Skip to main content

กิตติพันธ์ กันจินะ

ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหน

ที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้น

สำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว ท่านเหล่านั้นคงรับไม่ได้กับที่มาและการดำรงซึ่งอำนาจของคณะรัฐบาลรัฐประหาร เพราะไม่มีทั้งความชอบธรรม และหลักการตามครรลองประชาธิปไตย ทำให้หลายๆ คนไม่ยอมรับ “รัฐธรรมนูญ” ฉบับปัจจุบัน เพราะถือว่าที่มาไม่ถูกต้อง เสมือนเป็นดั่งไข่ของเผด็จการที่มอบไว้กับสังคม (คนกลุ่มนี้ อาจมีทั้งที่รักและไม่รักคุณทักษิณอยู่ด้วย)

ที่ว่ามาแบบนี้ ผมไม่ได้อยู่ในกลุ่ม “สองไม่เอา” นะครับ, คือ ผมไม่รู้ว่า “จะเอาอะไร” มากกว่า หรือ หากพูดให้ตรงๆ ก็คือใครจะทำอะไร จะชุมนุม จะแก้ ไม่แก้ อย่างไร มันก็ไม่ได้ทำให้ผมเดือดร้อนมากมาย

เพราะผมคิดว่า ไม่จำเป็นต้องออกมาชุมนุมคัดค้านหรือสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมไม่จำเป็นต้องแสดงท่าที แถลงการณ์ต่อกลุ่มที่ชุมนุมทั้งหลาย เรื่องเหล่านี้ “ถูกขีดบรรทัด” ว่าเป็นเรื่องของ “ผู้ใหญ่” ไม่ใช่เรื่องของ “เด็ก” เพราะเด็กๆ จะไปรู้อะไรล่ะ

ที่ว่าไม่รู้อะไรก็เพราะ ท่านทั้งหลายที่ออกมาชุมนุม ไม่ฟังหรือไม่ให้พื้นที่กับเสียงที่เห็นต่างเลยแม้แต่นิด ดูตัวอย่างเช่น “ปรากฏการณ์ริบบิ้นขาว” สิครับ ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่คนรุ่นใหม่หลายๆ คนออกมาสนับสนุนให้ไม่ใช่ความรุนแรง (แต่อาจพลาดตรงที่ข้อความนี้ควรไปถึงผู้เล่นในเกมนี้ทุกกลุ่ม ไม่ใช่เน้นมาที่แค่กลุ่มพันธมิตร) แต่ก็ถูกบางกลุ่มใช้ประโยชน์ หรือ วิพากษ์ว่าเป็นการกระทำอ่อนเดียงสาไปนิด

พวกท่านที่วิพากษ์เหล่านั้นคงเป็นปรมาจารย์ในการต่อสู้ทางการเมืองมายาวนาน จนมองว่าการกระทำของคนอื่นนั้นไม่ดี ไม่งาม ขัดหู ขัดตา ซ้ำร้ายไปอีกที่คนกลุ่มเหล่านี้มักจะวิพากษ์คนอื่น แต่ไม่เคย “หยุด” มองตัวเองในฐานะ “ผู้ดู” บ้างเลย (ซึ่งการที่เป็นเพียง “ผู้เล่น” จนติดอยู่ในอารมณ์ก็เป็นการยากยิ่งที่จะถอนตัวออกมา “รู้” และ “ทัน” กับอารมณ์ความคิดจริตที่เกิดขึ้น)

ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายถึงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่หมายถึงทุกๆ กลุ่มที่ออกมาชุมนุมกันนี่แหละครับ กลุ่มเหล่านี้ มีการขับเคลื่อนไปในแนวทางที่ตัวเองมี “ธง” ไว้ ทุกกลุ่มมี “เป้าหมาย” และมุ่งเดินก้าวไปอย่างไม่ละความพยายาม

กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ออกมาทั้งคัดค้านการชุมนุม หรือกลุ่มที่สนับสนุนให้ชุมนุมโดยสันติวิธี รวมถึงกลุ่มที่มีการแถลงดักคอทหารไม่ให้ออกมาปฏิวัติ ทุกๆ กลุ่มล้วนอยากเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคม แต่ผู้ใหญ่กลับมองว่าคนรุ่นใหม่เหล่านี้ เป็นเพียง “ไม้ประดับ” หรือ “เครื่องมือ” ทางการเมืองของคนบางกลุ่ม....นี้ช่างเป็นการดูถูกปัญญากันสักหน่อยนะครับ

ผมว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันกับผม มีปัญญาพอที่จะคิดและอยากให้สังคมการเมืองพัฒนาไปไกลมากกว่านี้ แต่การถูกกีดกันและสงวนพื้นที่ไม่ให้เข้ามายุ่งมากนักนี่แหละ จะเป็นตัวปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สนใจการเมือง

ยิ่งการต่อสู้ของคนสองกลุ่มความคิดและสี่ห้าวาระซ้อนเร้น ยิ่งทำให้เกมการเมืองครั้งนี้ไม่รู้ว่าจะออกมาในแนวไหน จะออกมาเป็นสีอะไร ไม่ขาว ไม่ดำ ไม่เหลือง ไม่แดง ดูเหมือนจะเป็น “สีเทา” คือ ไม่ว่ายังไงก็ไม่ดี หรือ ดีน้อย ไม่มีอะไรสมบูรณ์ไปหมดจดหรอก

และการเมืองในช่วงนี้ ดูแล้ว มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องปากท้อง ความยากจน น้ำมัน และระบบเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้ไม่รู้ว่าจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร (นอกจากพัง!?) และหน้าตาสังคมที่จะออกมาใหม่นี้ จะเป็นการ “รื้อสร้าง” ระบบการเมืองใหม่เลยหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่ต้องร่วมกันติดตาม และตามมาติดๆ ว่าเราอยากให้การเมืองออกมาอย่างไร

อย่างไรเสีย ตอนนี้คนรุ่นใหม่ที่ไม่อยากเข้าไปยุ่งวุ่นวายมากนักกับพื้นที่การต่อสู้ของกลุ่มคนเหล่านั้น พวกเราอาจชวนกันมาคุย มามองดู สังคมและการเมืองในระยะยาวกันดีกว่า ว่าอนาคตเราอยากเห็นแบบไหน การเมืองแบบไหนที่เป็นมิตรต่อคนรุ่นใหม่และสังคม และ ปลดแอกจากการเมืองเดิมๆ ที่วนไปเวียนมาอย่างห้วงนี้

ขอเสริมเรื่องการเมืองในอนาคตสักนิด คือเพื่อนผมคนหนึ่ง เขาเสนอในวงสนทนาว่า การเมืองในอนาคตควรจะมีศูนย์ข้อมูลนักการเมือง เพื่อให้เรามีสิทธิในการฟ้องร้องได้ เขาบอกว่านักการเมืองตอนนี้เหมือนผลไม้กองรวมกัน มีทั้งดีและไม่ดีรวมกันอยู่ แต่เราแยกกันไม่ออกว่าดียังไง เราไม่รู้ว่าท่อนกลางๆ ดียังไงบางคนมองภาพรวมว่าคุณค่าของตลาดการเมืองลดน้อยลง ทำยังไงให้ภาพนักการเมืองดูชัดเจน เขาจึงเสนอให้มีศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ทำหน้าที่สังเคราะห์ข้อเท็จจริงของนักการเมือง ซึ่งมีใช้แล้วในประเทศเกาหลี

หรือแม้แต่หลักการกฎหมายการเลือกตั้ง ที่ต้องเข้มงวดและดำเนินการอย่างจริงจัง ตรงไปตรงมา เพื่อนอีกคนเสนอว่า “ประชาชนต้องสามารถฟ้องรัฐบาลที่ไม่ทำตามสัญญาได้ เรื่องกฎหมายที่เราจะแก้ตอนนี้คือการยุบพรรค มันไม่ได้ช่วยให้การเมืองเราดีขึ้น ต้องถามว่าพรรคฟอร์มตัวได้ยังไง มาจากทุนและอุดมการณ์เดียวกัน แต่ตอนเรายุบ ยุบเฉพาะนามธรรม มันไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ถ้าอยากจะยุบพรรคต้องหาเครื่องมือที่ทำได้จริงเช่นยึดทรัพย์พรรคการเมืองด้วย เช่น การยุบพรรคต้องเลือกตั้งใหม่พรรคนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในระดับพรีเมี่ยม ต้องนึกถึงค่าเสียโอกาสของสังคมอยู่ด้วย เวลาพูดแบบนี้คนในรัฐบาลชอบพูดว่าคำนวณยาก จริงๆ แล้วมันก็ยากซับซ้อน แต่มันคือหน้าที่ของคุณไม่งั้นในตุรกีก็ยุบอยู่นั่นแหละ แล้วก็ได้พรรคเดิมๆ”

