขึ้น และมิหนำซ้ำ ก็ดูเหมือนว่า ทุกระบบต่างก็พร้อมใจกัน ตั้งหน้าตั้งตาเก็บข้อมูลในทุกๆด้านของผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารระบบ เช่นในเรื่องของการพัฒนาให้ระบบของตน สามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าแต่ละราย ในลักษณะเฉพาะตัว ได้เพิ่มขึ้น (Personalisation)

ตัวอย่างต่างๆต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างการสูญเสีย ในประเด็นข้างต้น ที่ข้าพเจ้าเชื่อว่า มีความใกล้ตัวกับใครหลายๆคน ในปัจจุบันได้แก่ การเป็นสมาชิกบัตรเครดิต การใช้บริการต่างๆผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ และการใช้ระบบต่างๆบนอินเตอร์เนต

การใช้งานระบบต่างๆ ในตัวอย่างที่ข้าพเจ้าหยิบยกมานี้ ทำให้ข้อมูลการดำรงชีวิต ของคนๆหนึ่ง ถูกจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งหากนำข้อมูลทั้งหมด มาประกอบกัน เราจสามารถสร้างเป็น แผนที่การดำเนินชีวิต หรือสามารถตรวจสอบ การดำเนินของบุคคลนั้น ในแต่ละวันได้เลย

เช่น เราสามารถรู้เวลาและสถานที่ ที่คนๆหนึ่งอยู่ ได้จากการเข้าใช้อินเตอร์เนต หรือจากโทรศัพท์มือถือ ที่พกพาอยู่ เราสามารถรู้ถึง เรื่องต่างๆที่อยู่ในความสนใจ ของคนๆหนึ่ง ได้จากการประวัติและข้อมูล การเข้าใช้งานเว็บไซท์ต่างๆ ของคนๆนั้น

เราสามารถรู้ได้ว่า คนๆหนึ่งทำอะไร ที่ไหน ชอบไปทานข้าวที่ไหน ชอบเสื้อผ้ายี่ห้ออะไร ชอบไปดูหนังวันไหน ชอบทำอะไรหลังเลิกงาน ชอบไปเที่ยวที่ไหนในวันหยุด จากการจับจ่ายใช้สอย ผ่านบัตรเครดิต

นี่ยังไม่รวมถึงระบบอื่นๆ ซึ่งประชาชนในต่างประเทศ ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหลวงใหญ่ๆของโลก เช่นลอนดอน สามารถถูกติดตามได้ละเอียด ถึงขั้นที่ว่า สามารถรู้ได้ว่า เดินทางจากไหนไปไหน ตอนเวลากีโมง ด้วยพาหนะอะไร ไปกับใคร ผ่านข้อมูลในระบบบัตรโดยสาร (Oyster card) ของระบบขนส่ง และระบบกล้องวงจรปิด ซึ่งวางไว้ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง

ข้อมูลความเป็นส่วนตัวเหล่านี้ เป็นการยากที่จะจัดเก็บอย่างครบถ้วนในอดีต จึงส่งผลให้ตลอดมา การเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ ทำได้ยาก

แต่ในปัจจุบัน ด้วยปรากฏการณ์ทั้งหมดข้างต้น ทำให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัว ของแต่ละปัจเจกบุคคล ถูกเปิดเผยได้อย่างง่ายดาย และทำให้เป็นการยากมากขึ้น สำหรับเราทุกคน ที่จะควบคุม การที่ผู้อื่นจะเข้าถึง ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของตัวเอง

เนื่องจาก ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า เราๆท่านๆ จะมีความรู้ความเข้าใจ ในเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ได้อย่างลึกซึ่ง จนถึงขั้นที่รู้แน่นอนว่า ผลดีผลเสีย มีอะไรบ้าง และไตร่ตรองและเปรียบเทียบดู อย่างดีแล้ว จึงใช้งานระบบนั้นๆ

หากแต่โดยปกติแล้ว เราๆท่านๆในทุกวันนี้ ตัดสินใจใช้เทคโนโลยี เพราะไม่ต้องการตกกระแส จึงตัดสินใจกระโจนเข้าใส่ เทคโนโลยีใหม่ๆอย่างไม่ลังเล แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจดี ถึงผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ผนวกเข้ากับความเป็นจริงที่ว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ในระดับที่ยากที่จะตามทัน ยิ่งทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้น ที่จะศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างถี่ถ้วน ก่อนใช้งาน

