Skip to main content

หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่

โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้”


สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก ความสามารถในการคำณวน ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่มีรูปแบบตายตัวและซ้ำซาก รวมทั้งอำนาจสนับสนุนที่ช่วยให้ การเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูล และการติดต่อเชื่อมโยงระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับข้อมูล และข้อมูลกับข้อมูล เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นจุดเด่นของ ICT และเป็นคุณสมบัติสำคัญ ที่ทำให้ใครหลายคนคิดว่า เทคโนโลยีนี้สามารถถูกพัฒนา ให้มีความสามารถมากขึ้นๆ จนสามารถเข้ามาทำหน้าที่ในหลายๆ ขั้นตอนของขบวนการทำงาน ซึ่งที่ผ่านมาถูกดำเนินการโดยมนุษย์


อิทธิพลจากความคิดดังกล่าว ทำให้ในระยะเริ่มแรก ของการประยุกต์ใช้ ICT ในบริบทขององค์กร สะท้อนภาพแห่งการใช้เพื่อทดแทนแรงงาน หรือเพื่อลดจำนวนพนักงานอย่างชัดเจน เฉกเช่นเดียวกับที่เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือเทคโนโลยีการผลิตอื่นๆในยุคอุตสาหกรรม ได้ก่อให้เกิดสภาวะคนว่างงาน ในอดีตที่ผ่านมา


แม้ในปัจจุบัน กระแสการประยุกต์ใช้
ICT เพื่อทดแทนแรงงานยังคงอยู่ แต่ไม่ได้อยู่ในรูปของการลดจำนวนพนักงาน หากแต่อยู่ในรูปของการใช้ ICT เพื่อทดแทนการจ้างแรงงานใหม่ เพื่อลดอัตราการแทรกแทรงหรือการพึ่งพาการตัดสินใจของบุคลากร ระหว่างกระบวนการทำงานต่างๆ ทั้งนี้เพื่อลดความผันผวน อันเกิดจากความสามารถที่แตกต่างกัน ของแต่ละบุคลากร ในการรับมือกับสถานการณ์เดียวกัน เพื่อสร้างมาตรฐานในการทำงานแบบเดียวกันภายในองค์กร ซึ่งความพยายามดังกล่าวนี้ ถูกสะท้อนผ่านความพยายาม ในการสร้างระบบงานต่างๆ ที่ใช้จำนวนพนักงานให้น้อยที่สุด


ภาพแห่งการทดแทน ไม่ได้หยุดแค่ในบริบทของแรงงาน หากแต่ได้ขยายตัวสู่การใช้ ICT เพื่อทดแทนระบบงานลักษณะเดิม นั่นคือ มีแนวโน้มในการพัฒนาระบบงาน ให้เป็นระบบงานออนไลน์ (online system) หรือ การเปลี่ยนไปสู่ลักษณะระบบงานเสมือน (virtual system) มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อบรรลุจุดประสงค์หลัก ในการลดต้นทุน ในการดำเนินการในด้านต่างๆ


ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบ Paperless เพื่อลดต้นทุนการจัดทำ เผยแพร่ และแบ่งปันเอกสาร ในระหว่างขบวนการดำเนินการ การใช้ email และ video conference เพื่อลดต้นทุนการติดต่อสื่อสาร และการเดินทาง หรือการผลักดันให้บริการ online ต่างๆ เป็นช่องทางหลักในการบริการลูกค้าและคู่ค้า เพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกรรม เป็นต้น


นอกจากนี้ ภายใต้หลักการบริหารและจัดการองค์กรสมัยใหม่ ICT ได้รับการยอมรับว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์กร เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organisation) หรือองค์กรแห่งองค์ความรู้ (knowledge Intensive Firm) โดยอาศัยจุดเด่นของ ICT ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และ การสร้างองค์ความรู้ภายในองค์กร ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นสามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันได้ ในท้ายที่สุด


ภาพทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนว่า ICT กำลังสร้างผลสัมฤทธิ์ ตามความปรารถนาของผู้บริหารองค์กร ที่มีทัศนะในการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อทดแทนแรงงาน และลดต้นทุนการดำเนินการ


อย่างไรก็ดี เหรียญย่อมมีสองด้าน


สิ่งที่จะนำเสนอต่อจากนี้ คือความพยายามของข้าพเจ้าที่จะชี้ให้เห็นว่า อันที่จริงแล้ว การนำ ICT เข้ามาใช้งานในองค์กร เป็นสิ่งที่ดีและควรกระทำ หากแต่องค์กรจะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก ICT ถ้าองค์กรนั้นๆสามารถผสมผสาน ICT กับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้งานได้อย่างลงตัว ไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยี มาใช้เพียงเพื่อบรรลุจุดประสงค์ข้างต้นแต่อย่างใด


ในบริบทของการลดพนักงาน แน่นอนว่าองค์กรได้ประโยชน์ทางบัญชีทันที จากการลดลงของภาระการเงิน ที่ต้องจ่ายเพื่อเป็นค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน องค์กรต้องสูญเสีย สิ่งที่สั่งสมอยู่ในตัวบุคลากร นั่นคือ ประสบการณ์และความสามารถ ซึ่งเมื่อเสียไปแล้ว ยากที่จะสร้างขึ้นมาทดแทน ไม่ว่าจะโดยการพัฒนาบุคลากรใหม่ หรือโดยการสร้างระบบบริหารความรู้องค์กร (Knowledge Management System) เพื่อกักเก็บความรู้ภายในองค์กรก็ตามที


บริบทที่จะกล่าวถึงถัดไป คือเรื่องของผลกระทบจากการมีระบบงาน ที่มุ่งลดการแทรกแซงจากบุคลากร เพื่อการได้มาซึ่ง มาตรฐานในการจัดการงานประเภทเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันองค์กรกลับต้องสูญเสีย ความยืดหยุ่นของระบบงาน และขาดการมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งเพียงพอต่อการทำให้งานแต่ละชิ้นสำเร็จ เนื่องจากในทัศนะของข้าพเจ้า ทั้งสองสิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากงานแต่ละชิ้น มักมีรายละเอียดปลีกย่อย ที่แตกต่างกันไป และส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับอารมณ์หรือความรู้สึก ของผู้ที่เกี่ยวข้องในงาน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างพนักงานกับลูกค้า หรือระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน ซึ่งโดยปกติจะถูกละเลย เมื่อองค์กรต้องการสร้างมาตรฐานในกับระบบใดระบบหนึ่ง


อีกสิ่งหนึ่งที่เสียไปจากการมีระบบงานออนไลน์ หรือระบบงานเสมือนคือ การลดลงของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กร ทั้งในเรื่องของการทำงาน และ เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงาน แต่เป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยสร้างสังคมการทำงาน ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อม ที่จำเป็นต่อการบ่มเพาะกระบวนการแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งยังสำคัญต่อการสร้าง ถ่ายทอด และพัฒนาองค์ความรู้ภายในองค์กร ในทัศนะของข้าพเจ้า


อีกหนึ่งบริบทที่จะขอพูดถึง เกี่ยวข้องกับทัศนะที่ว่า ICT คือกุญแจสำคัญ ที่ช่วยให้องค์กรก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือองค์กรแห่งองค์ความรู้ และมุ่งสร้างระบบ ICT ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ หรือระบบบริหารจัดการความรู้องค์กร เพื่อที่จะบรรลุผลดังกล่าว


อย่างไรก็ดี ทัศนะดังกล่าวมีความบกพร่องอยู่ เนื่องจากข้าพเจ้ามีความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อความต้องการที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน กับ ความต้องการสอนหรือถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน เกิดขึ้นพร้อมกัน


อีกทั้งองค์ความรู้บางอย่าง เช่น การตัดสินใจของบุคลากร ที่จะทำหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง บนพื้นฐานแห่งประสบการณ์และความรู้ที่ตกผลึกอยู่ภายใน ที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ทำไปตามความรู้สึก” ซึ่งบุคคลผู้นั้น ก็ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือไม่สามารถบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรได้


องค์ความรู้ในลักษณะนี้ ไม่สามารถถูกกักเก็บได้ ด้วยการใช้ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้องค์กร อีกทั้งไม่สามารถถ่ายทอดหรือเรียนรู้ ผ่านระบบสนับสนุนการเรียนรู้ หากแต่ผู้ต้องการเรียนรู้ ต้องมีโอกาสทำงาน หรือเข้าร่วมในสถานการณ์จริง กับผู้มีประสบการณ์ เพื่อซึมซับความรู้นั้น


ดังนั้น ต้นเหตุของปัญหาในบริบทนี้ จึงอยู่ที่ “มนุษย์” ซึ่งเป็นทั้งผู้เรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งเป็นผู้สร้าง พัฒนา และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ว่าต้องการเรียนรู้หรือไม่ ต้องการถ่ายทอดความรู้หรือไม่ ความต้องการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้หนึ่งๆ เกิดขึ้นตรงกันหรือไม่ หรือต้องการสร้าง พัฒนา และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้หรือไม่


นอกจากนั้น ปัญหาในบริบทนี้ ยังมีต้นเหตุอยู่ที่ “รูปแบบหรือลักษณะขององค์ความรู้” ซึ่ง ICT ไม่สามารถ กักเก็บหรือบริหารจัดการได้ทั้งหมด


นั่นหมายความว่า การมีระบบสนับสนุนการเรียนรู้ หรือส่งเสริมการบริหารองค์ความรู้ เป็นการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ หรือเป็นการทำให้ความรู้บางอย่าง ที่สามารถถูกถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษร มีที่จัดเก็บและเข้าถึงได้ จากบุคลากรภายในองค์กร ในวงกว้างมากขึ้น เพียงเท่านั้น แต่ไม่สามารถเข้าไปแก้ ที่ต้นเหตุแห่งปัญหาได้

สภาพปัญหาในบริบทนี้ ได้สะท้อนภาพให้เห็นสำคัญที่ว่า สุดท้ายสิ่งที่องค์กรต้องการ เพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการคือการทำงานร่วมกันระหว่าง ICT กับ มนุษย์ ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ


ข้าพเจ้าหวังว่า ภาพสะท้อนทั้งหมดข้างต้น สามารถทำให้ผู้อ่านตระหนักว่า งานหลากหลายประเภท ต้องการจุดเด่นและความสามารถของ ICT เพื่อไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…