Skip to main content
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย


เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก

เพื่อทำให้ความรู้หรือผลงานวิจัยใหม่ๆ ได้รับการยอมรับ สังคมข้างต้นนี้ เลือกใช้ขั้นตอนหรือกลไกที่เรียกว่า Peer Review หรือการเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และปล่อยให้ผลงานนั้นถูกตัดสิน จากการถูกยอมรับจากสมาชิกในสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนการถูกอ้างอิง หรือการถูกนำไปใช้ต่อยอด สร้างผลงานอื่นๆต่อไป โดยสมาชิกในสังคมนั้น

ตรรกะที่ใช้ในกลไก Peer Review ถือเป็นแนวทาง ที่มีความตั้งใจสร้างสังคม ที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม ในการตัดสินว่า สิ่งใหม่ (ในกรณีนี้คือ ผลงานวิจัยใหม่ หรือความรู้ใหม่) ที่ถูกแนะนำสู่สังคม ดีหรือไม่ดีอย่างไร มีคุณค่าต่อสังคมมากหรือน้อยเพียงใด และดีพอที่จะกลายเป็นมาตรฐานในสังคมได้หรือไม่

อย่างไรก็ดี ในทัศนะของข้าพเจ้า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้กลไก Peer Review ประสบความสำเร็จ ในสังคมข้างต้น คือ การที่สังคมดังกล่าว มีสมาชิกเป็นกลุ่มคนมีระดับการศึกษาใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังสูงกว่ามาตรฐานการศึกษาในสังคมทั่วไป คือสูงกว่าระดับการศึกษา ที่ประชาชนโดยทั่วไปมี

สาเหตุสำคัญเนื่องจาก การใช้กลไก Peer Review เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกในสังคม ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจองค์ความรู้อย่างเท่าเทียม เพื่อนำมาสู่การแสดงทัศนะและการวิจารณ์ด้วยเหตุและผล ผ่านการมีช่องทางให้ทุกความคิดได้ถูกตีแผ่ อย่างเท่าเทียมและมีมาตรฐาน ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่า กิจกรรมทั้งหมดนี้ จะสามารถสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีเลิศได้ ต้องการสังคมซึ่งมีสมาชิกที่มีความรู้ที่เท่าเทียมกัน และในระดับสูง

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ต่อการประยุกต์ใช้กลไก Peer Review เพื่อการสร้างสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ Peer Review ต้องการการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม นั่นคือการที่สมาชิกทุกคน มุ่งสร้างสังคมให้มีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการมีส่วนร่วมของตน ในลักษณะของการสร้างผลงาน ที่คำถึงถึงคุณธรรม และจริยธรรมเป็นสำคัญ โดยคุณธรรมและจริยธรรมนี้เอง เป็นเหมือนเครื่องบ่งชี้สถานภาพการเป็นสมาชิก ว่าใครจะได้รับการยอมรับให้อยู่ในสังคมข้างต้นได้

หากมองอีกแง่หนึ่ง กลไก Peer Review ก็คือกลไกการสร้างกระแส และทำให้กระแสนั้นกลายเป็นมาตรฐานสังคม หากขาดซึ่งคุณธรรม จริยธรรม และความเท่าเทียมกัน ของสมาชิกในสังคมแล้ว ก็เป็นการยากที่จะทำให้ การประยุกต์ใช้กลไกดังกล่าวเพื่อสร้างสังคม มีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

สาเหตุประการสำคัญที่ข้าพเจ้า นำกลไก Peer Review มากล่าวถึงในวันนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง กับระบบอินเตอร์เนตนั้น หลั่งไหลออกมาให้เราๆท่านๆ ได้ใช้กันอย่างไม่ขาดสาย และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ มีความแตกต่างกันไปในแง่ของรายละเอียด รูปแบบ และประโยชน์ของการใช้งาน หากแต่เทคโนโลยีเหล่านี้ มีลักษณะร่วมอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มันกำลังมุ่งใช้ประโยชน์จาก ทฤษฎีประโยชน์จากการเข้าร่วมเครือข่าย และกลไก Peer Review (ข้าพเจ้าขออนุญาตยก ทฤษฎีประโยชน์จากการเข้าร่วมเครือข่าย ไปพูดถึงในบทความถัดๆไป)

ตัวอย่างเทคโนโลยี ที่ใช้ประโยชน์จากกลไก Peer Review ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือเทคโนโลยี Wikipedia ซึ่งเป็นระบบที่มีความสามารถ ทำให้ประชากรโลก ร่วมสร้างเนื้อหาข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ โดยกลไก Peer Review ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อทำให้เนื้อหาในเว็บ Wikipedia ถูกผลิต ปรับปรุง แก้ไข และได้รับการยอมรับจากประชากรโลกในวงกว้าง จนกลายเป็นมาตรฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆ

เทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งใช้ประโยชน์จากกลไก Peer Review แต่การประยุกต์ใช้อาจไม่สามารถถูกมองเห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ เทคโนโลยี Web2.0 ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน ติดต่อสื่อสารถึงกัน เพื่อร่วมวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมสร้างกระแสในเรื่องต่างๆ

การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review ของเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบัน เมื่อมองจากมุมของประโยชน์ที่ได้รับ นั่นคือ การอนุญาติให้ประชาชน สามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเค้าเหล่านั้น มีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานสังคม

อย่างไรก็ดี เมื่อตระหนักถึงสัจธรรมที่ว่า ทุกสิ่งในโลกนี้ ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเราต้องการประโยชน์จากข้อดีของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เราควรที่จะตระหนักถึงข้อเสียของสิ่งนั้น เพื่อรับมือและลดทอนผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น

ดังนั้นเพื่อให้การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review ได้รับผลสัมฤทธิ์ตามที่มุ่งหวัง นั่นคือประสบความสำเร็จในการสร้างมาตรฐานสังคมที่ดี ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นความจำเป็นอย่งยิ่ง ที่สังคมหนึ่งๆ จักต้องมีปัจจัยสำคัญ ที่ข้าพเจ้าได้ให้ความเห็นไว้ในตอนต้น อย่างพร้อมเพรียง

เนื่องจาก หากขาดไปซึ่งปัจจัยสำคัญข้างต้นแล้ว การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review จะทำให้เกิดข้อเสีย ซึ่งในทัศนะของข้าพเจ้าคือ ความวุ่นวายในระหว่างกระบวนการพัฒนามาตรฐานสังคม และรวมถึงการได้มาซึ่งมาตรฐานสังคม ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ซึ่งในที่สุดจักทำให้สังคมนั้นๆ เกิดความบิดเบี้ยวไป เนื่องจากเติบโตอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานสังคมที่บิดเบือน

อีกทั้ง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของกลไก Peer Review หากพิจารณาให้ดีแล้ว เราจะพบว่ากลไก Peer Review เป็นกลไกที่ทรงพลัง และเข้ากันได้ดีกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นประเทศที่มีการปกครองในระบอบนี้ จึงควรที่จะนำกลไกนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะนอกจากความทรงพลังของกลไก Peer Review แล้ว ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ต่างๆหยิบยื่นโอกาสให้เรา นำความทรงพลังของกลไกดังกล่าวนี้ มาใช้ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประโยชน์ต่อผู้คนในวงกว้างมากขึ้น

อย่างไรก็ดี กลไก Peer Review มีความคล้ายกับระบอบประชาธิปไตย นั่นคือไม่สามารถประสบความสำเร็จ หรือไม่อาจให้ผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังได้ หากขาดไปซึ่งการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมของประชาชนทุกคน ผู้ซึ่งควรจักต้องมีระดับการศึกษาที่ค่อนข้างเท่าเทียมกัน อีกทั้งประชาชนทั้งหมดนี้ จักต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลทางสังคมอย่างเพียงพอ เพื่อนำมาสู่การแสดงทัศนะและการวิจารณ์ด้วยเหตุและผล ผ่านการมีช่องทางให้ทุกความคิดได้ถูกตีแผ่ อย่างเท่าเทียมและมีมาตรฐาน

ตัวอย่างของผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจากความพยายามใช้กลไก Peer Review รวมทั้งระบอบประชาธิปไตย ที่ขาดไปซึ่งปัจจัยสำคัญข้างต้นนั้น เราทุกคนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ผ่านวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของเราในขณะนี้


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…