ข้าพเจ้า อย่างให้ท่าน ลองนึกกันดูคร่าวๆว่า จนถึงปัจจุบันนี้ ท่านได้ให้ข้อมูลส่วนตัวของท่าน ไปกับระบบรอบตัวท่านมากมายขนาดไหน แล้วท่านรู้ได้อย่างไรว่า แต่ละระบบจะดูแลข้อมูลส่วนตัวของท่าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และคุ้มค่ากับความสำคัญของข้อมูลความเป็นส่วนตัวของท่าน อย่างไร

ที่สำคัญ ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ใครบ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของท่าน

อีกทั้ง หลังจากท่านได้ให้ข้อมูลส่วนตัว กับระบบเหล่านี้ไปแล้ว ระบบเหล่านี้ส่วนใหญ่ ไม่อนุญาตให้ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลดังกล่าว เข้าไปลบข้อมูลออกจากระบบ หากท่านไม่ต้องการให้ระบบ เก็บข้อมูลต่างๆของท่าน อีกต่อไป

ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ในหลายๆครั้ง เรียกได้ว่าเป็นความจำเป็น ที่เราๆท่านๆ ต้องให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเรา กับระบบหนึ่งๆเพื่อแลกมากับประโยชน์ที่ได้จากการใช้งานระบบ เช่น การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพ ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล

แต่ในอีกหลายๆครั้ง เราๆท่านๆในปัจจุบันยังขาดความระมัดระวัง ในการเปิดเผยข้อมูลความเป็นส่วนตัว เพื่อแลกมาซึ่งสิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือเพื่อแลกกับความสามารถในการใช้งานระบบ ซึ่งไม่มีความคุ้มค่ากับข้อมูลส่วนตัวที่นำไปแลก เช่น การให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัว อย่างเกินความจำเป็น เพื่อแลกมาซึ่งส่วนลดอันน้อยนิด จากการสมัครเป็นสมาชิกระบบต่างๆ

ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็น หรือด้วยการขาดความระมัดระวัง ข้าพเจ้าอยากให้ทุกท่านตระหนัก และรู้จักที่จะปฏิเสธการให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของตัวท่านเอง หากไม่จำเป็น หรือให้ตระหนักว่า ท่านกำลังนำข้อมูลส่วนตัวที่มีค่า ไปแลกกับผลประโยชน์อันน้อยนิดและไม่คุ้มค่า หรือให้ข้อมูลส่วนตัวของท่าน กับระบบที่ท่านไม่สามารถไว้วางใจ ในประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในการบริหารจัดการข้อมูลของท่าน อยู่รึเปล่า

นี่คือแนวคิดที่อยากให้ทุกท่านได้ตระหนักถึง เพื่อปกป้องตัวท่านเอง ก่อนที่ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของท่าน จะหาได้ง่ายทั่วไป และจะกลายเป็นอันตรายกับตัวท่านเอง และรวมถึงคนใกล้ตัวที่ท่านรัก และคนรอบข้าง

ไม่เพียงเท่านั้น ข้าพเจ้าอยากให้ภาครัฐและทุกภาคส่วน ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ ของประเด็นในวันนี้ เพื่อปรับปรุงกลไกต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของระบบกฏหมาย แนวนโยบาย และแนวทางปฏิบัติ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการข้อมูล และการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี ICT ของทุกภาคส่วน อย่างสอดคล้อง และเข้าใจ เพื่อมุ่งเอื้อประโยชน์ต่อความปลอดภัย แก่ข้อมูลความเป็นส่วนตัว ของผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ไปพร้อมกัน

ปัจฉิมลิขิต

ต้องกล่าวคำขออภัย ทุกท่านที่ติดตามอ่านบทความ บนพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เพิ่มเติมบทความได้สักระยะหนึ่ง เนื่องจากภาระอื่นๆ เข้ามาเบียดเบียนเวลาไป หวังว่าหลังจากบทความนี้ ข้าพเจ้าจะกลับมาผลิตบทความ ให้ทุกท่านได้อ่าน ได้ตามกำหนดเวลาเดิม


(
ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่
www.thesensemaker.org หรือติดต่อข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer at gmail dot com)

 

 

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…