Skip to main content
 

หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน"

บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้

เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในหลายเรื่อง มีอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การขยายตัวของสังคมในแนวขนาน และความแตกต่างทางสังคม จากบทความ
"การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน" และจากบทความ "การอยู่กับความหลากหลาย" รวมถึงจากบทความ "ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม"
หรือเรื่อง ผลกระทบทางสังคมที่ย้อนแย้ง จากบทความ
"ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบทางสังคมที่ย้อนแย้ง"
หรือเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานทางสังคม จากบทความ
"มาตรฐานใหม่...โดย เครือข่ายสังคมบริหารตัวเอง (Self-Organizing Community)"
หรือเรื่อง การเปลี่ยนไปของรูปแบบตลาดแรงงาน จากบทความ
"ICT กับแนวโน้มความนิยมการ Outsourcing ขององค์กร และการเปลี่ยนไปของตลาดแรงงาน"
หรือจะเป็นเรื่อง ความเสี่ยงในการดำรงชีวิต ในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร จากบทความ
"การโลกาภิวัฒน์ ปฏิญญากรุงเทพ เว็บเครือข่ายสังคม และภัยคุกคามทางเทคโนโลยี" และจากบทความ "Identity thief...เมื่อความเป็นฉันไม่ใช่ตัวฉัน" รวมถึงจากบทความ "ชีวิตเสี้ยววินาที"

กลไกทางสังคม ที่สามารถช่วยให้ประชาชน รับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้นั้น ข้าพเจ้าขอแบ่งออกเป็น
3 ระดับใหญ่ๆดังต่อไปนี้

ระดับแรกที่สำคัญมากกับประชาชนในวงกว้าง คือระดับบริหารประเทศ

ระบบรัฐบาล รัฐสภา และตุลาการ ซึ่งทำหน้าที่สำคัญ ในการร่วมกันบริหารและขับเคลื่อน กลไกการทำงานต่างๆของประเทศ จะต้องตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ และให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนากลไกทางสังคม ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อย่างเท่าทัน

โดยกลไกทางสังคมในระดับประเทศ ที่สำคัญ คือกลไกซึ่งสามารถช่วยเหลือประชาชน ให้มีความรู้และปรับตัวอย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ พร้อมกับกลไกซึ่งสามารถคุ้มครองประชาชน ไม่ให้ถูกทำร้าย ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ และให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จากการไม่สามารถปรับตัว รับความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ ได้อย่างเท่าทัน

หนึ่งกลไกที่มีความสำคัญได้แก่ กลไกทางระบบการศึกษา ที่ยกระดับประชาชน ให้มีความรู้ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยอย่างถ้วนหน้า เนื่องจากความรู้ที่ทันยุคสมัยนั้น เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงต่างๆรอบตัว และสามารถใช้ชีวิตของตนได้อย่างเท่าทัน

เนื่องจาก ภาคประชาชน คือพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ หากประชาชนสามารถใช้ชีวิต ได้อย่างรู้เท่าทันยุคสมัย แน่นอนว่า ต้องส่งผลให้ประเทศของเรา สามารถพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้า ได้อย่างรวดเร็ว

อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสังคมและความเสียหายทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการไร้ความสามารถของประชาชน ในการดำรงชีวิตอย่างรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ

ระบบการศึกษาอันทันสมัย ที่เน้นประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตได้จริง และเข้าถึงประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมเท่านั้น ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนวัคซีนที่เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ให้รู้จักป้องกันตนเองในเบื้องต้นอย่างเท่าทัน ก่อนที่จะรู้จักและใช้ประโยชน์ จากกลไกอื่นๆที่มีไว้เพื่อช่วยเหลือเค้าเหล่านั้นต่อไป

การมีกลไกทางกฎหมาย ที่มุ่งคุ้มครองภาคประชาชน มากกว่าภาครัฐหรือภาคธุรกิจ ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกที่มีความสำคัญต่อการดำเนินการในครั้งนี้ เนื่องจากโดยปกติแล้ว ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ มีความสามารถในการคุ้มครองตนเอง ได้มากกว่าภาคประชาชน เพราะในความเป็นจริงนั้น ภาคประชาชนมักขาดซึ่งความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับกลไกทางกฎหมาย จึงถูกเอารัดเอาเปรียบ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

กลไกทางกฎหมาย ไม่ใช่เพียงการออกและมีกฎหมาย ที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์นี้เท่านั้น หากแต่รวมถึง การมีกลไกอื่นๆที่สอดคล้อง เพื่อทำให้การบังคับใช้กฎหมาย เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียม และยังรวมถึงการทำให้ประชาชนรับรู้ เข้าถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากกลไกทางกฎหมายต่างๆที่มีอยู่ ได้อย่างง่ายดาย

และนั่นหมายถึง ระบบรัฐบาล รัฐสภา และตุลาการ จำเป็นต้องมีความมุ่งมั่น ทำให้กลไกทางกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประชาชน มีความศักดิ์สิทธิ์ และสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศ ได้อย่างแท้จริง

นอกเหนือจากสองกลไกข้างต้น กลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากความสำเร็จของการดำเนินนโยบาย และการใช้ประโยชน์จากกลไกต่างๆที่มีอยู่ เกิดจากการผสมผสานที่ลงตัว ของ
2 ส่วนผสมด้วยกัน

