Skip to main content

             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไปจนถึงการลบล้างผลของสัญญา หรือให้ชดใช้ค่าเสียหาย ในทางแพ่งฯ   หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ กฎหมายและรัฐเข้าไปบังคับคนให้ทำหรือไม่ทำอะไรได้ โดยมี “ผลทางกฎหมาย” เป็นอาวุธหลัก

เนื่องจากการเกิดรัฐสมัยใหม่นี้มาพร้อมกับกฎหมายที่มีผลบังคับอย่างชัดเจน แน่นอน รุนแรง นี่เอง ที่ได้ทำลายกองกำลังเถื่อน และกลุ่มอาชญากรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนรัฐกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมให้คนในรัฐทำตามนโยบายและกฎหมาย   การฝ่าฝืนกฎหมายจึงเป็นเรื่องร้ายแรงในรัฐที่จะต้องโดนกำหลาบด้วยกฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเพียงรัฐเท่านั้นที่จะใช้อำนาจได้เหนือกลุ่มอื่นๆ

ดังนั้นใครที่ละเมิดกฎหมายก็จะต้องได้รับผลร้ายทางกฎหมาย ไม่ว่าโทษจะร้ายแรงแค่ไหนหากกฎหมายกำหนดไว้ล่วงหน้า ประชาชนก็ปฏิเสธมิได้  ประชาชนจึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐอย่างเด็ดขาด   แต่อย่างที่เราก็ทราบกันดีว่า การทำให้ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายรับโทษตามกฎหมายก็อยู่ที่ “กระบวนการยุติธรรม” ด้วย ที่จะสืบหาผู้กระทำความผิด และนำพยานหลักฐานมายืนยันการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้เกิดการตัดสินผิด/ถูก และบังคับผลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ต้องไม่ลืมว่า หากใครตกเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นจำเลย โดยเฉพาะเป็นนักโทษทางอาญาแล้ว จะต้องเผชิญกับโทษที่ร้ายแรงมาก คือ เสียชีวิต เสียอิสรภาพ หรือสูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง โดยไม่อาจโต้แย้งได้  ต้องก้มหน้ารับผลคำตัดสินไป   และที่แย่ไปกว่านั้น คือ ตราบาปที่ถูกประทับไว้ให้กลายเป็น จำเลยสังคม อาชญากร ผู้ก่อการร้าย ผู้ทำลายชาติ ที่สร้างผลสะเทือนต่อไปในอนาคต หรือติดไปกับครอบครัวลูกหลานอีกด้วย   ดังนั้น “การลงโทษผู้บริสุทธิ์” จึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก   สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับโทษทางกฎหมาย

ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจึงต้องพยายามอย่างยิ่งยวดมิให้คนบริสุทธิ์ต้องโทษ   หรือแม้กระทั่งในคดีแพ่งฯ ที่ผลร้ายทางกฎหมายต่อฝ่ายแพ้คดีจะเป็นเรื่องเงินๆทองๆ ทรัพย์สิน หรือสิทธิทั่วไป ไม่ถึงกับคอขาดบาดตาย แต่ก็มีผลต่อฝ่ายแพ้คดีมาก   กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งจึงให้สิทธิแก่คู่กรณีในการต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียมกัน  แต่กฎหมายอาญาที่มีโทษร้ายแรงกว่า จะให้สิทธิกับฝ่ายที่ถูกกล่าวหา “จำเลย” มาก เพราะพลาดพลั้งไป อาจตายหรือได้ไปใช้ชีวิตในคุก

คดีสำคัญที่หลายท่านคงเคยได้ยิน คือ คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน ที่ในครั้งแรกได้กล่าวหาบุคคลจำนวนหนึ่งเป็นจำเลยและมีคำพิพากษาจำคุกจนทำให้ผู้บริสุทธิ์กลุ่มหนึ่งต้องตายในเรือนจำ หรือออกจากคุกมาก็ต้องสูญเสียครอบครัว และบางคนก็ติดโรคร้ายจากสภาพความเป็นอยู่ที่โหดร้ายในคุก   คดีนี้สะท้อนให้เห็นว่า หากไม่มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ขั้นตอนสืบสวนสอบสวน การทำสำนวน การสั่งฟ้องคดี การพิจารณาคดีจนมีคำพิพากษา และการจำคุก ล้วนมีปัญหาสร้างความคลางแคลงใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไปจนถึงสังคมในวงกว้าง   ทำให้ศรัทธาที่มีต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเสื่อมทรามลงเป็นอันมาก

