Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559

2.       ผลลัพธ์จากการปฏิรูประบบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และการวางแนวทางใหม่ของสหภาพยุโรปในประเด็นนี้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา อาชญากร รวมถึงผู้ก่อการร้าย นักรบต่างชาติ ข้ามพรมแดนระหว่างสหรัฐกับสหภาพยุโรป 

3.       เนื่องจากกฎหมายเรื่องนี้ของยุโรปเป็นระดับ Directive ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังต้องไปออกกฎหมายภายใน และสหรัฐก็ปรับกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง รวมสร้างกลไกตรวจตรา ตรวจสอบ และเยียวยา ระหว่างกันเพิ่มเติม

4.       สร้างขอบเขตการประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่าจะเก็บข้อมูลประมวลข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง

5.       การส่งข้อมูลข้ามพรมแดนทั้งหลายจะต้องได้รับการยินยอมจากหน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลต้นทางเสียก่อน

6.       กำหนดระยะเวลาในการเก็บกักข้อมูลให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็น โดยประกาศเป็นการทั่วไปว่าข้อมูลที่จัดเก็บในกรณีต่างๆว่าอยู่ในระยะเวลาเท่าใด ประชาชนค้นหาประกาศและเข้าถึงข้อมูลเงื่อนไขเหล่านั้นได้

7.       ให้สิทธิผู้ทรงสิทธิเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับกับตนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และสามารถร้องขอให้หน่วยงานที่เก็บข้อมูลปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

8.       หน่วยงานที่ควบคุมข้อมูลจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบหากข้อมูลรั่วไหล หรือมีความเสียหายเกิดขึ้น

9.       พลเมืองสหภาพยุโรปมีสิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลสหรัฐหาก หน่วยงานรัฐปฏิเสธการเข้าถึงหรือขอแก้ไขข้อมูล หรือเมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยรั่วไหล  รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิในการได้รับเยียวยาตามกฎหมาย US Judicial Redress Bill ที่สภาคองเกรสประกาศตั้งแต่ 18 มีนาคม 2559  เสมือนพลเมืองสหภาพยุโรปได้รับการปกป้องสิทธิเท่าพลเมืองสหรัฐตาม US Privacy Act of 1974

10.   จัดตั้งหน่วยงานในการควบคุมตรวจตรา (Oversight) การประมวลข้อมูล ส่งต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามหลักประกันที่กำหนดไว้ในข้อตกลง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,