ส่วนผสมแรก คือ ความพร้อมของนโยบายและกลไกทางสังคม อันจำเป็นและสอดคล้องกับยุคสมัย ซึ่งการมีวิสัยทัศน์อันยาวไกล และการมีความมุ่งมั่นช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชน ของรัฐบาล รัฐสภาพ และตุลาการ เท่านั้นที่จะทำให้ส่วนผสมนี้เกิดขึ้น

อีกส่วนผสมหนึ่งคือ การทำให้นโยบายและกลไกทางสังคมต่างๆนั้น ประยุกต์ใช้กับประชาชนทุกภาคส่วนได้จริง ซึ่งเสียงสะท้อนจากภาคประชาชน ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนเท่านั้น ที่จะช่วยทำให้นโยบายและกลไกต่างๆ สามารถถูกปรับปรุงและปรับใช้ ได้อย่างสอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชนต้องเผชิญหน้า อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

กลไกทางสังคมที่มีความสำคัญ ในระดับถัดมา คือระดับบริหารท้องถิ่น

อันที่จริงแล้ว ความสำคัญของการบริหารงานในระดับท้องถิ่น ที่มีต่อภาคประชาชนและต่อประเทศโดยรวม มีความสำคัญสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หากแต่ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ประเทศของเรายังไม่สามารถทำให้ กลไกทางสังคมต่างๆในระดับท้องถิ่น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ในท้องถิ่นนั้นๆ รวมถึงยังไม่ให้ความสำคัญกับมันเท่าที่ควร

กลไกต่างๆ ที่สนับสนุนการบริหารงานในระดับท้องถิ่น คือกลไกสำคัญ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง ความคิด มุมมอง และวิสัยทัศน์ของผู้ปฏิบัติงานในระดับบริหารประเทศ กับทัศนะคติ ความเห็น และความต้องการของภาคประชาชน ในแต่ละท้องถิ่น เป็นกลไกที่ช่วยทำให้นโยบายและกลไก ที่ถูกออกแบบและพัฒนามาอย่างกว้างๆ สามารถทำหน้าที่ได้ตรงกับปัญหา ในบริบทที่แตกต่างกันไปของแต่ละท้องถิ่น

นั่นหมายความว่า กลไกสังคมในระดับท้องถิ่น หากทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพแล้ว จักต้องเป็นเสมือนช่องทางสื่อสารที่โปร่งแสงและโปร่งใส ระหว่างประชาชนกับกลไกทางสังคมในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นเสมือนฟันเฟืองกลางที่คอยขับเคลื่อนฟันเฟืองอื่นๆ เพื่อทำให้กลไกทั้งระบบนี้ ทำงานเป็นปกติ

การผลักดันให้กลไกทางสังคมในระดับท้องถิ่น สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ นอกจากเพื่อประโยชน์ข้างต้นแล้ว ยังช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นต่างๆ สามารถต่อสู่เพื่อตนเอง และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

กลไกสังคมในระดับสุดท้าย ที่มีความสำคัญไม่แพ้กับสองระดับแรก คือระดับครอบครัว

การช่วยให้ทุกชีวิตในครอบครัว สามารถใช้ชีวิตอย่างเท่าทัน ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ ได้นั้น แต่ละครอบครัวจักต้องมีพื้นฐานอยู่บนความรักความเข้าใจ ผู้นำของแต่ละครอบครัว ต้องหมั่นติดตามข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสมาชิกครอบครัว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัว

อีกทั้งสมาชิกทุกคน จำเป็นต้องมีจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับความจริงที่ว่า โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัว มีสังคม มุมมองชีวิต แนวความคิด และโลกที่แตกต่างกันไป การรับฟังกันและกันให้มากขึ้น การให้เวลาแก่กันมากขึ้น และการให้ความรักและความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้นเท่านั้น ที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้แต่ละสมาชิกในครอบครัว มีความเข้าอกเข้าใจกัน ทำให้เกิดความอบอุ่นและความสุขขึ้นในครอบครัว และทำให้ครอบครัวมีความเข้มแข้ง เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้อย่างเท่าทัน

นอกจากการที่สมาชิกในครอบครัว ให้ความสำคัญในการสร้างครอบครัวของตน ให้เข้มแข็ง อบอุ่น และมีความสุขแล้ว ทุกครอบครัวจักต้องไม่ลืมให้ความสำคัญกับอีกหนึ่งสิ่ง นั่นคือ การทำให้ท้องถิ่นและประเทศ มีความเข้มแข็ง อบอุ่น และมีความสุข ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่า
"การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน" ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่ทำอยู่ในครอบครัว หากแต่เปลี่ยนระดับสังคม ของการมีส่วนร่วมนั่นเอง

การทำให้ระบบกลไกทางสังคมต่างๆข้างต้น สามารถทำงานได้อย่างที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีความบิดเบือนทางความคิดในระดับนโยบายและแผน และมีความบิดเบี้ยวของระบบและกลไกต่างๆในระดับปฏิบัติ อาจเป็นเป้าหมายที่ต้องการการเดินทางอีกไกล แต่อย่างไรก็ดีในทัศนของข้าพเจ้า เรามีความจำเป็นที่ต้องเริ่มต้นเดินตามทางไกลนี้ ไม่ช้าก็เร็ว

น่าจะดีถ้าเราเริ่มกันตั้งแต่วันนี้

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…