อุทาหรจากคดีนี้ชวนให้คิดไปได้ว่ามีคนอีกจำนวนมากที่ต้องเข้าไปอยู่ในคุกทั้งที่ไม่ได้กระทำผิด เพียงแต่ไม่มีเงินจ้างทนายดีๆ ไม่มีเส้นกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หรือไม่มีความรู้ทางกฎหมาย หรือมีภาพลักษณ์ไม่ดีชวนให้คิดว่าเป็น “โจร”  ดังนั้น ส่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันไปด้วยเมื่อเกิดคดีความทางกฎหมาย ก็คือ ความอยุติธรรมทางสังคม ที่สะท้อนผ่านการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรมกับคนบางกลุ่ม ด้วยเหตุที่เขามีต้นทุนในชีวิตต่ำ เช่น ยากจน ไร้เส้น ไม่มีการศึกษา ไปจนถึงหน้าตาท่าทางไม่ดี

หากกระบวนการแย่ ไม่ให้โอกาสกับคู่ความสู้ได้ดีพอ โอกาสที่จะแพ้ความแล้วติดคุกตารางย่อมมีสูงมาก   ดังนั้นการให้ความสำคัญกับ “กระบวนการ” จึงมีผลต่อ “ผล” อย่างสนิทแนบแน่น  

อย่างไรก็ดี นอกจากในมุมที่สิทธิมนุษยชนในกระบวนการ เป็น “วิธีการ” ที่ทำให้ได้ “ผล” ของคดีที่เป็นธรรมกับคู่ความ สร้างความยุติธรรมทางสังคมแล้ว   ยังมีมุมที่เกี่ยวกับ “ความเป็นธรรม” ระหว่างกระบวนการ เช่น การขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวเพื่ออกไปต่อสู้คดี หรือที่เรียกกันติดปากว่า “การประกันตัว”   ซึ่งเป็นปัญหามาก เนื่องจากรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายบอกชัดว่า ต้องปฏิบัติกับบุคคลที่ยังไม่มีคำพิพากษาเด็ดขาดเสมือนเป็นผู้บริสุทธิ์ นั่นย่อมหมายความว่า การไปควบคุมตัวเขาไว้ในสถานจองจำทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาในศาลสูงสุดว่าเขาผิด ย่อมเป็นการกระทำกับบุคคลนั้นเสมือนว่าผิดจริงมาตลอด  การไม่ให้ประกันตัวจึงเป็นความรุนแรงต่อผู้ถูกจองจำแล้ว  

กรณี คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่โดนควบคุมตัวมาตลอด 3 ปี ที่มีการพิจารณาคดีการตีพิมพ์บทความ 2 เรื่องที่มีผู้กล่าวหาว่าหมิ่นประมาทฯ ตาม ม. 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นั้น ได้สะท้อนให้เห็นว่า   เรื่องการประกันตัวมีลักษณะกลับหัวกลับหาง   คือไม่ให้ประกันตัวไว้ก่อน   ทั้งที่หลักคือ ปล่อย ถ้าจะควบคุมตัวต้องมีการนำสืบของฝ่ายบ้านเมืองว่า จำเลยจะหลบหนี หรือเข้าไปทำลายพยานหลักฐาน หรือฝ่าฝืนกฎหมายเพิ่มเติม   มิพักต้องพูดถึงกรณีของ อากง ที่มีโรคประจำตัวรุมเร้าและเสียชีวิตในขณะอยู่ในเรือนจำเพราะไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

