Skip to main content
คืนนี้

ขึ้น 15 ค่ำ ยังหัวค่ำ พระจันทร์เต็มดวงสาดแสงนวลอ่อนโยนกระจ่างทั่วทุ่ง แสงเย็นตายังครอบคลุมวิหารวัดทุ่งลมเย็นบรรยากาศในวัดช่างสงบ สงัด ลมทุ่งพัดกระทบต้นไม้ในวัด ใบของมันสะบัดตัวรับดังซู่ซ่าเป็นพักๆ  ความวุ่นวายสับสนเร่าร้อนทั้งมวลของคนเหมือนหมดสิ้นยามย่างเท้าเข้าวัดสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์  พระสงฆ์องค์เจ้าคงจำวัดกันหมดทั้งสามรูป แต่ยังมีอีกคนหนึ่ง จิตใจยังเร่าร้อนเคร่งเครียดแม้จะเหนื่อยจากงานสลากภัตของวัด ก็ไม่อาจข่มตาให้หลับได้  ใครๆเรียกเขาว่า "ลุงคำ" แกเฝ้านึกถึงเหตุการณ์เมื่อเช้านี้

วัดทุ่งลมเย็น
มีพระ 2 รูป เณร 1 รูปเวลาพระรับนิมนต์ไม่มีใครดูแลวัดเกรงขโมยจะมาลักทรัพย์สิน โดยเฉพาะพระพุทธรูปเก่าแก่ของวัด  ผู้ใหญ่บ้านกรรมการวัดและชาวบ้านมีความเห็นตรงกันว่า น่าจะมีคนเฝ้าวัดยามพระรับนิมนต์ จึงตกลงกันจ้างลุงคำอายุ 70 กว่าปีเป็นผู้ดูแลวัดโดยให้ค่าจ้าง 600 บาทต่อเดือน
เงินค่าจ้างได้จากการเก็บชาวบ้านหลังละ 5 บาททั้งหมดมี 99 หลังก็ได้เงินราว 500 บาทที่ขาดไปทางวัดจะออกเพิ่มจนครบ 600 บาท

หน้าที่
ของลุงคำ กลางคืนนอนในวิหารเฝ้าดูแลพระพุทธรูปและสิ่งของอื่นๆ ในวิหาร  ทำความสะอาดพื้นวิหาร กวาดเศษใบไม้ช่วยพระ เมื่อเสร็จในตอนเช้านั้นลุงคำจะเข็นล้อพ่วงตามหลังพระไปบิณฑบาตพร้อมกับตีฆ้องม้ง ๆ เป็นระยะให้ชาวบ้านทราบว่า พระมาแล้ว  ล้อพ่วงนี้สำหรับวางของบิณฑบาตที่ล้นบาตรพระ

เมื่อกลับจากรับบิณฑบาตถึงวัดแล้ว ลุงคำก็บริการรับใช้พระด้านการฉันมื้อเช้า พระฉันเสร็จ ลุงคำจึงได้กินข้าวเช้าที่วัด เมื่ออิ่มก็ล้างจาน พิจารณาหน้าที่ของแกมันเหมือนนักการภารโรงของโรงเรียนหรือของสถานที่ราชการ

ประเพณี
สลากภัตนิยมปฏิบัติตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี  ส่วนประเพณีสลากภัตหรือตานก๋วยสลากของวัดทุ่งลมเย็น เริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 12 กันยายน ศรัทธาญาติโยมนำต้นสลากมาตั้งบนศาลาวัดเต็มไปหมด  ผู้คนแต่งตัวสะสวย ยิ้มแย้ม

ลุงคำ
จัดเก้าอี้สำหรับพระสงฆ์ นั่งให้ศีลให้พร ลุงคำเห็นลุงบุญมีเจ้าของตึกสองชั้นข้างวัดนั่งไขว้ขาสบายอารมณ์  ลุงคำขอให้ไปนั่งที่อื่น  เก้าอี้นี้จะให้พระนั่ง  ลุงบุญมีหันมามองหน้า แล้วค่อยลุกขึ้นสีหน้าท่าทางไม่พอใจมาก พูดช้าๆ สำเนียงเย้ยหยันเสียดสีถ้อยคำรุนแรง
"ทำเบ่ง...ทำตัวเป็นเจ้าข้าวเจ้าของวัดทำมาหากินกับวัดกับวา...โธ่เอ้ย ..."
ลุงคำนิ่งงันรู้สึกร้อนวูบวาบขึ้นหน้า

ลุงคำ
นอนไม่หลับตลอดคืน สมองคิดวกวนไปมาเรื่องเดิมจะทำอย่างไรดีๆ ลุงคำพร่ำถามตนเองในใจ เราเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ไม่มีเกียรติ ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีศักดิ์ศรี...แม้จะไม่เข้าใจดีนักกับคำว่า "ศักดิ์ศรี"
แต่ลุงคำก็บอกได้ว่า ตนไม่มีศักดิ์ศรี  ลุงคำไม่รู้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญเขียนว่า บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย  ถ้าแกรู้หรืออ่านพบ แกคงเถียงว่าไม่จริงเลย คนเสมอเท่าเทียมกันตามตัวหนังสือเท่านั้น  ในชีวิตจริงผู้มีฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจสูงกว่าก็ยังรังแกผู้ด้อยกว่า ผู้อ่อนแอกว่า
เราไม่ใช่คนสิ้นไร้คนอนาถา ยังมีมือเท้า มีกำลังทำงานหากินได้ ไม่มีเงินค่าจ้างเฝ้าวัด เราก็อยู่ได้  ลุงคำเร่งเวลาให้เช้าเร็วๆ

พอฟ้าสาง ลุงคำก็กราบเจ้าอาวาสบอกลาด้วยเหตุผลสั้นๆ เจ้าอาวาสทราบเรื่องราวดีไม่ทราบจะพูดอะไร

เช้ารุ่งขึ้น
ภาพใหม่ที่ชาวบ้านเห็นเณรพงศ์เข็นล้อพ่วงตีฆ้อง...ตามหลังพระสองรูปออกรับบิณฑบาต.

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง