Skip to main content

ศลิษา ทองสังข์

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาทางการเมืองและโครงสร้าง ปัญหาที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะชาวนา หรือคนสลัม แม้แต่คนเมือง คนชั้นกลางก็ประสบปัญหาที่ดินอยู่อาศัย การใช้ประเด็นเรื่องการผูกขาดที่ดิน นักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ทุนข้ามชาติ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวมเพื่อสร้างแรงผลักดันการกระจายการถือครองที่ดินได้

ที่ผ่านมามีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตรการทางภาษีที่ดิน ตัวอย่างเช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นเวลา 10 ปี เต็ม แต่ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของสภา ทั้งที่หลักการของกฎหมายค่อนข้างดี ทั้งเรื่องการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น การอุดช่องโหว่ของผู้ที่จะหลีกเลี่ยง การป้องกันการเก็งกำไรในที่ดิน ตลอดจนการกระจายรายได้ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


อย่างไรก็ตามแนวคิดและรูปธรรมตัวอย่างการปฏิรูปภาษีที่ดินได้เกิดขึ้นมานานแล้วในต่างประเทศ โดยเป็นไปหลากหลายรูปแบบ และมีพัฒนาการทั้งที่ก้าวหน้าและถอยหลัง ประสบผลสำเร็จและล้มเหลว แต่ตัวอย่างบทเรียนเหล่านี้ก็น่าเรียนรู้ศึกษา เพื่อการปรับใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมไทย


1. ฝรั่งเศส


ปีค
..1790 เป็นยุคการปกครองของขุนนางผู้บ้าเลือด สิทธิในชีวิตและทรัพย์สินถูกละเมิดอย่างหนัก การปกครองยังใช้หลักปรัชญาและการปกครองด้วยกฎธรรมชาติ (Physiocracy) ด้วยแนวคิดหลักว่าระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปได้ดีที่สุด ถ้ารัฐและรัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซง ควรให้ประชาชนจ่ายค่าเช่าที่ดินตามธรรมชาติ


ในปีค..1798 สาธารณรัฐใหม่ของประชาชนฝรั่งเศสได้รับเงินถึง 80% ของรายได้ทั้งหมดจากการเก็บภาษีค่าเช่าที่ดิน การเก็บภาษีค่าเช่าที่ดินนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปขนานใหญ่อื่นๆตามมา มีการปลุกกระแสการต่อต้านระบบชนชั้นกษัตริย์ต่างๆของยุโรป ผู้มีทรัพย์สมบัติมากกว่าเจ้าที่ดินเล็กน้อย และมีการต่อสู้เพื่อรวมฝรั่งเศส หากสถาบันกษัตริย์หลบหนีออกจากฝรั่งเศสอย่างสันติ การปฏิวัติที่เกิดขึ้นอาจนองเลือดน้อยกว่านี้ก็เป็นได้


ในปีค..1807 รัฐบาลนโปเลียนใช้กลยุทธ์ทางภาษีเพื่อให้มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นแล้วทำการเก็บภาษีเมื่อมีการขายที่ดินเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้ออกเป็นกฎหมาย(แม้กระทั่งระหว่างสงคราม นั่นเป็นเหตุผลเดียวกันว่าทำไมอังกฤษถึงไม่เคยออกกฎหมายภาษีที่ดินในศตวรรษต่อมา) ในปีค..1830 ภาษีค่าเช่าที่ดินลดลง 25% ในปีค..1980 ฝรั่งเศสยังคงมีการเก็บภาษีค่าเช่าที่ดินในอัตรา 13% ของรายได้ ซึ่งมากกว่าประเทศที่ประสบผลสำเร็จน้อยอื่นๆจำนวนมากเคยทำมา


2. เดนมาร์ก

ปีค..1840 เจ้าชายรัชทายาทผู้ซึ่งศรัทธาในความชอบธรรมของการปกครองด้วยกฎธรรมชาติ(Physiocracy) แต่อดทนรอไม่ไหวที่จะโค่นล้มอำนาจจากลุงของเขาผู้เป็นกษัตริย์ ในปีค..1784 เฟรดเดอริก ในฐานะกษัตริย์องค์ใหม่ สิ้นสุดการเป็นข้าของแผ่นดิน ได้ประกาศสิทธิของผู้เช่าที่ดิน และช่วยให้ชาวนากลายเป็นเจ้าของที่ดิน เขายังได้เสนอให้มีการปฏิรูปภาษีที่ดิน โดยจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและทำเลที่ตั้ง ไม่ใช่ขนาด (ซึ่งต่อมากลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วยุโรป) ในที่สุดการปฏิรูปของเขาได้กลายเป็นกฎหมายในปีค..1844 เดนมาร์กเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดินเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป


หลังยุคการปกครองด้วยกฎธรรมชาติ ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในการปฏิรูประบบภาษีและทรัพย์สิน คือ คนอเมริกันชื่อ เฮนรี่ จอร์จ (..1839-1897) ผู้เขียนหนังสือคลาสสิคเรื่อง ความก้าวหน้าและความยากจน (Progress and Poverty, ปี 1979) ในฐานะนักพูดที่น่าประทับใจ จอร์จได้เดินทางไปทั่วอเมริกาและสหราชอาณาจักร เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการปฏิรูป เขาทิ้งมรดกที่เราสามารถวัดผลได้จนถึงปัจจุบัน


3. สหรัฐอเมริกา

เมืองแคลิฟอร์เนีย ย้อนกลับไปสู่ปีค..1890 ชาวนาและคนงานเหมืองแร่จำนวนมากต้องอยู่โดยปราศจากน้ำ เนื่องจากที่ดินจำนวนมากถูกยึดครองโดยผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ตัวอย่างเช่น นายเฮนรี่ มิลเลอร์เป็นเจ้าของที่ดินถึง 1 ล้านเอเคอร์ (2.5 ล้านไร่) นายมิลเลอร์สามารถต้อนปศุสัตว์ของเขาจากเม็กซิโกไกลถึงโอเรกอนและพักค้างคืนทุกคืนในที่ดินของเขาเอง ในปีค..1886 นายมิลเลอร์ได้รับสิทธิเต็มแต่เพียงผู้เดียวในแม่น้ำเคิร์น


คนบางส่วนที่รักความเป็นธรรมได้เห็นว่าผู้เลี้ยงปศุสัตว์ได้เดินมาไกลเพียงพอแล้ว รัฐจึงได้ผ่านพระราชบัญญัติการก่อสร้างในปีค..1887 ที่อนุญาตให้ชุมชนสามารถลงมติการสร้างระบบชลประทานในตำบล การสร้างเขื่อน และคลอง และสนับสนุนงบประมาณที่ได้มาจากการเก็บภาษีที่ดินในมูลค่าเพิ่มขึ้น ที่ดินซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีน้ำ ที่ดินที่มีราคาแพงเกินกว่าจะใช้ปลูกหญ้า และภาษีที่ดินก็ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะเก็บสะสมที่ดินเอาไว้ ดังนั้นผู้เลี้ยงปศุสัตว์จึงจำเป็นต้องขายผืนดินเหล่านั้นให้กับเกษตรกร ในราคาที่เกษตรกรสามารถซื้อได้


ในระยะ 10 ปีต่อมา พื้นที่ในเซนทรัลวาลลิ(Central Valley) ได้เปลี่ยนรูปเป็นฟาร์มอิสระจำนวนมากกว่า 7,000 ฟาร์ม และในระยะ 20 – 30 ปีต่อมา พื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีแต่พืชเขตแห้งแล้ง ได้กลายเป็นดินแดน “ตะกร้าขนมปังของอเมริกา” พื้นที่ที่ชื่อว่ามีผลิตผลมากที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก



4. จีน


เมืองเคียวโช ปีค
..1900 กรรมาธิการราชอาณาจักรเยอรมันเพื่อเคียวโจ(พื้นที่จากเขตทะเลเหลือง รวมถึงเชียวชู และเจียวเซียนในปัจจุบัน) นายวุดวิก วิลเฮล์ม ชราเมียร์ ซึ่งเป็นสมาชิกคณะปฏิรูปที่ดินของเยอรมัน ได้อ่านงานของเฮนรี่ จอร์จ และนำมาใช้ในพื้นที่อาณานิคม (ประมาณ 200 ตารางไมล์ในฉางดอง หรือฉานตุงในอดีต) ในปีค..1898 ชราเมียร์ได้ให้กำเนิดระบบภาษีมูลค่าที่ดินในอัตรา 6% การเก็บภาษีนี้ก็เพื่อป้องกันการเก็งกำไร โดยเก็บประมาณครึ่งหนึ่งของค่าเช่าที่ดิน และนำไปเป็นกองทุนสวัสดิการของรัฐบาล จนกระทั่งเยอรมันสูญเสียพื้นที่อาณานิคมไปเมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมานายซุน ยัด-เซน เกิดความประทับใจในผลที่เกิดขึ้นต่อเมืองหลักของเคียวโชว ชื่อ คิงดาว (รวมทั้งทิส์งเตา) ที่มีความทันสมัยขึ้นเป็นอันมาก


5. ออสเตรเลีย

ปีค..1990 ในขณะที่บางเมืองกำลังมีการจัดเก็บภาษีที่ดิน(ในช่วงปลายค..1800) รัฐบางรัฐได้นำแนวคิดนี้มาปฏิบัติเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในช่วงปีค..1900 (นิวเซาท์เวลส์ในปีค..1905) และในรัฐบาลกลางก็เช่นเดียวกันในปีค..1910 ในปีค..1920 ณ ที่ชุมนุมของผู้แทนราษฎร(ออกแบบโดยคนของลัทธิจอร์จคนหนึ่ง) ได้ก่อสร้างขึ้นในที่ดินสาธารณะ เมืองแคนเบอร่าเป็นเจ้าของที่ดินนี้ และใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและทำธุรกิจ ในขณะที่ซิดนีย์เมืองที่ใหญ่ที่สุดเก็บภาษีชนิดเดียวคือภาษีที่ดิน


