Skip to main content

หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่

โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้”


สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก ความสามารถในการคำณวน ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่มีรูปแบบตายตัวและซ้ำซาก รวมทั้งอำนาจสนับสนุนที่ช่วยให้ การเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูล และการติดต่อเชื่อมโยงระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับข้อมูล และข้อมูลกับข้อมูล เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นจุดเด่นของ ICT และเป็นคุณสมบัติสำคัญ ที่ทำให้ใครหลายคนคิดว่า เทคโนโลยีนี้สามารถถูกพัฒนา ให้มีความสามารถมากขึ้นๆ จนสามารถเข้ามาทำหน้าที่ในหลายๆ ขั้นตอนของขบวนการทำงาน ซึ่งที่ผ่านมาถูกดำเนินการโดยมนุษย์


อิทธิพลจากความคิดดังกล่าว ทำให้ในระยะเริ่มแรก ของการประยุกต์ใช้ ICT ในบริบทขององค์กร สะท้อนภาพแห่งการใช้เพื่อทดแทนแรงงาน หรือเพื่อลดจำนวนพนักงานอย่างชัดเจน เฉกเช่นเดียวกับที่เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือเทคโนโลยีการผลิตอื่นๆในยุคอุตสาหกรรม ได้ก่อให้เกิดสภาวะคนว่างงาน ในอดีตที่ผ่านมา


แม้ในปัจจุบัน กระแสการประยุกต์ใช้
ICT เพื่อทดแทนแรงงานยังคงอยู่ แต่ไม่ได้อยู่ในรูปของการลดจำนวนพนักงาน หากแต่อยู่ในรูปของการใช้ ICT เพื่อทดแทนการจ้างแรงงานใหม่ เพื่อลดอัตราการแทรกแทรงหรือการพึ่งพาการตัดสินใจของบุคลากร ระหว่างกระบวนการทำงานต่างๆ ทั้งนี้เพื่อลดความผันผวน อันเกิดจากความสามารถที่แตกต่างกัน ของแต่ละบุคลากร ในการรับมือกับสถานการณ์เดียวกัน เพื่อสร้างมาตรฐานในการทำงานแบบเดียวกันภายในองค์กร ซึ่งความพยายามดังกล่าวนี้ ถูกสะท้อนผ่านความพยายาม ในการสร้างระบบงานต่างๆ ที่ใช้จำนวนพนักงานให้น้อยที่สุด


ภาพแห่งการทดแทน ไม่ได้หยุดแค่ในบริบทของแรงงาน หากแต่ได้ขยายตัวสู่การใช้ ICT เพื่อทดแทนระบบงานลักษณะเดิม นั่นคือ มีแนวโน้มในการพัฒนาระบบงาน ให้เป็นระบบงานออนไลน์ (online system) หรือ การเปลี่ยนไปสู่ลักษณะระบบงานเสมือน (virtual system) มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อบรรลุจุดประสงค์หลัก ในการลดต้นทุน ในการดำเนินการในด้านต่างๆ


ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบ Paperless เพื่อลดต้นทุนการจัดทำ เผยแพร่ และแบ่งปันเอกสาร ในระหว่างขบวนการดำเนินการ การใช้ email และ video conference เพื่อลดต้นทุนการติดต่อสื่อสาร และการเดินทาง หรือการผลักดันให้บริการ online ต่างๆ เป็นช่องทางหลักในการบริการลูกค้าและคู่ค้า เพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกรรม เป็นต้น


นอกจากนี้ ภายใต้หลักการบริหารและจัดการองค์กรสมัยใหม่ ICT ได้รับการยอมรับว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์กร เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organisation) หรือองค์กรแห่งองค์ความรู้ (knowledge Intensive Firm) โดยอาศัยจุดเด่นของ ICT ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และ การสร้างองค์ความรู้ภายในองค์กร ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นสามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันได้ ในท้ายที่สุด


ภาพทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนว่า ICT กำลังสร้างผลสัมฤทธิ์ ตามความปรารถนาของผู้บริหารองค์กร ที่มีทัศนะในการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อทดแทนแรงงาน และลดต้นทุนการดำเนินการ


อย่างไรก็ดี เหรียญย่อมมีสองด้าน


สิ่งที่จะนำเสนอต่อจากนี้ คือความพยายามของข้าพเจ้าที่จะชี้ให้เห็นว่า อันที่จริงแล้ว การนำ ICT เข้ามาใช้งานในองค์กร เป็นสิ่งที่ดีและควรกระทำ หากแต่องค์กรจะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก ICT ถ้าองค์กรนั้นๆสามารถผสมผสาน ICT กับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้งานได้อย่างลงตัว ไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยี มาใช้เพียงเพื่อบรรลุจุดประสงค์ข้างต้นแต่อย่างใด


ในบริบทของการลดพนักงาน แน่นอนว่าองค์กรได้ประโยชน์ทางบัญชีทันที จากการลดลงของภาระการเงิน ที่ต้องจ่ายเพื่อเป็นค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน องค์กรต้องสูญเสีย สิ่งที่สั่งสมอยู่ในตัวบุคลากร นั่นคือ ประสบการณ์และความสามารถ ซึ่งเมื่อเสียไปแล้ว ยากที่จะสร้างขึ้นมาทดแทน ไม่ว่าจะโดยการพัฒนาบุคลากรใหม่ หรือโดยการสร้างระบบบริหารความรู้องค์กร (Knowledge Management System) เพื่อกักเก็บความรู้ภายในองค์กรก็ตามที


บริบทที่จะกล่าวถึงถัดไป คือเรื่องของผลกระทบจากการมีระบบงาน ที่มุ่งลดการแทรกแซงจากบุคลากร เพื่อการได้มาซึ่ง มาตรฐานในการจัดการงานประเภทเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันองค์กรกลับต้องสูญเสีย ความยืดหยุ่นของระบบงาน และขาดการมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งเพียงพอต่อการทำให้งานแต่ละชิ้นสำเร็จ เนื่องจากในทัศนะของข้าพเจ้า ทั้งสองสิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากงานแต่ละชิ้น มักมีรายละเอียดปลีกย่อย ที่แตกต่างกันไป และส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับอารมณ์หรือความรู้สึก ของผู้ที่เกี่ยวข้องในงาน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างพนักงานกับลูกค้า หรือระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน ซึ่งโดยปกติจะถูกละเลย เมื่อองค์กรต้องการสร้างมาตรฐานในกับระบบใดระบบหนึ่ง


อีกสิ่งหนึ่งที่เสียไปจากการมีระบบงานออนไลน์ หรือระบบงานเสมือนคือ การลดลงของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กร ทั้งในเรื่องของการทำงาน และ เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงาน แต่เป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยสร้างสังคมการทำงาน ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อม ที่จำเป็นต่อการบ่มเพาะกระบวนการแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งยังสำคัญต่อการสร้าง ถ่ายทอด และพัฒนาองค์ความรู้ภายในองค์กร ในทัศนะของข้าพเจ้า


อีกหนึ่งบริบทที่จะขอพูดถึง เกี่ยวข้องกับทัศนะที่ว่า ICT คือกุญแจสำคัญ ที่ช่วยให้องค์กรก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือองค์กรแห่งองค์ความรู้ และมุ่งสร้างระบบ ICT ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ หรือระบบบริหารจัดการความรู้องค์กร เพื่อที่จะบรรลุผลดังกล่าว


อย่างไรก็ดี ทัศนะดังกล่าวมีความบกพร่องอยู่ เนื่องจากข้าพเจ้ามีความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อความต้องการที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน กับ ความต้องการสอนหรือถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน เกิดขึ้นพร้อมกัน


อีกทั้งองค์ความรู้บางอย่าง เช่น การตัดสินใจของบุคลากร ที่จะทำหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง บนพื้นฐานแห่งประสบการณ์และความรู้ที่ตกผลึกอยู่ภายใน ที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ทำไปตามความรู้สึก” ซึ่งบุคคลผู้นั้น ก็ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือไม่สามารถบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรได้


องค์ความรู้ในลักษณะนี้ ไม่สามารถถูกกักเก็บได้ ด้วยการใช้ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้องค์กร อีกทั้งไม่สามารถถ่ายทอดหรือเรียนรู้ ผ่านระบบสนับสนุนการเรียนรู้ หากแต่ผู้ต้องการเรียนรู้ ต้องมีโอกาสทำงาน หรือเข้าร่วมในสถานการณ์จริง กับผู้มีประสบการณ์ เพื่อซึมซับความรู้นั้น


ดังนั้น ต้นเหตุของปัญหาในบริบทนี้ จึงอยู่ที่ “มนุษย์” ซึ่งเป็นทั้งผู้เรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งเป็นผู้สร้าง พัฒนา และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ว่าต้องการเรียนรู้หรือไม่ ต้องการถ่ายทอดความรู้หรือไม่ ความต้องการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้หนึ่งๆ เกิดขึ้นตรงกันหรือไม่ หรือต้องการสร้าง พัฒนา และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้หรือไม่


นอกจากนั้น ปัญหาในบริบทนี้ ยังมีต้นเหตุอยู่ที่ “รูปแบบหรือลักษณะขององค์ความรู้” ซึ่ง ICT ไม่สามารถ กักเก็บหรือบริหารจัดการได้ทั้งหมด


นั่นหมายความว่า การมีระบบสนับสนุนการเรียนรู้ หรือส่งเสริมการบริหารองค์ความรู้ เป็นการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ หรือเป็นการทำให้ความรู้บางอย่าง ที่สามารถถูกถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษร มีที่จัดเก็บและเข้าถึงได้ จากบุคลากรภายในองค์กร ในวงกว้างมากขึ้น เพียงเท่านั้น แต่ไม่สามารถเข้าไปแก้ ที่ต้นเหตุแห่งปัญหาได้

สภาพปัญหาในบริบทนี้ ได้สะท้อนภาพให้เห็นสำคัญที่ว่า สุดท้ายสิ่งที่องค์กรต้องการ เพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการคือการทำงานร่วมกันระหว่าง ICT กับ มนุษย์ ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ


ข้าพเจ้าหวังว่า ภาพสะท้อนทั้งหมดข้างต้น สามารถทำให้ผู้อ่านตระหนักว่า งานหลากหลายประเภท ต้องการจุดเด่นและความสามารถของ ICT เพื่อไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…