Skip to main content
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย


เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก

เพื่อทำให้ความรู้หรือผลงานวิจัยใหม่ๆ ได้รับการยอมรับ สังคมข้างต้นนี้ เลือกใช้ขั้นตอนหรือกลไกที่เรียกว่า Peer Review หรือการเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และปล่อยให้ผลงานนั้นถูกตัดสิน จากการถูกยอมรับจากสมาชิกในสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนการถูกอ้างอิง หรือการถูกนำไปใช้ต่อยอด สร้างผลงานอื่นๆต่อไป โดยสมาชิกในสังคมนั้น

ตรรกะที่ใช้ในกลไก Peer Review ถือเป็นแนวทาง ที่มีความตั้งใจสร้างสังคม ที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม ในการตัดสินว่า สิ่งใหม่ (ในกรณีนี้คือ ผลงานวิจัยใหม่ หรือความรู้ใหม่) ที่ถูกแนะนำสู่สังคม ดีหรือไม่ดีอย่างไร มีคุณค่าต่อสังคมมากหรือน้อยเพียงใด และดีพอที่จะกลายเป็นมาตรฐานในสังคมได้หรือไม่

อย่างไรก็ดี ในทัศนะของข้าพเจ้า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้กลไก Peer Review ประสบความสำเร็จ ในสังคมข้างต้น คือ การที่สังคมดังกล่าว มีสมาชิกเป็นกลุ่มคนมีระดับการศึกษาใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังสูงกว่ามาตรฐานการศึกษาในสังคมทั่วไป คือสูงกว่าระดับการศึกษา ที่ประชาชนโดยทั่วไปมี

สาเหตุสำคัญเนื่องจาก การใช้กลไก Peer Review เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกในสังคม ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจองค์ความรู้อย่างเท่าเทียม เพื่อนำมาสู่การแสดงทัศนะและการวิจารณ์ด้วยเหตุและผล ผ่านการมีช่องทางให้ทุกความคิดได้ถูกตีแผ่ อย่างเท่าเทียมและมีมาตรฐาน ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่า กิจกรรมทั้งหมดนี้ จะสามารถสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีเลิศได้ ต้องการสังคมซึ่งมีสมาชิกที่มีความรู้ที่เท่าเทียมกัน และในระดับสูง

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ต่อการประยุกต์ใช้กลไก Peer Review เพื่อการสร้างสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ Peer Review ต้องการการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม นั่นคือการที่สมาชิกทุกคน มุ่งสร้างสังคมให้มีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการมีส่วนร่วมของตน ในลักษณะของการสร้างผลงาน ที่คำถึงถึงคุณธรรม และจริยธรรมเป็นสำคัญ โดยคุณธรรมและจริยธรรมนี้เอง เป็นเหมือนเครื่องบ่งชี้สถานภาพการเป็นสมาชิก ว่าใครจะได้รับการยอมรับให้อยู่ในสังคมข้างต้นได้

หากมองอีกแง่หนึ่ง กลไก Peer Review ก็คือกลไกการสร้างกระแส และทำให้กระแสนั้นกลายเป็นมาตรฐานสังคม หากขาดซึ่งคุณธรรม จริยธรรม และความเท่าเทียมกัน ของสมาชิกในสังคมแล้ว ก็เป็นการยากที่จะทำให้ การประยุกต์ใช้กลไกดังกล่าวเพื่อสร้างสังคม มีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

สาเหตุประการสำคัญที่ข้าพเจ้า นำกลไก Peer Review มากล่าวถึงในวันนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง กับระบบอินเตอร์เนตนั้น หลั่งไหลออกมาให้เราๆท่านๆ ได้ใช้กันอย่างไม่ขาดสาย และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ มีความแตกต่างกันไปในแง่ของรายละเอียด รูปแบบ และประโยชน์ของการใช้งาน หากแต่เทคโนโลยีเหล่านี้ มีลักษณะร่วมอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มันกำลังมุ่งใช้ประโยชน์จาก ทฤษฎีประโยชน์จากการเข้าร่วมเครือข่าย และกลไก Peer Review (ข้าพเจ้าขออนุญาตยก ทฤษฎีประโยชน์จากการเข้าร่วมเครือข่าย ไปพูดถึงในบทความถัดๆไป)

