Skip to main content
 

หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน"

บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้

เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในหลายเรื่อง มีอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การขยายตัวของสังคมในแนวขนาน และความแตกต่างทางสังคม จากบทความ
"การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน" และจากบทความ "การอยู่กับความหลากหลาย" รวมถึงจากบทความ "ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม"
หรือเรื่อง ผลกระทบทางสังคมที่ย้อนแย้ง จากบทความ
"ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบทางสังคมที่ย้อนแย้ง"
หรือเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานทางสังคม จากบทความ
"มาตรฐานใหม่...โดย เครือข่ายสังคมบริหารตัวเอง (Self-Organizing Community)"
หรือเรื่อง การเปลี่ยนไปของรูปแบบตลาดแรงงาน จากบทความ
"ICT กับแนวโน้มความนิยมการ Outsourcing ขององค์กร และการเปลี่ยนไปของตลาดแรงงาน"
หรือจะเป็นเรื่อง ความเสี่ยงในการดำรงชีวิต ในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร จากบทความ
"การโลกาภิวัฒน์ ปฏิญญากรุงเทพ เว็บเครือข่ายสังคม และภัยคุกคามทางเทคโนโลยี" และจากบทความ "Identity thief...เมื่อความเป็นฉันไม่ใช่ตัวฉัน" รวมถึงจากบทความ "ชีวิตเสี้ยววินาที"

กลไกทางสังคม ที่สามารถช่วยให้ประชาชน รับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้นั้น ข้าพเจ้าขอแบ่งออกเป็น
3 ระดับใหญ่ๆดังต่อไปนี้

ระดับแรกที่สำคัญมากกับประชาชนในวงกว้าง คือระดับบริหารประเทศ

ระบบรัฐบาล รัฐสภา และตุลาการ ซึ่งทำหน้าที่สำคัญ ในการร่วมกันบริหารและขับเคลื่อน กลไกการทำงานต่างๆของประเทศ จะต้องตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ และให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนากลไกทางสังคม ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อย่างเท่าทัน

โดยกลไกทางสังคมในระดับประเทศ ที่สำคัญ คือกลไกซึ่งสามารถช่วยเหลือประชาชน ให้มีความรู้และปรับตัวอย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ พร้อมกับกลไกซึ่งสามารถคุ้มครองประชาชน ไม่ให้ถูกทำร้าย ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ และให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จากการไม่สามารถปรับตัว รับความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ ได้อย่างเท่าทัน

หนึ่งกลไกที่มีความสำคัญได้แก่ กลไกทางระบบการศึกษา ที่ยกระดับประชาชน ให้มีความรู้ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยอย่างถ้วนหน้า เนื่องจากความรู้ที่ทันยุคสมัยนั้น เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงต่างๆรอบตัว และสามารถใช้ชีวิตของตนได้อย่างเท่าทัน

เนื่องจาก ภาคประชาชน คือพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ หากประชาชนสามารถใช้ชีวิต ได้อย่างรู้เท่าทันยุคสมัย แน่นอนว่า ต้องส่งผลให้ประเทศของเรา สามารถพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้า ได้อย่างรวดเร็ว

อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสังคมและความเสียหายทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการไร้ความสามารถของประชาชน ในการดำรงชีวิตอย่างรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ

ระบบการศึกษาอันทันสมัย ที่เน้นประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตได้จริง และเข้าถึงประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมเท่านั้น ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนวัคซีนที่เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ให้รู้จักป้องกันตนเองในเบื้องต้นอย่างเท่าทัน ก่อนที่จะรู้จักและใช้ประโยชน์ จากกลไกอื่นๆที่มีไว้เพื่อช่วยเหลือเค้าเหล่านั้นต่อไป

การมีกลไกทางกฎหมาย ที่มุ่งคุ้มครองภาคประชาชน มากกว่าภาครัฐหรือภาคธุรกิจ ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกที่มีความสำคัญต่อการดำเนินการในครั้งนี้ เนื่องจากโดยปกติแล้ว ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ มีความสามารถในการคุ้มครองตนเอง ได้มากกว่าภาคประชาชน เพราะในความเป็นจริงนั้น ภาคประชาชนมักขาดซึ่งความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับกลไกทางกฎหมาย จึงถูกเอารัดเอาเปรียบ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

กลไกทางกฎหมาย ไม่ใช่เพียงการออกและมีกฎหมาย ที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์นี้เท่านั้น หากแต่รวมถึง การมีกลไกอื่นๆที่สอดคล้อง เพื่อทำให้การบังคับใช้กฎหมาย เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียม และยังรวมถึงการทำให้ประชาชนรับรู้ เข้าถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากกลไกทางกฎหมายต่างๆที่มีอยู่ ได้อย่างง่ายดาย

และนั่นหมายถึง ระบบรัฐบาล รัฐสภา และตุลาการ จำเป็นต้องมีความมุ่งมั่น ทำให้กลไกทางกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประชาชน มีความศักดิ์สิทธิ์ และสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศ ได้อย่างแท้จริง

นอกเหนือจากสองกลไกข้างต้น กลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากความสำเร็จของการดำเนินนโยบาย และการใช้ประโยชน์จากกลไกต่างๆที่มีอยู่ เกิดจากการผสมผสานที่ลงตัว ของ
2 ส่วนผสมด้วยกัน

