Skip to main content
 

ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกัน

ซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกัน

นานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย ยิ่งใครก็ไม่รู้ ปล่อยข่าวว่า จะมีนักข่าวเคเบิลทีวีตามมาด้วย ชาวบ้านเลยต้องขยันเก็บกวาดกันผิดปกติ

วัว ควาย เป็ด ไก่ หมู หมา แมว กระสอบ จอบ เสียม รถเข็น เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ ถูกเก็บ ถูกจัด ถูกวางแบบที่ไม่เคยเป็นระเบียบอย่างนี้มาก่อนในรอบสิบปี พวกหนุ่มๆ ถูกเกณฑ์มาทำความสะอาดอนามัย อบต. ศูนย์เด็กเล็ก ชมรมผู้สูงอายุ ถนนหนทางของหมู่บ้าน ทั้งเก็บขยะ ดายหญ้า กวาดถนน

และหมายกำหนดการในวันศุกร์ของท่านผู้ว่าฯ ที่จะมาตรวจเยี่ยมชาวบ้านนั้น ก็คือ 
           

14.00 น. ผู้ว่าฯ และคณะ เดินทางมาถึงที่ทำการ อบต. ซึ่งจะมีนายอำเภอ ปลัด กำนัน และ นายกฯ อบต. รอต้อนรับอยู่
14.15 น. นายอำเภอ กล่าวรายงานข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ พร้อมกับแนะนำหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ
15.00 น. กำนัน กล่าวรายงานข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน พร้อมกับแนะนำผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาต่างๆ ของตำบล
15.30 น. ผู้ว่าฯ รับฟังปัญหา และพูดคุยกับชาวบ้าน
16.30 น. ผู้ว่าฯ ออกเดินตรวจเยี่ยมตามบ้าน
17.00 น. ผู้ว่าฯ เดินทางกลับ

แต่ปรากฎว่า ตอนเช้าวันนั้นเอง คณะของผู้ว่าก็แจ้งมาว่า ผู้ว่าฯ ติดภารกิจด่วน หมายกำหนดการทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเหลือแค่หนึ่งในสาม นั่นคือ ผู้ว่าฯ มาถึง ก็รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน ออกเดินตรวจเยี่ยมชาวบ้าน แล้วก็เดินทางกลับ

พอกำนันรู้ ก็ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ไม่รู้ว่าโล่งอก หรือ เซ็งจัดกันแน่ เพราะอุตส่าห์ทำความสะอาดกันยกตำบลเสียเรี่ยมเชี่ยม
"...ก็ดีเหมือนกัน..." ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งพูดลอยๆ แบบไม่มีเหตุผลต่อท้าย

พอได้เวลาสี่โมงเย็น(เลื่อนจากเดิมลงมาอีกสองชั่วโมง) คณะของผู้ว่าฯ ก็เดินทางมาถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล มี นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ นายกฯ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน หลายสิบคน ไปร่วมต้อนรับ

เมื่อผู้ว่าฯ มาถึง ทุกคนก็ได้ทราบว่า กำหนดการจะเปลี่ยนไปอีก เพราะผู้ว่าฯ ไม่มีเวลาเดินตรวจเยี่ยมชาวบ้านแล้ว จึงจะเปลี่ยนไปเยี่ยมหน่วยงานในตำบลแทน

"...จะเอาที่ไหนล่ะ ไม่ได้จัดไม่ได้เตรียมอะไรไว้เลย..." นายกฯ อบต. กระซิบเสียงเครียดกับผู้ใหญ่บ้าน 4-5 คน ขณะที่กำนันกำลังกล่าวรายงานแนะนำหมู่บ้าน
"...กำหนดการก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา...เฮ้อ..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สามบ่นพลางส่ายหัว
"...จะให้ไปเยี่ยมหน่วยงานไหนล่ะ? โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก เด็กๆ มันก็กลับบ้านกันไปหมดแล้ว อนามัยก็มีเจ้าหน้าที่อยู่แค่สองคน กลุ่มแม่บ้าน ป่านนี้ก็ยังไม่กลับจากไร่จากนากันหรอก..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สี่ ชี้แจงอย่างจนใจ

ยืนเครียดกันอยู่สักพัก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ห้าก็เสนอขึ้นมาว่า
"...เอางี้สิ...ให้ผู้ว่าแกไปเยี่ยมชมรมผู้สูงอายุดีกว่า เดี๋ยวฉันไปเปิดที่ทำการไว้ให้ แล้วก็ช่วยกันเกณฑ์ไปสักสิบยี่สิบคน แค่ที่ยืนๆ อยู่นี่ก็คงพอ..."
พอได้ยินดังนั้น คนอื่นก็พยักหน้าเห็นด้วยทันที

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ห้าหัวไวจริงๆ เพราะ หนึ่ง ที่ทำการชมรมผู้สูงอายุ ก็อยู่ติดกับ ที่ทำการ อบต.นั่นเอง และ สอง ชาวบ้านที่เกณฑ์กันมาต้อนรับผู้ว่าฯ กว่าครึ่ง ก็เป็นคนแก่ คนเฒ่า สมาชิกชมรมทั้งนั้น ดังนั้น ทุกคนจึงช่วยกันจัดการทันที
"...ปลูกผักชีกันอีกแล้ว..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สามบ่นขำๆ
"...เอาเหอะ เขาอยากกิน ก็จัดให้เขาหน่อย..." นายกฯ อบต. พูดยิ้มๆ

