Skip to main content
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา                   มีกระท่อม มีบ้านและมีชุมชน มีพื้นที่ทำกินเลี้ยงชีพ                   ที่มั่นคงชัดเจนชัดเจนในวิถี เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยวตัว            อยู่กินมาหลายชั่วอายุคนมีภูมิปัญญาในการใช้และรักษาป่า   รู้จักใช้ ยาสมุนไพรในยามเจ็บป่วยเขาเป็นผู้มีน้ำใจดี                        เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์หลายอย่างจักสาน ทั้งกระบุงและก๋วย             ทำกับดัก ได้กินหนูแล้วแบ่งปัน แต่อยู่มาวันหนึ่ง ฝันร้ายได้มาเยือน  คำสั่งจากทางการมาสู่ยอดดอยให้คนย้ายออกจากถิ่นป่า               ไปอยู่ที่ใหม่ ที่ถูกเตรียมไว้รอนั่น พาตี่ปูนุก็ต้องออกไป               จากถิ่นเกิด บ้านเดิม กลางไพรชุมชนเดิมจะกลายเป็นเพียงอดีต      วิถีเดิมจะกลายเป็นเพียงตำนาน
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น ในเพศชายอาจใช้การกระทำคำพูดโน้มน้าว ส่วนเพศหญิงนั้นหากทำประหนึ่งว่าสนใจเพศตรงข้ามแล้วก็จะถูกมองว่า "ให้ท่า" ผิดก็ตรงที่เกิดเป็นหญิง ถูกสังคมวางบทบาทไว้ให้แล้วนั่นเองอย่างไรก็ดี ศิลปะต่างยุค ความงามในแต่ละบริบทสังคมย่อมแตกต่างกันต่างกันไป ขึ้นกับสายตาที่มองและตัดสินความงามนั้นด้วยใจ ดังศิลปะในยุคเรอเนซองซ์ มองว่าหญิงที่งามนั้นต้องอวบอั๋น มีน้ำมีนวลเหมือนนางเอกเรื่อง ไททานิค แต่มาในยุคปัจจุบันกลับมองว่าขนาดนั้นอ้วนไป นางแบบวันนี้ต้องหุ่นเพรียว เอวกิ่ว อกแบน เช่นเดียวกับสาวจีนในอดีตก็ต้องมัดเท้า ยิ่งเล็กยิ่งดี ดูจุ๋มจิ๋มน่ารัก แสดงถึงความเป็นผู้ดี ถูกใจชายหนุ่ม หากเท้าโตจะหาสามียาก ส่วนสาวชาวเมี่ยน (เย้า) ทุกคนต้องถอนขนคิ้วออกเหลือเพียงบางๆ จึงจะได้ชื่อว่างาม ไม่ต่างจากสาวเผ่ากะเหรี่ยงคอยาว (ปาดอง) หากมีรอบห่วงที่พันคอมากเท่าใดก็ยิ่งเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มมากเท่านั้น
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ขอเปิดพื้นที่แทนเรื่อง "สื่อ" ชั่วคราว เพื่ออุทิศให้กับแรงงานที่ประสบเหตุเสียชีวิตจากการลักลอบขนย้ายแรงงานที่สังเวยต่อการเมืองในประเทศพม่าและกระบวนการค้ามนุษย์ในไทย อู วิน (นามสมมติ) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครขององค์กรคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อช่วยเหลือแรงงานพม่าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และระนอง โทรมาหาผู้เขียนด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยในเช้าวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา เขาพูดถึงการเสียชีวิตหมู่ของแรงงานพม่าที่ลักลอบเข้ามาทำงานในเมืองไทย จำนวน 54 ศพ เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อหลายเดือนก่อน ก่อนที่พื้นที่ของข่าวนี้จะหายไปกับสายลมประหนึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นหลังจากนั้นไม่กี่เดือน.....อูวิน เคยเป็นเพื่อนร่วมงานกับผู้เขียนและนับถือกันเสมือนญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง อายุอานามเข้าใกล้เลขห้าในไม่อีกกี่ปี จึงนับอาวุโสกันด้วยการเรียกขานเขาว่า "อู" ซึ่งในวัฒนธรรมไทยหมายถึงคำเรียก "ลุง น้า หรือ อา", อูวินรู้สึกเศร้า เสียใจ แต่ไม่ประหลาดใจกับข่าวการเสียชีวิตหมู่ 54 ศพของแรงงานพม่าเหมือนคนไทยทั่วไปที่ได้รับข่าวสารในช่วงแรกและเกิดความรู้สึกหดหู่ ระคนตระหนกตกใจกับเหตุการณ์เลวร้ายครั้งนั้น เนื่องจาก 15 ปีมาแล้วที่อูวินเข้ามาพึ่งพาอาศัยผืนดินไทยทำมาหากิน เขาพูดได้เต็มปากว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังว่า ชีวิตแรงงานอพยพชาวพม่าในประเทศไทยดีขึ้นในแง่ของการไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ค่าแรงจากนายจ้าง และตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ โดยความร่วมมือกับพ่อค้าและข้าราชการทุจริต
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ หรือบทเพลงแห่ศพของคนปกาเกอะญอขึ้นมาทันที
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด” เขาซึ่งเป็นผู้นำอาวุโสคนหนึ่งในชุมชนปกาเกอะญอบ้านแม่หอย อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ พูดก่อนที่จะร่วมเดินทางไปเรียกร้องสิทธิ์ของคนอยู่กับป่า ซึ่งเป้าหมายของทุกที่ไปก็คล้ายกันคือครั้งนี้หาก เรียกร้องไม่สำเร็จก็จะไม่ยุติการชุมนุม
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงจัดให้มีพิธีสำคัญ ได้แก่ พิธีเทาะอะโย่งกย้าจก์ หรือพิธีสมโภชพระพุทธรูป พิธีรำสามถาด พิธีมอญร้องไห้ และมอญรำ พิธีการและพิธีกรรมได้ดำเนินไปตลอดทั้งวัน ในงานสิ่งที่สะดุดตาเห็นจะเป็นอื่นไปไม่ได้นั่นคือการแต่งกายของผู้ที่มาร่วมงานนับพันคน ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะแต่งขาวดำเป็นหลัก และส่วนน้อยจะเป็น “ชุดประจำชาติ” (โสร่ง/ผ้าถุงแดงเสื้อขาว) ของพี่น้องชาวมอญเมืองมอญซึ่งก็โดดเด่นไม่แพ้กัน แต่น่าเสียดายว่าชุดการแต่งกายแบบนี้จะเคยถูกดูหมิ่นและรังเกียจว่าเป็นการแต่งกายของแรงงานต่างด้าว เช่นที่มหาชัยก็เคยถูกห้ามสวมใส่มาแล้ว แต่อย่างน้อยในงานนี้อาจทำคนในสังคมไทยได้เข้าใจ และมองเห็นความเป็นมอญได้อย่างเต็มตาเต็มใจมากยิ่งขึ้น
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น ในครั้งนี้ฉันอยากจะเขียนถึงงานใหญ่ของชาวมอญในเมืองไทยงานหนึ่งที่ฉันได้ไปร่วม นั่นคือ พิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานี้เอง งานนี้เราจัดกัน ๑ วัน แต่การเตรียมการนั้นใช้เวลาหลายเดือน เนื่องจากเราทำตามประเพณีมอญโบราณซึ่งมีขั้นตอนเยอะ และเราก็ต้องใช้ปัจจัยเยอะด้วยเช่นกัน ขบวนแห่ฮะอุ๊บมอญ (สังฆทาน) จากวัดชนะสงครามไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
ชิ สุวิชาน
สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์ เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน “ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์” เขาถามลูกชายของตนเอง พร้อมๆกับนึกถึงเหตุการณ์ตอนที่ถูกต่อว่ากลางงานประชุมสมัชชาคริสตจักรกะเหรี่ยงภาคมูเจะคี เมื่อสิบปีก่อน เขายังรู้สึกหวั่นๆ ไม่น้อย เพราะกลัวเหตุการณ์จะซ้ำรอยเดิม แล้วลูกจะทนรับความกดดันไว้ไม่ไหว หากมีคำพูดเชิงตำหนิเกิดขึ้นหลังจากไปเล่นในโบสถ์ สิ่งที่เขากังวลมากกว่านั้นคือ กลัวว่าลูกเขาจะทิ้งเสียงและสำเนียงเพลงแห่งนกเขาป่าไปในที่สุด “แน่ใจ เล่นซิ! ผมเป็นแค่เด็ก เค้าคงไม่ว่าอะไรหรอกมั้ง!” ลูกชายยืนยัน
ชิ สุวิชาน
ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา “โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง โดยการส่งสัญญาณ “โด โซ โซ มี โด มี โซ” นั้น เป็นเสมือนการให้สัญญาณ คีย์หรือระดับเสียงของโน้ต ส่วนคำว่า “ready… sing” แปลว่า พร้อม..ร้อง แล้วนักร้องจะเริ่มร้องทันที แต่สำหรับผู้นำปกาเกอะญอในโบสถ์ปกาเกอะญอนั้น นอกจากจะมี ready… sing แล้ว ยังมี “ซะหวิ” ซึ่งแปลว่าร้องอีกคำหนึ่ง ซึ่งตรงนี้เองที่ผมไม่แน่ใจว่าเขาจำมาจากฝรั่งหรือว่าเขาเข้าใจอย่างไรไม่ทราบเหมือนกัน ถ้าตัดคำว่า ready… sing ออก และใช้แต่ ซะหวิ คำเดียวก็น่าจะพอ หรือเขาอยากใช้ทั้งสองภาษาพร้อมกัน ทำให้ยังงงอยู่จนถึงวันนี้
ชิ สุวิชาน
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่ ไม่มีการห้ามแต่อย่างใด  แต่สำหรับ หมวดเลปลือแหมะ, หมวด ธาแหน่หมื่อ เหน่ลา, หมวดธาโข่เส่ คะมอ, หมวดธาปลือลอ, หมวดเชอเกปลือ , ธา หมวดฉ่อลอ ,หมวดธาชอเต่อแล  ถือเป็นเพลงธาสำหรับร้องสวดในงานศพโดยเฉพาะ  และต้องขับขานเฉพาะเวลา และสถานที่ ที่มีงานศพเท่านั้น  ไม่สามารถขับขานนอกเหนือจากนั้นได้  ถือเป็นเพลงธาที่อัปมงคล  หากเหตุการณ์ เวลาที่ปกติ ถือเป็นเพลงธาต้องห้ามก็ว่าได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา) คนมอญนับถือผีมาแต่โบราณกาล แม้เมื่อยอมรับนับถือศาสนาพุทธแล้วก็ยังนับถือผีควบคู่ไป ตำนานในการถือผีจึงมักเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเสมอ สมัยพุทธกาลเศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยา 2 คน ภรรยาหลวงไม่มีลูกจึงอิจฉาฆ่าลูกภรรยาน้อย ตาย ภรรยาเศรษฐีทั้งสองนี้เมื่อตายไปก็พยาบาทจองเวรฆ่าลูกของอีกฝ่ายสลับกันไปทุกชาติ ชาติสุดท้ายฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นผี อีกฝ่ายเกิดเป็นมนุษย์ ต่างมีลูกด้วยกันทั้งคู่ ฝ่ายผีไล่ตามกินลูกมนุษย์ มนุษย์จึงหนีไปพึ่งพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร พระองค์ทราบความเป็นมาโดยตลอดด้วยพระอภิญญาณ จึงแสดงพระธรรมเทศนาแก่นางผีและมนุษย์ จนทั้งสองได้คิดเลิกจองเวรกัน ต่อมานางผีได้ไปอยู่กับมนุษย์ ช่วยเหลือมนุษย์และชาวเมืองทั้งหลาย บังเกิดผลดีมีโภคทรัพย์สมบูรณ์มั่งคั่ง จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาของชาวมอญในการนับถือผีบ้านผีเรือน
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น