ส่วนผสมแรก คือ ความพร้อมของนโยบายและกลไกทางสังคม อันจำเป็นและสอดคล้องกับยุคสมัย ซึ่งการมีวิสัยทัศน์อันยาวไกล และการมีความมุ่งมั่นช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชน ของรัฐบาล รัฐสภาพ และตุลาการ เท่านั้นที่จะทำให้ส่วนผสมนี้เกิดขึ้น

อีกส่วนผสมหนึ่งคือ การทำให้นโยบายและกลไกทางสังคมต่างๆนั้น ประยุกต์ใช้กับประชาชนทุกภาคส่วนได้จริง ซึ่งเสียงสะท้อนจากภาคประชาชน ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนเท่านั้น ที่จะช่วยทำให้นโยบายและกลไกต่างๆ สามารถถูกปรับปรุงและปรับใช้ ได้อย่างสอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชนต้องเผชิญหน้า อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

กลไกทางสังคมที่มีความสำคัญ ในระดับถัดมา คือระดับบริหารท้องถิ่น

อันที่จริงแล้ว ความสำคัญของการบริหารงานในระดับท้องถิ่น ที่มีต่อภาคประชาชนและต่อประเทศโดยรวม มีความสำคัญสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หากแต่ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ประเทศของเรายังไม่สามารถทำให้ กลไกทางสังคมต่างๆในระดับท้องถิ่น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ในท้องถิ่นนั้นๆ รวมถึงยังไม่ให้ความสำคัญกับมันเท่าที่ควร

กลไกต่างๆ ที่สนับสนุนการบริหารงานในระดับท้องถิ่น คือกลไกสำคัญ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง ความคิด มุมมอง และวิสัยทัศน์ของผู้ปฏิบัติงานในระดับบริหารประเทศ กับทัศนะคติ ความเห็น และความต้องการของภาคประชาชน ในแต่ละท้องถิ่น เป็นกลไกที่ช่วยทำให้นโยบายและกลไก ที่ถูกออกแบบและพัฒนามาอย่างกว้างๆ สามารถทำหน้าที่ได้ตรงกับปัญหา ในบริบทที่แตกต่างกันไปของแต่ละท้องถิ่น

นั่นหมายความว่า กลไกสังคมในระดับท้องถิ่น หากทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพแล้ว จักต้องเป็นเสมือนช่องทางสื่อสารที่โปร่งแสงและโปร่งใส ระหว่างประชาชนกับกลไกทางสังคมในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นเสมือนฟันเฟืองกลางที่คอยขับเคลื่อนฟันเฟืองอื่นๆ เพื่อทำให้กลไกทั้งระบบนี้ ทำงานเป็นปกติ

การผลักดันให้กลไกทางสังคมในระดับท้องถิ่น สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ นอกจากเพื่อประโยชน์ข้างต้นแล้ว ยังช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นต่างๆ สามารถต่อสู่เพื่อตนเอง และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

กลไกสังคมในระดับสุดท้าย ที่มีความสำคัญไม่แพ้กับสองระดับแรก คือระดับครอบครัว

การช่วยให้ทุกชีวิตในครอบครัว สามารถใช้ชีวิตอย่างเท่าทัน ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ ได้นั้น แต่ละครอบครัวจักต้องมีพื้นฐานอยู่บนความรักความเข้าใจ ผู้นำของแต่ละครอบครัว ต้องหมั่นติดตามข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสมาชิกครอบครัว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัว

อีกทั้งสมาชิกทุกคน จำเป็นต้องมีจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับความจริงที่ว่า โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัว มีสังคม มุมมองชีวิต แนวความคิด และโลกที่แตกต่างกันไป การรับฟังกันและกันให้มากขึ้น การให้เวลาแก่กันมากขึ้น และการให้ความรักและความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้นเท่านั้น ที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้แต่ละสมาชิกในครอบครัว มีความเข้าอกเข้าใจกัน ทำให้เกิดความอบอุ่นและความสุขขึ้นในครอบครัว และทำให้ครอบครัวมีความเข้มแข้ง เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้อย่างเท่าทัน

นอกจากการที่สมาชิกในครอบครัว ให้ความสำคัญในการสร้างครอบครัวของตน ให้เข้มแข็ง อบอุ่น และมีความสุขแล้ว ทุกครอบครัวจักต้องไม่ลืมให้ความสำคัญกับอีกหนึ่งสิ่ง นั่นคือ การทำให้ท้องถิ่นและประเทศ มีความเข้มแข็ง อบอุ่น และมีความสุข ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่า
"การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน" ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่ทำอยู่ในครอบครัว หากแต่เปลี่ยนระดับสังคม ของการมีส่วนร่วมนั่นเอง

การทำให้ระบบกลไกทางสังคมต่างๆข้างต้น สามารถทำงานได้อย่างที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีความบิดเบือนทางความคิดในระดับนโยบายและแผน และมีความบิดเบี้ยวของระบบและกลไกต่างๆในระดับปฏิบัติ อาจเป็นเป้าหมายที่ต้องการการเดินทางอีกไกล แต่อย่างไรก็ดีในทัศนของข้าพเจ้า เรามีความจำเป็นที่ต้องเริ่มต้นเดินตามทางไกลนี้ ไม่ช้าก็เร็ว

น่าจะดีถ้าเราเริ่มกันตั้งแต่วันนี้

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…