พอเสร็จสิ้นการรายงาน(อย่างรวบรัด) คณะของผู้ว่าฯ ก็เดินตรงไปที่ชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวอยู่ไม่ไกลจาก อบต. ผู้เฒ่าผู้แก่สมาชิกชมรม มานั่งรอกันอยู่พร้อมหน้ากว่ายี่สิบคน ซึ่งอันที่จริง ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มเดียวกับที่ไปยืนต้อนรับผู้ว่าฯ นั่นเอง กระนั้น ก็ดูเหมือนผู้ว่าฯ จะไม่ได้สังเกตุ หรือไม่ก็เต็มใจที่จะมองข้าม ท่านผู้ว่าฯ จึงเข้าไปทักทายพูดคุยด้วยอย่างสนิทสนม

"...คุณตาอายุเท่าไรแล้วครับเนี่ย ยังดูแข็งแรงอยู่เลย" ท่านผู้ว่าฯ ทักตาชุ้ย ชายชราผิวเข้มร่างใหญ่ แกมีรอยสักทั่วตัว แต่หน้ายิ้ม ดูใจดีตลอดเวลา
"...ปีนี้ก็เจ็ดสิบห้าแล้วล่ะครับ" ตาชุ้ย ตอบยิ้มๆ
"โอ้โห...ยังดูแข็งแรงเหมือนเพิ่งอายุหกสิบเลยนะ" ผู้ว่าฯ หยอก เล่นเอาทุกคนหัวเราะครืน
"เมื่อก่อน คงทำไร่ทำนาเก่งน่าดูสินะ ถึงยังแข็งแรงอยู่อย่างนี้" ผู้ว่าฯ ถาม แต่ตาชุ้ยส่ายหัว
"เปล่าครับ...ผมไม่ได้ทำไร่ทำนาหรอก เมื่อก่อนผมเป็นมือปืน ยิงคนตายติดคุกอยู่ตั้งสิบกว่าปี เพิ่งจะออกมาได้สักเจ็ดแปดปีนี่แหละครับ" ตาชุ้ยตอบซื่อๆ เล่นเอา ท่านผู้ว่าฯ กับคณะเงียบกริบ แต่พวกชาวบ้านแอบปิดปากกลั้นหัวเราะกันแทบแย่

ตาชุ้ย เป็นอดีตมือปืน ตอนหนุ่มๆ โหดเหลือหลาย แต่พอออกจากคุกตอนแก่ ก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน ใจเย็น ยิ้มง่าย ไม่มีเรื่องราวกับใคร เข้าวัดถือศีลแปดทุกวันพระ แถมยังได้รับคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการวัดอีกต่างหาก

ท่านผู้ว่าฯ หัวเราะแหะๆ พยักหน้าเป็นเชิงรับรู้ ก่อนจะหันไปหาคุณยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนั่งเคี้ยวหมากหยับๆ อยู่ข้างๆ
"ยาย...ยังกินหมากอยู่อีกหรือ" ผู้ว่าฯ ทัก ยายไข่หันมายิ้มฟันดำปี๋
"จ้า...เลิกไม่ได้ร้อก...กินมาตั้งกะสาวๆ แล้ว..."
"ยายอายุเท่าไรแล้วจ้ะ" ผู้ติดตามคนหนึ่งของท่านผู้ว่าฯ ถามยาย
"ปีนี้ก็...แปดสิบเก้าแล้วล่ะ" ยายไข่ตอบทันที แกตอบคำถามนี้บ่อยเสียจนจำอายุตัวเองได้แม่น
พอยายไข่บอกอายุตัวเอง ก็เรียกเสียงฮือฮาจากคณะผู้ติดตามทันที
"โอ้โห...ยายจะเก้าสิบอยู่แล้ว ยังแข็งแรงอยู่เลย นี่เดินมาจากบ้านเองหรือเปล่า" ผู้ว่าฯ ถาม ยายไข่ใช้มือปาดน้ำหมากจากปาก พยักหน้าหงึกๆ
"บ้านก็อยู่เคียงๆ (ใกล้ๆ)นี่แหละ...เดินมาเองได้"
ผู้ว่าฯ นั่งลงข้างๆ ตั้งท่าจะคุยเป็นงานเป็นการ
"ยายมีเคล็ดลับอะไรถึงได้อายุยืนขนาดนี้ พอจะบอกผมบ้างได้มั้ยล่ะ เผื่อผมจะได้เอาไปเผยแพร่ให้ประชาชนคนอื่นเขารู้บ้าง"

คณะผู้ติดตามกระซิบกระซาบกัน คนหนึ่งหยิบกระดาษปากกาออกมาจด อีกคนบอกให้ กล้องโทรทัศน์จากเคเบิลทีวีเข้าไปเก็บภาพใกล้ๆ
แต่ยายไข่ ไม่ตอบคำถามผู้ว่าฯ แกเบะปาก ถอนหายใจเฮือกใหญ่ แล้วก็พูดว่า
"พวกเอ็ง...อย่าอยู่นานอย่างข้าเล้ย มันลำบาก...ทุกวันนี้ ข้าก็รอว่าเมื่อไรจะตายจะได้เลิกลำบากซะที"

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…