Skip to main content
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน

บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
 
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน องค์กรมากมายมักประสบกับปัญหาความล้มเหลว ในการดำเนินโครงการด้าน ICT ทั้งในแง่ของต้นทุนการดำเนินโครงการที่บานปลาย ในแง่ของการไม่สามารถควบคุมกำหนดเวลาได้ตามแผน และในแง่ของการที่โครงการไม่สามารถให้ผลสัมฤทธิ์ ตามที่ได้กำหนดไว้ตอนเริ่มต้น

ท่ามกลางสภาพปัญหาข้างต้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารองค์กร ผู้บริหารโครงการ รวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆในโครงการ มักยกให้ความซับซ้อนทางเทคโนโลยี เป็นประเด็นสำคัญแห่งความล้มเหลว

ความซับซ้อนทางเทคโนโลยีในที่นี้ หมายถึง สภาพความไม่คุ้นเคย กับเทคโนโลยีที่กำลังนำมาใช้ขององค์กร ซึ่งมีอยู่ทั้งในแง่ของการขาดความรู้ทางเทคโนโลยี และในแง่ของความไม่สามารถบริหารจัดการโครงการทางเทคโนโลยี อย่างเท่าทัน

อย่างไรก็ดี สภาพการขาดความรู้ความสามารถ อันเท่าทันเทคโนโลยี ถือเป็นสาเหตุประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้องค์กรประสบความล้มเหลว ในการดำเนินโครงการด้าน ICT เพียงเท่านั้น

ยังมีสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อความล้มเหลว ในการดำเนินโครงการด้าน ICT นั่นคือ การขาดความตระหนักถึง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่ง ICT นำมาสู่องค์กร ซึ่งโดยปกติมักอยู่นอกเหนือจากความคาดหมายของผู้บริหารองค์กรและผู้บริหารโครงการ

โดยปกติ เมื่อองค์กรเริ่มต้นดำเนินโครงการด้าน ICT องค์กรส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่ การวางแผนบริหารโครงการ เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังไว้ โดยมุ่งให้ความสนใจกับ ตัวแปรทางเทคนิคและข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร เป็นสำคัญ และหลงลืมการให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร

ตัวอย่างของ ตัวแปรทางเทคนิค ที่องค์กรให้ความสำคัญ เช่น การให้ความสนใจกับอุปกรณ์หรือระบบที่นำมาใช้ ว่าจักต้องมีคุณสมบัติอย่างไร หรือต้องสามารถทำงานร่วมกับระบบเก่าอะไรบ้าง และอย่างไร

ข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร ที่ขอยกตัวอย่างให้เห็น เช่น งบประมาณและทรัพยากรบุคคล ที่องค์กรสามารถอุทิศให้ รวมถึงระยะเวลาดำเนินโครงการ ที่ต้องกำหนดในช่วงเริ่มต้นโครงการ

แน่นอนว่า ในมุมมองของผู้บริหารองค์กรและผู้บริหารโครงการ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การได้รับผลสัมฤทธิ์ที่วัดผลได้ ทางการบริหาร นั่นคือ โครงการเสร็จทันเวลา ในงบประมาณที่กำหนด และระบบที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีความสามารถทำงานได้ตามที่วางแผนไว้ การให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งสองข้างต้น มีความสำคัญกับการดำเนินโครงการ เนื่องจากผู้บริหารเชื่อว่า หากให้ความสนใจและสามารถควบคุมปัจจัยทั้งสองข้างต้นแล้ว องค์กรสมควรได้รับผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง

แต่กระนั้นก็ดี การให้ความสำคัญแค่เพียงปัจจัยทั้งสองข้างต้น ไม่อาจทำให้องค์กร ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดไว้ เนื่องจากสุดท้ายแล้ว ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินโครงการ ICT จักผลักดันให้องค์กรไม่สามารถดำเนินโครงการ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

โครงการด้าน ICT โดยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะในลักษณะของการนำ ICT เข้ามาเสริมสมรรถนะการทำงาน หรือเข้ามาทดแทนระบบการทำงานเดิม มักส่งผลให้ลักษณะหรือรูปแบบการทำงาน ของระบบเดิมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีผลกระทบโดยตรง กับการปรับตัวของพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระบบดังกล่าว ที่จะต้องกลายมาเป็นผู้ใช้งานระบบที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ซึ่ง ICT เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

นี่เองที่ถือได้ว่า เป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในองค์กรรูปแบบหนึ่ง ที่องค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องมีมาตรการรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อทำให้ผู้ใช้งานระบบทุกคน มีความสามารถ และความพร้อมทำงานกับระบบใหม่นี้ พร้อมกับให้การยอมรับและให้การสนับสนุน การดำเนินโครงการด้าน ICT เพื่อลดจำนวนปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นของการเปลี่ยนถ่ายระบบ ให้มีน้อยที่สุด และเพื่อทำให้ระบบใหม่นี้ได้รับการยอมรับ และถูกใช้งานในระยะยาว

ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงทางสัมคมภายในองค์กร อีกหนึ่งตัวอย่างที่ข้าพเจ้าขอพูดถึงในที่นี้ คือ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอำนาจภายในองค์กร เนื่องจากความสามารถในการทำงานของ ICT สามารถลดบทบาทความสำคัญ หรือสามารถเข้ามาทดแทนการทำงาน ของกลุ่มพนักงานบางกลุ่ม ทำให้กลุ่มดังกล่าว สูญเสียอำนาจต่อรองในการทำงาน และอาจนำมาซึ่งการต่อต้านการดำเนินโครงการได้

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงจากสองแง่มุมข้างต้น สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร อันมีมนุษย์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งยากต่อการคาดเดาและควบคุมความคิดและการตอบสนอง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการด้าน ICT ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ ซึ่งอยู่นอกเหนือจาก ตัวแปรทางเทคนิคและข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจักต้องตระหนักและให้ความสำคัญ

ข้าพเจ้าขอสรุปส่งท้ายว่า
ไม่ว่าโครงการด้าน ICT ที่ซึ่งองค์กรต่างๆคิดและวางแผนนำมาใช้งาน จะสมบูรณ์แบบหรือทรงพลังเพียงใด และไม่ว่าโครงการด้าน ICT ดังกล่าวจะถูกตั้งเป้าประสิทธิภาพการทำงานหรือถูกคาดหวังผลสัมฤทธิ์ที่สูงเพียงใด สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับมนุษย์ ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำงานกับระบบ ผู้ได้ประโยชน์จากระบบ ผู้สูญเสียประโยชน์จากระบบ ผู้บริหารโครงการ และผู้บริหารองค์กร ที่เล่นเป็นตัวเอก ที่จะนำพาโครงการด้าน ICT ต่างๆ ให้สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการได้

ดังนั้นการให้ความสำคัญหรือการตระหนักถึง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร อันเป็นผลจากการดำเนินโครงการด้าน ICT ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับ ตัวแปรทางเทคนิคและข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร ตั้งแต่เริ่มต้นและตลอดการดำเนินโครงการ ย่อมทำให้ผู้บริหารองค์กรและผู้บริหารโครงการ มองเห็นปัญหาและอุปสรรคอย่างรอบด้าน ซึ่งจักส่งผลให้การดำเนินโครงการด้าน ICT มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเพิ่มความเป็นไปได้ที่องค์กรจักได้รับผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังไว้ ในท้ายที่สุด

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…