หรือแม้แต่ว่า หากพรรคการเมืองไหนตกลงว่าจะมีนโยบายสาธารณะแบบใดแล้ว เมื่อได้เป็นรัฐบาลกลับไม่ทำ ก็จะต้องจ่ายค่าทดแทนให้กับประชาชน เป็นค่าธุรกรรมทางการเมืองที่ต้องจ่ายคืนประชาชน เพราะไม่ได้ทำตามสัญญา.....

พี่ๆ ที่อ่านอยู่ครับ....เมื่ออ่านมาถึงตรงจุดนี้ ผมเพียงอยากบอกว่า ในการก้าวย่างทางการเมืองท่ามกลางบรรยากาศสีเทาๆ เช่นนี้ การที่คนรุ่นใหม่ไม่เข้าไปยุ่งหรือร่วมกับการชุมนุมมากก็เพราะพื้นที่ของเรามีน้อย และมันเป็นเรื่องที่ละเอียด ซับซ้อนมากกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา

การตั้งวงคุยกัน สนทนา ปรึกษา และหาทางออกนั้น เป็นสิ่งที่เราหลายๆ คนรวมตัว และสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยนำบรรยากาศการเมืองในห้วงเวลานี้มาคุยและวิเคราะห์ในมุมต่างๆ พร้อมทั้งมองภาพไปยังอนาคต มองออกไปในฐานะ “ผู้ดู” ไม่ใช่ “ผู้เล่น” ที่หลงอยู่ในอารมณ์การเมืองเฟื้องประสาทจนเงยหัวไม่ขึ้น

และแน่นอน ผม (หรือพวกเราบางคน) ก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลชุดนี้เท่าใด และไม่เห็นว่าการชุมนุมจนทำให้เกิดการรัฐประหารในเบื้องปลายจะทำให้ปากท้อง หรือ ประชาธิปไตยของประเทศนี้ดีขึ้น หากเพียงผมเชื่อในการชุมนุมจนรัฐบาลหน้าด้านทนไม่ไหว ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ ให้เป็นไปตามครรลองของระบบการเลือกตั้ง นี่น่าจะเป็นก้าวย่างที่เหมาะ และอย่างไรเสียการเมืองในประชาธิปไตยจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้กับการเมืองภาคพลเมืองเข้ามาตรวจสอบและมีส่วนร่วมอย่างมีความสมดุล

ส่วนตอนนี้ ปัจจุบันนี้ หากใครอ่านเรื่องทั้งหมดที่ผมเขียนมาทั้งหมด “ไม่เข้าใจ” ก็ไม่ต้องกลับไปอ่านใหม่อีกรอบ เพราะ “ความไม่เข้าใจ” ในเรื่องที่ผมเขียน ก็เหมือนกับ “การเมือง” ณ เวลานี้ ที่ไม่ได้สร้างความเข้าใจให้กับคนในสังคม มากกว่าการมีเรื่องงงๆ วาระซ้อนเร้นไปๆ มาๆ อยู่เยี่ยงนี้

เรื่องที่เขียนมาจึงเขียนขึ้นด้วยความโง่เขลา เขียนแบบงงๆ ซื่อๆ เซ่อๆ เรื่อยมาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนจบ  และหวังว่าตอนจบของข้อเขียนนี้จะไม่เหมือนตอนจบของเหตุการณ์การเมืองที่จะจบลงด้วยความมึนๆ งงๆ เหมือนๆ กันนะครับ

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหนที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้นสำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย1“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ” เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!  ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัยปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้สวัสดีค่ะ คุณคาวี พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย
กิตติพันธ์ กันจินะ
ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้นอย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน  “อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมาผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน…