Skip to main content

น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้...

........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........

เชื่อว่าประโยคต่างๆ ข้างต้นคงคุ้นหูใครหลายคนอยู่ในเวลานี้ และเชื่อว่าใครอีกหลายคนคงสบถประโยคเหล่านี้กับตัวเอง ทั้งแบบอยู่ในใจ หรือ แบบเสียงดังฟังชัด

วิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ถือว่าหนักหนาสาหัสมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อชีวิตคนไทยทุกคน นอกจากนั้น...อุทกภัยในครั้งนี้ยังสอนให้เราๆท่านๆ ประจักษ์ถึงอีกหนึ่งวิกฤตที่เกิดขึ้นและเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทยเหมือนกัน นั่นคือ “การบริหารจัดการสารสนเทศในช่วงภัยพิบัติอย่างเบาปัญญา”

ตลอดช่วงวิกฤตครั้งนี้...ในขณะที่ประชาชนทุกคนต้องการข้อมูลที่รอบด้านและเชื่อถือได้อย่างมาก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนดูแลชีวิตและทรัพย์สินของสมาชิกในครอบครัว คนที่รัก และของตนเอง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นว่า...ประชาชนในวงกว้างกลับจำเป็นต้องตั้งคำถามถึงความชักช้าและไม่น่าเชื่อถือของข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากภาครัฐ จนทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความสงสัยเคลือบแคลงความสามารถในการแก้ปัญหาของรัฐบาล และนำมาซึ่งความรู้สึกที่ไม่อาจไว้วางใจในแนวทางซึ่งทางรัฐบาลเลือกใช้ในการบริการจัดการวิกฤตในครั้งนี้

และยิ่งถ้าใครได้รู้ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีระบบสารสนเทศภาครัฐที่มีการออกแบบ พัฒนา และใช้งานแบบบูรณาการ (อย่างที่ภาครัฐกล่าวอ้าง) แล้ว ยิ่งต้องตั้งคำถามอย่างหนักว่า ความล้มเหลวในการบริหารจัดการสารสนเทศในยามวิกฤตเช่นนี้เกิดจาก
1) ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศภาครัฐ หรือ 2) เกิดจากการไร้ซึ่งความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในการบริหารสารสนเทศในยามวิกฤต

ทำไมสื่อสารอะไรมาให้กับประชาชนก็ไม่ชัดเจน...ทำไมการวางแผนจัดการและรับมือกับมวลน้ำในระยะต่างๆ จึงดูไร้ซึ่งความเข้าใจในสถานการณ์อย่างแท้จริง และทำไมการดำเนินการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ก็ดูผิดไปหมด

เชื่อได้ว่า...ทั้งหมดทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องและไร้ประสิทธิภาพของทั้งสองส่วนข้างต้นไปพร้อมกัน

เชื่อได้ว่า...หากระบบสารสนเทศภาครัฐมีการบูรณาการอย่างแท้จริง การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการวางแผนจัดการต่างๆ ของรัฐบาลอย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และรอบด้าน ย่อมต้องส่งเสริมให้รัฐบาลสามารถตัดสินใจดำเนินการและไม่ดำเนินการใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้แน่นอน
และเชื่อได้ว่า...หากรัฐบาลมีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดี เกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...ในยุคที่สื่อต่างๆ มีอยู่อย่างหลากหลาย อีกทั้งภาครัฐไม่สามารถควบคุมสื่อต่างๆ ได้อย่างเบ็ดเสร็จ รัฐบาลควรใส่ใจกับการบริหารจัดการสื่อต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ....นั่นคือ การสื่อสารด้วยข้อมูลที่ รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และ ตรงตามความต้องการของผู้รับสื่อแต่ละกลุ่ม

ที่ผ่านมาเชื่อว่า ประชาชนไม่เคยได้รับการสื่อสารที่ชัดเจนจากภาครัฐว่า พื้นที่ใดบ้างจะได้รับผลกระทบ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับผลกระทบอย่างไรและนานขนาดไหน จะเข้าถึงข้อมูลสำคัญเฉพาะแต่ละพื้นที่ เช่น หน่วยงานกู้ภัยในพื้นที่ สถานที่อพยพฉุกเฉิน หรือแม้แต่ข้อมูลน้ำท่วมในพื้นที่ของตนได้อย่างไร

ทั้งยังไม่อาจรับรู้ได้ถึงการให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับกลุ่มต่างๆ ในช่วงวิกฤต ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น กลุ่มผู้ยังไม่ประสบภัย กลุ่มที่กำลังประสบภัย และกลุ่มผู้ประสบภัยแล้ว ว่าแต่ละกลุ่มต้องการข้อมูลอะไรและเมื่อใด

ซ้ำยังไม่มีการจัดให้มีสถานีวิทยุเฉพาะกิจเพื่อสื่อสารข้อมูลสำคัญต่างๆเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ ให้กับประชาชนในวงกว้าง ทั้งที่สื่อวิทยุเป็นเพียงสื่อเดียวเท่านั้นในขณะนี้ ที่ประชนชนในทุกพื้นที่ของประเทศสามารถเข้าถึงได้

จนทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ...ผู้คนในวงกว้างที่รู้จักและเข้าถึงสื่อใหม่หรือสื่อสังคม
(New/Social Media) รวมถึงสื่อทางเลือกจากภาคเอกชน...หันไปพึ่งสื่อต่างๆเหล่านี้ แทนที่จะใส่ใจและให้ความสำคัญกับสื่อจากภาครัฐ

หากภาครัฐตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ (ซึ่งข้าพเจ้าขอให้เกิดขึ้นเถิด)...นี่จะเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ...และนำไปสู่การตั้งคำถามสำคัญที่ว่า

“ทำไมกลไกในการสื่อสารกับประชาชนและภาคส่วนต่างๆ
ในระหว่างภัยพิบัติของภาครัฐจึงล้มเหลว”

และ

“ทำไมรัฐบาลจึงบริหารจัดการวิกฤตในครั้งนี้อย่างไร้ประสิทธิภาพ”
เชื่อว่า...ภัยพิบัติในครั้งนี้ คงทำให้ทั้งภาครัฐและประชาชน ได้ตระหนักและเรียนรู้อย่างมากมาย เกี่ยวกับความสำคัญของการบริการจัดการระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต ว่ามีส่วนสำคัญอย่างไรในการบริหารจัดการบ้านเมือง...ขอให้อย่าเหมือนในอดีตอีกเลย ที่เราไม่เคยเรียนรู้จากความผิดพลาด และไม่เคยนำข้อบกพร่องต่างๆมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงพัฒนากลไกต่างๆของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
ภายหลังจากวิกฤตในครั้งนี้ ข้าพเจ้าจะขอเป็นหนึ่งแรง ที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนากรอบการบริหารจัดการสารสนเทศในระหว่างภัยพิบัติ และการพัฒนาให้ระบบสารสนเทศภาครัฐมีการทำงานแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยของเราไม่ต้องเป็นเหยื่อความโง่เขลาในการบริหารต่อไปในอนาคต
แต่หากในอนาคตประเทศเราต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติใดๆแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้...และถึงแม้เราจะมีระบบสารสนเทศต่างๆที่มีประสิทธิภาพแล้ว...ทุกคนคงต้องภาวนาให้ประเทศไทยอย่ามีรัฐบาลที่ไร้ความเข้าใจในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศและเบาปัญญาในการแก้ไขวิกฤต...อีกเลย
...เป็นกำลังใจให้กับคนไทยทุกคน ฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน...


 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…