ตัวอย่างเทคโนโลยี ที่ใช้ประโยชน์จากกลไก Peer Review ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือเทคโนโลยี Wikipedia ซึ่งเป็นระบบที่มีความสามารถ ทำให้ประชากรโลก ร่วมสร้างเนื้อหาข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ โดยกลไก Peer Review ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อทำให้เนื้อหาในเว็บ Wikipedia ถูกผลิต ปรับปรุง แก้ไข และได้รับการยอมรับจากประชากรโลกในวงกว้าง จนกลายเป็นมาตรฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆ

เทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งใช้ประโยชน์จากกลไก Peer Review แต่การประยุกต์ใช้อาจไม่สามารถถูกมองเห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ เทคโนโลยี Web2.0 ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน ติดต่อสื่อสารถึงกัน เพื่อร่วมวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมสร้างกระแสในเรื่องต่างๆ

การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review ของเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบัน เมื่อมองจากมุมของประโยชน์ที่ได้รับ นั่นคือ การอนุญาติให้ประชาชน สามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเค้าเหล่านั้น มีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานสังคม

อย่างไรก็ดี เมื่อตระหนักถึงสัจธรรมที่ว่า ทุกสิ่งในโลกนี้ ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเราต้องการประโยชน์จากข้อดีของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เราควรที่จะตระหนักถึงข้อเสียของสิ่งนั้น เพื่อรับมือและลดทอนผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น

ดังนั้นเพื่อให้การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review ได้รับผลสัมฤทธิ์ตามที่มุ่งหวัง นั่นคือประสบความสำเร็จในการสร้างมาตรฐานสังคมที่ดี ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นความจำเป็นอย่งยิ่ง ที่สังคมหนึ่งๆ จักต้องมีปัจจัยสำคัญ ที่ข้าพเจ้าได้ให้ความเห็นไว้ในตอนต้น อย่างพร้อมเพรียง

เนื่องจาก หากขาดไปซึ่งปัจจัยสำคัญข้างต้นแล้ว การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review จะทำให้เกิดข้อเสีย ซึ่งในทัศนะของข้าพเจ้าคือ ความวุ่นวายในระหว่างกระบวนการพัฒนามาตรฐานสังคม และรวมถึงการได้มาซึ่งมาตรฐานสังคม ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ซึ่งในที่สุดจักทำให้สังคมนั้นๆ เกิดความบิดเบี้ยวไป เนื่องจากเติบโตอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานสังคมที่บิดเบือน

อีกทั้ง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของกลไก Peer Review หากพิจารณาให้ดีแล้ว เราจะพบว่ากลไก Peer Review เป็นกลไกที่ทรงพลัง และเข้ากันได้ดีกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นประเทศที่มีการปกครองในระบอบนี้ จึงควรที่จะนำกลไกนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะนอกจากความทรงพลังของกลไก Peer Review แล้ว ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ต่างๆหยิบยื่นโอกาสให้เรา นำความทรงพลังของกลไกดังกล่าวนี้ มาใช้ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประโยชน์ต่อผู้คนในวงกว้างมากขึ้น

อย่างไรก็ดี กลไก Peer Review มีความคล้ายกับระบอบประชาธิปไตย นั่นคือไม่สามารถประสบความสำเร็จ หรือไม่อาจให้ผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังได้ หากขาดไปซึ่งการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมของประชาชนทุกคน ผู้ซึ่งควรจักต้องมีระดับการศึกษาที่ค่อนข้างเท่าเทียมกัน อีกทั้งประชาชนทั้งหมดนี้ จักต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลทางสังคมอย่างเพียงพอ เพื่อนำมาสู่การแสดงทัศนะและการวิจารณ์ด้วยเหตุและผล ผ่านการมีช่องทางให้ทุกความคิดได้ถูกตีแผ่ อย่างเท่าเทียมและมีมาตรฐาน

ตัวอย่างของผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจากความพยายามใช้กลไก Peer Review รวมทั้งระบอบประชาธิปไตย ที่ขาดไปซึ่งปัจจัยสำคัญข้างต้นนั้น เราทุกคนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ผ่านวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของเราในขณะนี้


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…