ใช่ว่าการเก็บภาษีของเมืองซิดนีย์หรือการให้เช่าที่ดินของเมืองแคนเบอร่าจะเพียงพอจากการเก็บภาษีค่าเช่าที่ดินทั้งหมด ดังนั้นทั้งสองเมืองนี้จึงยังคงได้รับรายได้ภาษีจากรัฐบาลของสหพันธรัฐ อย่างไรก็ตามคนที่จนกว่าของทั้งสองเมืองก็ไม่ได้แย่แบบเดียวกับสลัมในเมืองต่างๆของอเมริกา


ตลอดทั้งเมลเบิร์น บางเมืองมีการเก็บภาษีที่ดินอย่างเดียว ดร.เคน ลูชท์ ผู้มาเยือนจากรัฐเพนน์ พบว่าพวกเขามีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 50% ต่อเอเคอร์ (1 เอเคอร์ = 2.5ไร่) จากการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างปีค..1974 และ 1984 ซึ่งสวนทางกับปีที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จำนวนนักธุรกิจในเมืองที่เก็บภาษีทรัพย์สินลดลง 20% ในขณะที่เมืองซึ่งเก็บภาษีที่ดินอย่างเดียว กลับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10%


6. นิวซีแลนด์

ปีค..1910 การตั้งถิ่นฐานใน “ประเทศกีวี” จำนวนมากเริ่มต้นจากการเก็บภาษีที่ดิน ในปีค..1982 มีเทศบาลมากกว่า 80% ที่มีการเก็บภาษีที่ดิน ในขณะที่ระดับประเทศก็เก็บภาษีที่ดิน มีการจ้างงานโดยเฉลี่ย 99%ของประชากรในปีค..1966 จนถึงปีค..1975 เมื่อเกิดวิกฤติน้ำมัน ทำให้สินค้าส่งออกมีราคาแพงเกินไปจนกระทั่งการขนส่งทางเรือคือการเผาน้ำมันไปเท่านั้นเอง ตัวเลขการจ้างงานลดลงสู่ความเป็นจริงที่ 94% จากนั้นรัฐบาลก็ได้เลิกล้มการเก็บภาษีที่ดินในระดับประเทศ ปล่อยให้การเก็บภาษีเป็นเรื่องของท้องถิ่น ผู้ซึ่งไม่เคยได้ดำเนินการมาก่อน ปัจจุบันน้อยกว่า 2 ใน 3 ขององค์กรท้องถิ่นมีอำนาจในการเก็บภาษีที่ดิน ซึ่งไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้าง



7. อังกฤษ


ปีค
..1910 แม้ว่าอังกฤษจะมีการโต้แย้งแนวคิดการปฏิรูปภาษีที่ดินของเฮนรี่ จอร์จ แต่นั่นเป็นโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อีเบเนเซอร์ โฮวาร์ด ได้เริ่มต้นสร้างเมืองอุทยานสาธารณะ ที่ตั้งอยู่ในที่ดินของบริษัทแห่งหนึ่งที่ประกอบไปด้วยผู้อยู่อาศัยและนักลงทุน เมืองต้นแบบที่เก่าแก่ที่สุดนี้ชื่อว่า เลทช์เวิร์ธ ซึ่งดูแลประชาชนในเมืองนี้ด้วยเงินภาษีค่าเช่าที่ดิน รูปแบบการทดลองนี้ได้ขยายไปไกลถึงรัสเซีย ไม่นานนักสหราชอาณาจักรได้ผ่านกฎหมายการเก็บภาษีมูลค่าที่ดิน (land value taxation) แต่กลับไม่มีผลบังคับในทางปฏิบัติแต่อย่างใด จนกระทั่งสงครามโลกสิ้นสุดลง จากนั้นการเมืองก็เปลี่ยนข้างและแนวคิดเรื่องการปฏิรูปดังกล่าวนี้ก็ไม่เคยมีผลในทางปฏบัติ


ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟรานซิสโก้ ไอ มาเดโร่ ได้เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินในประเทศเม็กซิโก ดังที่ อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี้ ได้ทำในรัสเซียมาแล้วภายหลังสงคราม แต่เคเรนสกี้ถูกปฏิวัติไปก่อน ส่วนมาเดโร่ก็ถูกลอบสังหารในช่วงระหว่างสงครามโลกในเวียนนาและบูดาเปสท์ แม้ว่าแนวคิดของจอร์จจะประสบผลสำเร็จเพียงเล็กน้อย แต่พันธมิตรจากทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาก็ล้มล้างแนวคิดนี้ไปอย่างรวดเร็ว


มีประเทศหนึ่งได้นำแนวความคิดนี้มาใช้แต่โฮวาร์ดต้องการที่จะกำจัดออกไป ทำให้มีการเกิดขึ้นเล็กน้อยในเดนมาร์กในช่วงปีค..1900 พรรคเสรีนิยมได้แทนที่กฎหมายภาษีมูลค่าที่ดินด้วยอนุสัญญาภาษีทรัพย์สินและภาษีเงินได้ ในปีค..1920 อย่างไรก็ตามแนวคิดแบบจอร์จของเดนมาร์กได้สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบภาษีทรัพย์สิน โดยมีการจัดเก็บหนักขึ้นในที่ดินและน้อยลงในสิ่งปลูกสร้าง


8.แอฟริกาใต้

โจฮันเนสเบิร์ก ปีค..1920 การก่อตั้งถิ่นฐานจำนวนมากในจักรภพอังกฤษเริ่มต้นด้วยการจัดเก็บภาษีที่ดิน รวมทั้งเมืองโจฮัน เนสเบิร์กในแอฟริกาใต้ เริ่มต้นจากเมืองเหมืองแร่ ที่เมืองเหล่านี้จะกลายเป็นเมืองร้างอย่างรวดเร็วเมื่อสินแร่เริ่มหมดลงในต้นศตวรรษที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงโชคชะตานี้ คณะเทศมนตรีได้ปรับรูปแบบการเก็บภาษีทรัพย์สินจากสิ่งปลูกสร้างไปสู่ที่ดิน เพื่อช่วยชีวิตเมืองของพวกเขาเอาไว้ โจฮันเนสเบิร์กได้เติบโตจนกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ จนบดบังรัศมีของเมืองเคป ทาวน์ เมืองท่าที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์หนึ่งของโลก ด้วยความสมดุลระหว่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความสำเร็จนี้คล้ายกับเมืองอัลบานี่ ในนิวยอร์ค แต่ไปได้เร็วกว่า โจฮันเนสเบิร์กภาคภูมิใจกับอัตราการเจริญเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ในระดับโลกเพิ่มขึ้นกว่า 20 จุดเล็กน้อย นั่นหมายความว่าที่ดินที่ดีที่สุดถูกใช้ไปจนหมดแล้ว การขยายตัวก็สิ้นสุดลง ภายหลังจากนโยบายแบ่งแยกสีผิวสิ้นสุดไปแล้ว รัฐบาลใหม่ของคนผิวดำได้หันกลับมาใช้อนุสัญญาภาษีที่ดิน โดยเชื่อ(อย่างผิดพลาด)ว่าจะทำให้เกิดความร่ำรวยขึ้นในประเทศ


เมืองหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา การเก็บภาษีที่ดินไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับ เมื่อขบวนการของผู้สนับสนุนแนวคิดการเก็บภาษีเดี่ยวเติบโตสูงสุด ได้ทำให้เกิดการคุกคามและละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดินซึ่งไม่ได้อยู่ในที่ดินของตนเอง พวกเขาได้ล๊อบบี้ผู้แทนราษฎรให้จัดเก็บภาษีตามถิ่นที่ตั้งและการแก้ไขไปพร้อมๆกัน รัฐจำนวนมาก เช่น แคลิฟอร์เนียตกอยู่ในอำนาจและการกดดันนี้ ในรัฐอื่น เช่น นิวยอร์คท้องถิ่นอาจจะจัดเก็บภาษีแยกได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุญาติจากรัฐสภาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เพื่อที่จะฟื้นฟูภาษีค่าเช่าที่ดิน องค์กรท้องถิ่นจำนวนมากจะต้องทำมากกว่าที่กฎหมายระบุไว้ เช่น การออกข้อกำหนดของท้องถิ่น และ เพื่อแยกภาษีทรัพย์สินอื่นๆ เช่น อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไป ท้องถิ่นจะต้องใช้ข้อยกเว้นหรือการเลิกล้มคำสั่งในภาษีทรัพย์สิน


9. อเมริกาใต้

ปีค..1930 เป็นยุคที่ประเทศละตินอเมริกาบางส่วนยังคงมีการปกครองแบบธรรมชาตินิยม (physiocratic tradition) ปีค..1840 ประเทศอาร์เจนติน่ามีประธานาธิบดีที่พยายามจะจัดระเบียบการเช่าที่ดินเพื่อสังคมที่ดีกว่า จนกระทั่งทหารได้จบความฝันของเขาลงไป ในปีค..1920 โคลัมเบียและอุรูกวัยผ่านกฎหมายที่ให้คณะกรรมาธิการสร้างถนนโดยการเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดินที่อยู่ในเส้นทางถนนตัดผ่านทั้งสองข้างทาง


ความสำเร็จเกิดขึ้นอีก 2-3 ทศวรรษต่อมาเท่านั้น กลไกนี้ก็ประสบกับความยุ่งเหยิง อันเนื่องมาจากมีที่ดินแปลงหนึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้ถนนมากกว่าหนึ่งแห่ง และแม้ว่าถนนจะช่วยขยับมูลค่าที่ดินให้สูงขึ้น แต่ข้อกำหนดที่ดินนี้ก็มีสิ่งไม่ดีอยู่เบื้องหลัง การคอรัปชั่น และภาวะเงินเฟ้อ คนจนไม่มีความสามารถจะจ่ายภาษีนี้ได้ จนกระทั่งช่วงปลายของยุค 90 โบโกต้าใช้เงินที่ได้จากการเก็บภาษีที่ดินถึง 80% เพื่อสร้างถนนใหม่ สำหรับเงินทั่วไป โคลัมเบียเก็บภาษีที่ดินในเมืองที่ 1% และที่ดินระดับประเทศที่ 2% และเก็บภาษีที่ดินที่ได้มาถึง 50%ของรายได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังเก็บภาษีการจดทะเบียนที่ดินที่ 20% ของมูลค่าที่ดิน


10. เสือสี่ตัวแห่งเอเชีย

ปีค..1940 จากแผนความร่วมมือของรัฐกับความทะเยอทะยานที่จะไปสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศริมขอบเอเชียแปซิฟิก แต่หากมองตามความเป็นจริงแล้ว เรื่องราวความสำเร็จทั้งหมดเกิดขึ้นจากการปฏิรูปที่ดินในเขตการค้าที่หนาแน่น เทศบาลเมืองของสิงคโปร์ ค้นพบหลักการภาษีเดี่ยวของเฮนรี่ จอร์จ จึงเพิ่มภาษีที่ดินในอัตรา 16%


ฮ่องกงที่มีที่ดินที่จัดอยู่ในชั้นดีเลิศ มีเงินรายได้ 4 ใน 5 ส่วนของงบประมาณทั้งหมด โดย 2 ใน 5 ส่วนเป็นภาษีค่าเช่าที่ดิน เมืองฮ่องกงใช้เงินรายได้ที่มาจากกการเก็บภาษีค่าเช่าที่ดินเพื่อสร้างเมืองแห่งใหม่ และอุดหนุนให้พื้นที่ชานเมืองมีการผลิตอาหารจำนวนมากของตนเอง ฮ่องกงมีความสุขกับการมีภาษีต่ำ สินค้าราคาต่ำ การลงทุนสูง และมีเงินเดือนต่อหัวสูงที่สุด เมืองฮ่องกงจึงตัดอันดับเมืองสำหรับการทำธุรกิจและอิสรภาพในการอยู่อาศัยที่ดีที่สุดในหลายครั้ง


นายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ ผู้ศรัทธาในแนวคิดของเฮนรี่ จอร์จ ผลักดันให้รัฐบาลเฉพาะกาลของญี่ปุ่นระบุเนื้อหาการปฏิรูปที่ดินเอาไว้ในรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยฉบับใหม่ และให้มีการจำกัดค่าเช่าที่ดินเกาหลีใต้ได้นำเอารูปแบบการปฏิรูปภาษีค่าเช่าที่ดินมาใช้ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน


นอกจากนั้นนายพลเจียง ไค-เช็ค ได้ผลักดันให้มีการปฏิรูปที่ดินในไต้หวัน ในปีค..1980 ความสำเร็จในการปฏิรูปที่ดินกับการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับฐานรากเกิดขึ้นอย่างปาฏิหาริย์ เกษตรกรที่มีความมั่นคงมีความสามารถที่จะบริโภคสินค้าจากโรงงานได้ ไม่นานก็ส่งผลให้เกิดความสำเร็จของภาคอุตสาหกรรมที่สามารถขายสินค้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆได้ รายงานของธนาคารโลก ในปีค..1998 โดย รอย โพรสเตอร์แมน และเทียม ฮันสแตด ในส่วนที่ 10 “การเก็บภาษีที่ดิน” โดยเจนิเฟอร์ ดันแคน กล่าวว่า


ภาษีที่ดินคือยานพาหนะสำคัญที่จะเปลี่ยนผ่านผลประโยชน์บางส่วนจากการแปรรูปที่ดินสู่สาธาณะ ภาษีอากรจากที่ดินเป็นกองทุนก้อนใหญ่ และ ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิการสังคม การอุดหนุนสาธารณะ และการแปรรูปการสนับสนุนขององค์กรท้องถิ่น” ปัจจุบันด้วยพยายามที่จะควบคุมมูลค่าของที่ดินที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีพยายามที่จะเก็บภาษีที่ดิน แต่ก็ยังเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย


11. ไต้หวัน


ในปีค
..1940 ประเทศไต้หวันเผชิญกับภาวะความอดอยาก ยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาไร้ที่ดินต่างประสบกับภาวะความทุกข์ยากและหิวโหย ที่ดินทั้งหมดบนเกาะมีคนจำนวนน้อยกว่า 20 ครอบครัวผูกขาดเอาไว้ทั้งหมด ต่อมากองกำลังทหารชาตินิยม นำโดยเจียง ไค-เช็ค ได้ถอยร่นเข้ามาอยู่ที่ไต้หวัน นายพลเจียงตั้งข้อสงสัยว่า เขาสูญเสียจีนแผ่นดินใหญ่ไปส่วนหนึ่ง โดยไม่ได้ปฏิรูปการถือครองที่ดินเลย และเขาก็ไม่ต้องการเสี่ยงที่จะสูญเสียที่พักพิงแห่งสุดท้ายของเขาไปอีก


นายพลเจียง ผู้ศรัทธาในซุน ยัด-เซน บิดาของจีนสมัยใหม่ และสหายของเฮนรี่ จอร์จ รู้จักระบบภาษีเดี่ยวเป็นอย่างดี ได้หยิบยืมแนวคิดของจอร์จผ่านทางซุน ยัด-เซน รัฐบาลชาตินิยมใหม่ของรัฐธรรมนูญไต้หวันจัดตั้ง โครงการผลิใหม่ของที่ดิน (land to the tiller program) โดยการจัดเก็บภาษีที่ดินเกษตรตามมูลค่าของค่าเช่า ไม่นานจากนั้นผู้ถือครองแปลงเกษตรขนาดใหญ่ก็พบว่าเขาต้องจ่ายภาษีในจำนวนเท่ากับค่าเช่าที่ดินที่เขาเคยได้รับ ระบบคนกลางก็ไม่ความหมายอีกต่อไป พวกเขาจำเป็นต้องขายที่ดินส่วนเกินในการทำเกษตรให้กับชาวนาในราคาที่พวกเขาสามารถซื้อได้


การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้เกิดผลงอกเงยในระบบตลาดใหม่ ผู้ถือครองที่ดินใหม่ต้องทำงานหนัก พวกเขาผลิตจำนวนมากขึ้น และปีต่อมาต้องจ่ายภาษีที่ครอบคลุมถึงภาระหนี้สินสาธารณะ ในที่สุดต้องเก็บออมมากขึ้นเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น จากค..1950 ถึง 1970 การเพิ่มขึ้นของประชากรลดลง 40% และความอดอยากหมดไป (แม้ว่าไต้หวันจะได้รับเงินสนับสนุนนับล้านดอลลาร์จากสหรัฐ แต่ส่วนใหญ่เป็นกองทุนด้านทหารนานมากกว่า 8 ปี) ไต้หวันเป็นประเทศที่ติดอันดับโลกในด้านอัตราการเติบโตทางเจริญเติบโตเศรษฐกิจสูง นั่นคือมีจีดีพีสูงขึ้น 10% ต่อปี และ 20% ในด้านอุตสาหกรรม


12. เดนมาร์ก

(1) ปีค..1950 เดนมาร์กมีการจัดเก็บภาษีมรดกที่ดิน ในปีค..1957 พรรคขนาดเล็ก ชื่อ จอร์จจิสต์เพื่อความเป็นธรรม(Georgist Justice Party) ประสบชัยชนะจากการเลือกตั้งโดยได้ในที่นั่งเล็กน้อยในสภา แต่กลับเป็นผู้ชี้ขาดการจัดตั้งรัฐบาลผสม พรรคมีเป้าหมายที่จะจัดเก็บภาษีที่ดินให้สูงขึ้น ผู้ลงทุนเปลี่ยนจากอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนด้านวิสาหกิจ หนึ่งปีต่อมา ภาวะเงินเฟ้อลดลงจาก 5% เป็นต่ำกว่า 1% ดอกเบี้ยธนาคารลดลงจาก 6.25% เป็น 5% จากตัวเลขผู้ว่างงานทั้งประเทศ มีคนถึง 5 ล้านคนมีงานทำเพิ่มขึ้น มีค่าจ้างที่สูงขึ้น และมีการจ้างงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเดนมาร์ก


แม้ว่าคนจำนวนมากจะมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ในการเลือกตั้งครั้งต่อมานายทุนที่ดินทุ่มเงินจำนวนมากเพียงพอเพื่อเปลี่ยนความคิดของคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม พรรคเพื่อความเป็นธรรมสูญเสียที่นั่ง การเก็บภาษีที่ดินขาดผู้ส่งเสริม และนักลงทุนก็กลับมาเป็นนักเก็งกำไรที่ดินอีกครั้ง ภาวะเงินเฟ้อไต่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 5% และในปีค..1964 ขยับไปถึง 8% ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นจากปีค..1960 ถึง 1981 เป็น 19 เท่า ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4 เท่า

 


(2)
ช่วงปีค..1960 ก่อนปีค..1970 ยอดจัดเก็บภาษีรายได้ประจำปีของรัฐตกลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาษีในปีค..1969 เป็นการจัดเก็บจากรายได้ปีค..1968 ต่อมารัฐสภาตัดสินใจที่จะเก็บภาษีรายได้ในปีเดียวกันกับรายได้ที่เกิดขึ้น ภาษีในปีค..1970 ก็จัดเก็บจากรายได้ปีค.. 1970 ผู้เสียภาษีเข้าใจว่า รัฐไม่ได้จัดเก็บภาษีรายได้ในปีค..1969 ผลที่เกิดขึ้นคือจากปีค..1968-1969 อัตราการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า(จาก 4% เป็น 8%) อัตราเงินเฟ้อลดลงครีงหนึ่ง(จาก 8% เป็น 3.5%) การลงทุนเพิ่มขึ้น 4 เท่า (5% เป็น 20.5%) การออมเพิ่มขึ้น 1 ใน 4 เท่าตัว (จาก 2.9 เป็น 3.8 ล้านเหรียญเดนมาร์ก) และ ตัวเลขการจ้างงานเท่าจำนวนแรงงานทั้งหมดที่มี