ดังนั้นการเน้นย้ำ “สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม” จึงเป็นการสร้างหลักประกันให้กับ “ผลของคดี” และ สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่ต้องเสี่ยงกับ “ความอยุติธรรมทางสังคม” ไปในคราวเดียวกัน   หากรัฐและสังคมเห็นความสำคัญกับเรื่องนี้ก็จะมีความพยายามของสังคมในการจับตามองความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางของคำพิพากษา เพื่อสร้างที่มาแห่งความชอบธรรมในผลคำพิพากษาที่จะกำหนดว่ารัฐนี้ให้คุณค่ากับ “ความเป็นธรรม” ของ “มนุษย์” อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่นั่นเอง

ผลของคดีที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายหนึ่งเสมอ เป็นโทษกับฝ่ายหนึ่งตลอดมา  ชนิดที่ว่าปรากฏคลิปวิดีโอว่า ตุลาการมีการตั้งธงคำพิพากษาไว้ก่อน แล้วหาเหตุผล/ข้ออ้าง มาสนับสนุนสร้างความชอบธรรมโดยไม่สนใจ วิธีการ และกระบวนการ อันขัดหับหลักการพิจารณาคดีที่จะต้องรับฟังพยานหลักฐานให้หมดสิ้นเสียก่อนแล้วจึงตัดสินคดีจากข้อเท็จจริงที่อยู่ในศาล มิใช่ ข้อเท็จจริงที่ตุลาการรับรู้ผ่านสื่อ  ได้สร้างความคลางแคลงใจให้ฝ่ายที่เสียประโยชน์มาก

                ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการตัดสินคดีก็น้ำท่วมปาก แต่ก็ไม่ยากนักที่จะหาสารพัดเหตุผลมากลบเกลื่อนไปแบบเสียมิได้   แต่ก็มิได้ทำให้ความทรงจำของฝ่ายที่เสียประโยชน์หายไป    เพราะความสงสัยยังคงอยู่  แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นคือ “ความเดือดดาล” ที่ทับถมทวีคูณอยู่ทุกวัน จนมันก่อให้เกิดสำนึก “สองมาตรฐาน” อย่างแพร่หลายในสังคม

หลักฐานจาก การดำเนินคดีฝ่ายหนึ่งด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน อีกฝ่ายเร่งรัดรวดเร็ว    การไม่ให้สิทธิคู่ขัดแย้งอย่างเท่าเทียม ฝ่ายหนึ่งได้ประกัน อีกฝ่ายเหมือนจะถูกขังลืม     การดำเนินคดีด้วยนโยบายแบบพิเศษ เช่น คดีความมั่นคงที่ลิดรอนสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลย     ผลของคำพิพากษาไปเข้าทางฝ่ายเดียว ดังปรากฏคลิปผู้พิพากษาคุยกำหนดธงคำพิพากษาล่วงหน้า    การไม่ให้โอกาสคู่ความให้เหตุผลหรือแสดงหลักฐาน ไปจนถึงการรวบรัดพิจารณาคดีเหมือนไม่ได้ฟังความอีกข้าง 

คดีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและความมั่นคง ที่อยู่ในการรับรู้ของสังคมตั้งแต่ปี 2549 นั้นประจานความสั่นคลอนของเสาหลักแห่งรัฐไทยที่เรียกว่า “ศาลไทย” มิใช่เพราะผลของ “คำพิพากษา” เท่านั้น   แต่ที่ได้สร้างความเจ็บช้ำใจให้คนจำนวนมากก็เพราะ “กระบวนการ” ที่ส่อว่าเป็นการกำหนด “วิธีการ” เพื่อให้ได้ “ผล” ที่ฝ่ายหนึ่งต้องการเท่านั้น

ปัญหาเหล่านี้ไม่ยากเกินการแก้ไข เพราะ "กฎหมายไทย" นั้นวางหลักเรื่องวิธีการ/กระบวนการ ได้ดีอยู่แล้ว เหลือเพียงการ "ปฏิบัติ" ของบุคคลและการปรับโครงสร้างอำนาจการบริหารงานยุติธรรมให้เอื้อต่อการประกันสิทธิของประชาชน ก็เท่านั้นเอง!???

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,