13. อาราเบีย



ปีค..1970 ขอบคุณที่มีน้ำมันอยู่ใต้ทะเลทราย ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ได้รับค่าสัมปทานเพียงพอที่จะสร้างความเจริญสู่เมือง สร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยไม่ต้องจัดเก็บภาษีจากประชาชน คูเวตยังคงจ่ายเงินปันผลให้กับประชาชนอีกด้วย ครั้งหนึ่งประชาชนเหล่านั้นคือชนเผ่าเร่ร่อนที่ย้ายมาสู่เมือง ที่ซึ่งพวกเขาไม่คุ้นเคย ปัจจุบันคูเวตจ่ายเงินโบนัสให้กับประชาชน (ไม่รวมถึงแรงงานต่างชาติซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของประชากร) จ่ายเงินสำหรับการแต่งงานและรายจ่ายประจำเดือนสำหรับเด็ก และโรงเรียนฟรีและหมอฟรี สำหรับประเทศมุสลิมที่ผลิตน้ำมันในอ่าวเปอร์เซียอื่นๆ ได้แก่ บาห์เรน ก็เป็นประเทศที่ปลอดภาษีและมีการอยู่อาศัยที่หนาแน่น


14. อเมริกาเหนือ

ปีค..1980 ขอบคุณที่มีน้ำมันอยู่ใต้ที่ราบอาร์กติก จังหวัดหนึ่งของรัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา และรัฐ อลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกามีภาษีต่ำ อับเบอร์ต้าไม่มีภาษีการซื้อ จ่ายเงินภาษีรายได้บางส่วนให้กับสหภาพประชาชน ผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินปันผล นอกจากนี้ยังมีการคืนภาษี และสนับสนุนระบบสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การดูแลด้านสุขภาพ และการศึกษาในมหาวิทยาลัย ในประเทศแคนาดาแร่ธาตุและป่าไม้ทั้งหมดเป็นของประชาชน ในอเมริกากลับไม่เห็นด้วยกับความเป็นธรรมแบบนั้น แต่มูลค่าตลาดของน้ำมันในอ่าวพรูดโฮ(Prudhoe Bay) จำนวน 12.5% อลาสก้าจ่าย 80% ของงบประมาณทั้งหมด และจ่ายส่วนแบ่งให้กับประชาชนด้วย ประมาณ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีต่อคน (โดยจัดเก็บจากราคาน้ำมัน และคืนสู่การลงทุน) ในขณะที่พื้นที่ขุมทรัพย์ เช่น แหล่งน้ำมัน เป็นทรัพยากรที่นำรายได้ในรูปภาษีสาธารณะได้อย่างมากมาย ตราบเท่าที่มูลค่าของทรัพยากรจากผิวดินนี้ยังมีอยู่มาก


15. เม็กซิโก

เม็กซิคาลิ บีซี ปีค..1990 เพื่อหาเงินทุนสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่ดีกว่า ผู้ว่าการรัฐเม็กซิคาลิ บาจา แคลิฟอร์เนีย มิลตัน คาสเทลลานอส กูท ด้วยการแนะนำของผู้สำเร็จการศึกษาคนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบอร์เกลลี่(เซอร์จิโอ ฟลอเรส เพน่า) ได้โยนทิ้งกฎหมายภาษีทรัพย์สิน และแทนที่กฎหมายภาษีที่ดิน อีก 2-3 ปีต่อมาข้าราชการได้คัดค้านการปรับปรุงเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในช่วงต่อมารัฐได้ปรับภาษีมูลค่าที่ดินใหม่ให้ทันสมัยขึ้น รายได้ภาษีอากรที่มาจากภาษีทรัพย์สินที่เคยได้ต่ำกว่า 3 ล้านเปโซ ในปีค..1988 แต่เมื่อมีการปรับภาษีเป็นภาษีที่ดินได้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 63 ล้านเปโซ ในปีค..1998 อย่างไรก็ตามการเพิ่มภาษีอย่างรวดเร็วนี้ไม่ได้รับการประท้วงจากเจ้าของที่ดินแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคิดว่ามีที่ดินที่ได้รับสวัสดิการที่ดีจากการเสียภาษีย่อมดีกว่าการไม่เสียภาษีแต่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย


ในปีค..1995 เม็กซาคาลิได้ออกกฎหมายการเก็บภาษีที่ดิน 15.3% ในขณะที่เมืองอื่นๆในบีซี ก็มีกฎหมายภาษีที่ดิน10.3% รูปแบบภาษีที่ดินของเม็กซิคาลิได้ขยายไปสู่เมืองอื่นๆในบีซีและรัฐอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงกัน


16.เอธิโอเปีย

ในปีค..1990 เขตรอบนอกของเมืองหลวงแอดดิส อบาบา ของเอธิโอเปีย มีการขยายบ้านเรือนไปปลูกในที่ดินซึ่งเคยใช้ผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงเมือง เป็นการเบียดขับเกษตรกรให้ออกจากที่ดินที่ถูกทิ้งมาหลายศตวรรษ เส้นทางที่ยาวขึ้นในการขนส่งอาหารสู่ตลาดทำให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นรัฐบาลท้องถิ่นจึงคัดค้านคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ทำการจัดเก็บภาษีมูลค่าที่ดินและการเก็บภาษีตามขนาดของที่ดิน ด้วยข้อจำกัดของภาษีสิ่งปลูกสร้างในเมืองที่มีปริมาณลดลง จากรายงานของหน่วยงานเศรษฐกิจของสถานทูตเอธิโอเปียในวอชิงตันดีซี พบว่า มีการเข้าครอบครองและการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ในเมืองเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก


นี่คือกรณีตัวอย่างความสำเร็จของการปฏิรูปภาษีที่ดินบางส่วนของโลกที่เกิดขึ้นจริงมาแล้ว อย่างไรก็ตามบทเรียนความสำเร็จหรือการต่อสู้ยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด แนวทางเหล่านี้ต้องขยายออกไปเพิ่มมากขึ้น สังคมจะมีความมั่นคงและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม อันเกิดจากการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกันของทั้งโลก สังคมจะต้องร่วมกันแก้ไขให้เกิดเศรษฐกิจที่เป็นธรรม “บนผืนดินที่เป็นธรรม” ต่อไปอย่างต่อเนื่อง


 

**เรียบเรียงบางส่วนจากบทความเรื่อง Where a tax reform has worked : 28 case summaries ของ Jeffery J. Smith www.progress.org/geonomy


 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา    การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดประเด็นการปฏิรูปที่ดิน แจกสปก. นับว่าโดนใจประชาชนที่เฝ้ารอคอย สปก. 4-01 และหวังว่าวันหนึ่งจะมีการออกเป็นโฉนดที่ดินตามแรงโฆษณาของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ปัญหาการไม่มี สปก. 4-01 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินมีจำนวนมาก มีโครงการปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีการปฏิรูปที่ดิน และยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของความซ้ำซ้อนระหว่างแนวเขตของเขตปฏิรูปที่ดินกับที่ดินของรัฐประเภทอื่น เช่น พื้นที่ป่าตามกฎหมาย ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์…
คนไร้ที่ดิน
โดย... สมจิต คงทน กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  ก่อนจะมาเป็นนารวม ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ต.สระบัว อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าสาธารณะของชุมชนที่อยู่คู่มากับหมู่บ้าน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ไว้สำหรับหาอยู่หากิน เก็บของป่า เก็บเห็ด เก็บฟืน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตแต่เมื่อปี 2538 มีกลุ่มทุนเอกชนจากนอกพื้นที่ทั้งหมด 8 ราย มาบุกรุก แผ้วถางป่าธรรมชาติดอนหนองโมง-หนองกลางของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่รวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินผืนนี้ไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
คนไร้ที่ดิน
กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า 3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม”…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชายฝั่นอันดามัน ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “ทางออกกรณียึดที่ดินชุมชนสัมปทานป่า-เลให้นายทุน” ที่ศูนย์การเรียนรู้ควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 150 คน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาที่ดินของหน่วยงานรัฐไว้อย่างน่าสนใจ…
คนไร้ที่ดิน
ศลิษา ทองสังข์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาทางการเมืองและโครงสร้าง ปัญหาที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะชาวนา หรือคนสลัม แม้แต่คนเมือง คนชั้นกลางก็ประสบปัญหาที่ดินอยู่อาศัย การใช้ประเด็นเรื่องการผูกขาดที่ดิน นักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ทุนข้ามชาติ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวมเพื่อสร้างแรงผลักดันการกระจายการถือครองที่ดินได้ ที่ผ่านมามีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตรการทางภาษีที่ดิน ตัวอย่างเช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นเวลา 10 ปี เต็ม…
คนไร้ที่ดิน
นนท์ นรัญกร   ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ บทเรียนประการแรก…
คนไร้ที่ดิน
พงษ์ทิพย์  สำราญจิตต์สังคมไทย  เป็นสังคมที่เกษตรกรและคนจนไร้ที่ดิน แทบจะไม่มีที่ยืนหรือสามารถบอกเล่าสถานะของตนเองต่อสังคมได้ โครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการตลาด  ได้ถูกผูกขาดและกำกับควบคุมโดยคนกลุ่มเล็ก บริษัทธุรกิจเอกชนที่มีเงินลงทุนมหาศาล ในสนามเศรษฐกิจที่ถูกผูกขาดไว้แล้วเช่นนี้  แน่นอนว่าเกษตรกรรายย่อยย่อมมิอาจแข่งขันได้ นี่เป็นที่มาของสภาพการณ์ในชนบทสังคมไทยที่เกษตรกรรายย่อยกำลังกลายเป็นแรงงานรับจ้างและคนจนไร้ที่ดินมากขึ้นทุกขณะ
คนไร้ที่ดิน
                                                                                                   …
คนไร้ที่ดิน
  สมจิต  คงทนกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ…