Skip to main content

ศยามล ไกยูรวงศ์

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา


 

 

การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดประเด็นการปฏิรูปที่ดิน แจกสปก. นับว่าโดนใจประชาชนที่เฝ้ารอคอย สปก. 4-01 และหวังว่าวันหนึ่งจะมีการออกเป็นโฉนดที่ดินตามแรงโฆษณาของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ปัญหาการไม่มี สปก. 4-01 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินมีจำนวนมาก มีโครงการปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีการปฏิรูปที่ดิน และยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของความซ้ำซ้อนระหว่างแนวเขตของเขตปฏิรูปที่ดินกับที่ดินของรัฐประเภทอื่น เช่น พื้นที่ป่าตามกฎหมาย ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์ ปัญหาความซ้ำซ้อนแนวเขตกลายเป็นปัญหาอมตะที่ใช้เวลายาวนานกว่าจะหาข้อสรุปได้ว่าที่ดินของตนเองอยู่ในที่ดินของรัฐประเภทใด


อีกคำหนึ่งที่ประชาชนพูดเสมอว่า “ที่ดินของฉันอยู่ในป่าของรัฐบาล หรืออยู่ในพื้นที่จำแนก หรืออยู่ในที่ดินของรัฐอื่นๆ โดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐตอบคำถามให้ชัดเจนว่าเป็นที่ดินของรัฐประเภทใด” แต่ประชาชนยืนยันว่าตั้งถิ่นฐานมายาวนานก่อนการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตที่ดินของรัฐ และได้แต่รอคอยว่าเมื่อไรรัฐจะออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้ เป็นเวลาสิบๆปี


เมื่อประชาชนได้เอกสารสิทธิที่ดินก็จะถูกแรงบีบจากกลุ่มอิทธิพลทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและนายทุน ในการข่มขู่ยึดที่ดิน ด้วยการสร้างระบบอุปถัมภ์ของการกู้หนี้ยืมสิน ที่ประชาชนเผชิญปัญหากับการทำมาหากิน และทำการเกษตรล้มเหลว


ในพื้นที่ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีขบวนการหว่านล้อมให้มีการขายที่ดิน เช่น กรณีพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน มีขบวนการยึดที่ดินผูกโยงตั้งแต่กลุ่มอิทธิพลข้ามชาติ และในท้องถิ่น และเกิดขบวนการคอรัปชั่นเลือกปฏิบัติในการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้อย่างรวดเร็วถ้ามีเงิน และเจ้าพนักงานที่ดินอาศัยช่องว่างของการปฏิบัติในการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่บนภูเขาสูง หรือติดทะเล ทั้งๆที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น


ดังนั้นมีความเสี่ยงหลายประการที่ประชาชนและเกษตรกรไทยต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงในที่ดินทำกินและการดำรงชีวิต การแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบจึงจำเป็นต้องปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน


การแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบมีแนวทางสำคัญ 6 ประการคือ
1)
รัฐบาลต้องมีวิสัยทัศน์เห็นความสำคัญของการวางแผนระบบการถือครองที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจของชาติและส่งผลต่อลูกหลานคนไทยที่จะมีแผ่นดินอยู่อาศัยและทำกินได้อย่างเท่าเทียมและมีศักดิ์ศรี


การจัดการที่ดินทั้งระบบต้องเกิดขึ้นโดยปฏิรูปหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องจำนวนมากให้ลดน้อยลง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของการจัดการที่ดินที่ขึ้นตรงต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการจัดระบบการถือครองที่ดิน การวางแผนการใช้ที่ดิน การจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการจัดเก็บภาษีที่ดิน บนหลักการของการพัฒนาเศรษฐกิจสองระบบ


ระบบที่หนึ่ง การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ที่สร้างขึ้นมาจากนวัตกรรมและภูมิปัญหาของชุมชนที่ใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ดูแลจากฐานทรัพยากรอาหาร และมีการพัฒนากองทุนหรือธนาคารของชุมชนที่ใช้ระบบซื้อขายแลกเปลี่ยน ที่แต่ละองค์กรแต่ละชุมชนได้พัฒนาและกำหนดราคาซื้อขายจากตลาดในท้องถิ่น หากรัฐบาลได้ศึกษาระบบเศรษฐกิจชุมชนอย่างจริงจังจะพบว่า ประเทศไทยมีเงินหมุนเวียนในตลาดมหาศาล และสร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบเศรษฐกิจที่สอง ซึ่งกำลังมีปัญหา


ระบบที่สอง การพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ประเทศไทยยังต้องเชื่อมโยงกับระบบตลาดโลก ทั้งด้านการส่งออกในผลผลิตทางการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าการบริการ แต่การพัฒนาสินค้าเหล่านั้นต้องพิจารณาจากจุดแข็งของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทย ที่ต่างประเทศไม่มี ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย สามารถสร้างสินค้าซอร์ฟแวร์ ที่แข่งขันทางการค้าได้ และสินค้าปลายน้ำที่เชื่อมโยงกับผลผลิตทางการเกษตร เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรมหนัก ที่หลายประเทศทำอยู่ เช่น สินค้าด้านการหัตถกรรม อาหาร ศิลปะ การบันเทิง และผลผลิตแปรรูปอาหาร เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจนี้จะเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนไทยได้อย่างแท้จริง


2)
การวางแผนการใช้ที่ดิน ด้วยการมีฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งผลิตอาหารในการเลี้ยงคนทั้งประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออก เพื่อวางแผนในการรักษาต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมให้ยั่งยืน และเป็นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับการกำหนดโซนนิ่งพื้นที่แต่ละระบบนิเวศควรมีการใช้ที่ดินอย่างไรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ทำลายพื้นที่แหล่งอาหารของชาติ รูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินต้องมีการศึกษาระบบเกษตรกรรมอย่างหลากหลายตามภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่แตกต่างของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์


ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ชายหาด และชายฝั่งทะเล ระบบนิเวศเหล่านี้สร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่เรายังไม่มีการศึกษาอีกจำนวนมากต่อการคิดค้นในการผลิตอาหารและสร้างนวัตกรรมให้ประโยชน์แก่โลก แต่ชาวบ้านกลับรู้ลึกซึ้งจากการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์มายาวนาน โดยขาดการเหลียวแลต่อผู้กำหนดนโยบายในการส่งเสริม และศึกษาอย่างจริงจัง พื้นที่เหล่านี้ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกทำลาย นอกจากเป็นแหล่งอาหารที่ชาวนาชาวไร่ ชาวประมงพื้นบ้าน และคนจนได้กินแล้ว พวกเขายังสร้างผลผลิตเลี้ยงคนทั้งประเทศด้วยเช่นกัน


3)
การกำหนดขอบเขตแผนที่ของที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชนให้ชัดเจน โดยให้มีหน่วยงานเดียวในการวางแผนและมีอำนาจตัดสินใจในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่ดินของรัฐ ที่ดินของเอกชน และที่ดินของชุมชนให้ชัดเจน บนหลักการของข้อ 1 และข้อ 2 บทเรียนของประเทศไทยคือ การมีสำนักงานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (สบร.) เป็นการสร้างหน่วยงานมาเพื่อปกป้องที่ดินของรัฐ แต่ผลักภาระให้ประชาชนต้องสูญเสียที่ดินจำนวนมาก จากการไร้หลักฐานเอกสารใดๆมายืนยัน


ประเด็นที่ประชาชนจะมีหลักฐานเอกสารการครอบครองที่ดินมายาวนานหรือไม่อย่างไร ไม่สำคัญ แต่ปัจจุบันนี้สภาพการทำประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนแปลงไปมาก จากการบุกเบิกที่ดินของประชาชนตามนโยบายการเปิดประเทศในการใช้ประโยชน์อย่างไร้แนวทางมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งก่อน และหลังการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นระยะเวลา 50 ปี การใช้แนวทางการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามกฎหมายโดยใช้หลักฐานเอกสารจากราชการเท่านั้น ซึ่งมีปัญหาการออกเอกสารของราชการที่ไม่ทั่วถึง ได้สร้างขบวนการคอรัปชั่นให้กับเจ้าพนักงานที่ดิน จึงมีคนไทยจำนวนมากที่มีหลักฐานการแจ้งสิทธิการครอบครอง ส..1 และตกหล่นไม่ได้เอกสารสิทธิที่ดิน


ดังนั้น การเร่งรัดแก้ไขปัญหาการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน ต้องอยู่บนหลักการคุ้มครองให้คนที่ทำประโยชน์จริง ถือครองที่ดินมายาวนานจริง ไม่ว่าจะมีหลักฐานของทางราชการหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเขาคือตัวจริงของผู้สร้างเศรษฐกิจชาติ ให้ได้รับสิทธิการถือครองที่ดิน และต้องมีการคุ้มครองคนจนที่ไร้ที่ดิน ไร้ที่อยู่อาศัยมีที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ทั้งนี้การจัดการที่ดินต้องอยู่บนหลักการที่คนไทยทุกคนต้องร่วมกันดูแลรักษาร่วมกันทั้งคนจน เกษตรกร ผู้ประกอบการ กลุ่มธุรกิจเอกชน และแน่นอนว่าถ้ารัฐบาลอุดหนุนภาคเกษตรกรรม และพัฒนาเศรษฐกิจสองระบบที่กล่าวข้างต้น คนไทยจะรักษาที่ดินไว้ถึงลูกหลาน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้เช่นกัน


4)
การกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับคนไทยทุกคนมีสิทธิในที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอย่างทั่วถึง มาตรการในการจัดเก็บภาษีที่ดินมรดกแบบอัตราก้าวหน้าเป็นกลไกสำคัญต่อการป้องกันการผูกขาดการถือครองที่ดิน และให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างทั่วถึงและกระจายไปสู่คนจนไร้ที่ดิน การป้องกันการเก็งกำไรซื้อขายที่ดินเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใช้ที่ดินเป็นสินค้าเข้าไปอยู่ในการซื้อขายในตลาดหุ้น ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ชัดในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันภูเก็ต กระบี่ และพังงา ซึ่งที่ดินส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของชาวต่างชาติแล้ว จากการใช้ชื่อร่วมกับทุนไทย


5)
การจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินสามระบบ ระบบที่หนึ่งที่ดินของรัฐ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียว ระบบที่สองที่ดินของเอกชน ควรเร่งดำเนินการให้คนไทยที่มีสิทธิถือครองที่ดินมีโฉนดที่ดินอย่างทั่วถึง ระบบที่สามโฉนดชุมชน คือการให้ชุมชนร่วมกันจัดการดูแลรักษาที่ดินและรักษาพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ระบบนิเวศ ควบคุมการซื้อขายที่ดิน มีการจัดเก็บระบบภาษีที่ดินในการซื้อขายที่ดินร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น โดยที่แต่ละครอบครัวมีโฉนดที่ดินของตนเองและมีสิทธิในการซื้อขายที่ดินภายใต้การควบคุมดูแลของชุมชน


6)
การปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน คือ การกระจายอำนาจการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชน และเป็นกลไกสำคัญในการตรวจสอบการดำเนินการของภาครัฐจากล่างขึ้นบน โดยให้ชุมชน ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในการกำหนดโซนนิ่งพื้นที่การใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม การดูแลรักษาระบบนิเวศ ฐานทรัพยากรในระบบลุ่มน้ำ ป่าต้นน้ำ และพื้นที่ระบบนิเวศที่แตกต่างกันไป การกำหนดพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร การประกอบธุรกิจ กำหนดมาตรการควบคุมการจัดสรรที่ดิน การจัดระบบกรรมสิทธิ์ การจัดเก็บภาษีที่ดิน การซื้อขายที่ดิน โดยใช้ระบบของชุมชน และอปท. ร่วมกันจัดการ แต่ทั้งนี้หน่วยงานของรัฐต้องให้ชัดเจนว่ามีหน่วยงานเดียวในการกำกับดูแล และส่งเสริมให้ชุมชนและอปท.มีศักยภาพในการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน หลักการของการปฏิรูปที่ดินก็คือ แนวคิดของ “โฉนดชุมชน”


การบริหารจัดการของชุมชนมิได้อยู่บนฐานของขอบเขตการปกครอง แต่เป็นฐานของชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ ความแตกต่างของระบบนิเวศแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นระบบนิเวศลุ่มน้ำ พื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่อ่าว พื้นที่สาธารณประโยชน์ที่ใช้ร่วมกัน ศักยภาพการรวมกลุ่มของชุมชนที่บริหารจัดการร่วมกันได้ และมีการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ร่วมกัน


อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการให้ประชาชนมีเอกสารสิทธิที่ดินทำกินที่มั่นคงยังจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วน และต้องทำไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบด้วยเช่นกัน โดยอยู่บนหลักการสามประการคือ 1) ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ต้องปกป้องไว้สำหรับคนไทยทุกคนเข้าถึงสิทธิในที่ดินอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 2) เป็นการกระจายอำนาจให้ชุมชนและประชาชนได้ร่วมบริหารจัดการที่ดิน 3) เป็นการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจจากการจัดการที่ดินบนฐานพัฒนาชุมชนและสังคมให้ยั่งยืน

 

 

 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา    การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดประเด็นการปฏิรูปที่ดิน แจกสปก. นับว่าโดนใจประชาชนที่เฝ้ารอคอย สปก. 4-01 และหวังว่าวันหนึ่งจะมีการออกเป็นโฉนดที่ดินตามแรงโฆษณาของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ปัญหาการไม่มี สปก. 4-01 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินมีจำนวนมาก มีโครงการปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีการปฏิรูปที่ดิน และยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของความซ้ำซ้อนระหว่างแนวเขตของเขตปฏิรูปที่ดินกับที่ดินของรัฐประเภทอื่น เช่น พื้นที่ป่าตามกฎหมาย ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์…
คนไร้ที่ดิน
โดย... สมจิต คงทน กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  ก่อนจะมาเป็นนารวม ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ต.สระบัว อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าสาธารณะของชุมชนที่อยู่คู่มากับหมู่บ้าน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ไว้สำหรับหาอยู่หากิน เก็บของป่า เก็บเห็ด เก็บฟืน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตแต่เมื่อปี 2538 มีกลุ่มทุนเอกชนจากนอกพื้นที่ทั้งหมด 8 ราย มาบุกรุก แผ้วถางป่าธรรมชาติดอนหนองโมง-หนองกลางของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่รวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินผืนนี้ไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
คนไร้ที่ดิน
กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า 3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม”…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชายฝั่นอันดามัน ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “ทางออกกรณียึดที่ดินชุมชนสัมปทานป่า-เลให้นายทุน” ที่ศูนย์การเรียนรู้ควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 150 คน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาที่ดินของหน่วยงานรัฐไว้อย่างน่าสนใจ…
คนไร้ที่ดิน
ศลิษา ทองสังข์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาทางการเมืองและโครงสร้าง ปัญหาที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะชาวนา หรือคนสลัม แม้แต่คนเมือง คนชั้นกลางก็ประสบปัญหาที่ดินอยู่อาศัย การใช้ประเด็นเรื่องการผูกขาดที่ดิน นักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ทุนข้ามชาติ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวมเพื่อสร้างแรงผลักดันการกระจายการถือครองที่ดินได้ ที่ผ่านมามีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตรการทางภาษีที่ดิน ตัวอย่างเช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นเวลา 10 ปี เต็ม…
คนไร้ที่ดิน
นนท์ นรัญกร   ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ บทเรียนประการแรก…
คนไร้ที่ดิน
พงษ์ทิพย์  สำราญจิตต์สังคมไทย  เป็นสังคมที่เกษตรกรและคนจนไร้ที่ดิน แทบจะไม่มีที่ยืนหรือสามารถบอกเล่าสถานะของตนเองต่อสังคมได้ โครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการตลาด  ได้ถูกผูกขาดและกำกับควบคุมโดยคนกลุ่มเล็ก บริษัทธุรกิจเอกชนที่มีเงินลงทุนมหาศาล ในสนามเศรษฐกิจที่ถูกผูกขาดไว้แล้วเช่นนี้  แน่นอนว่าเกษตรกรรายย่อยย่อมมิอาจแข่งขันได้ นี่เป็นที่มาของสภาพการณ์ในชนบทสังคมไทยที่เกษตรกรรายย่อยกำลังกลายเป็นแรงงานรับจ้างและคนจนไร้ที่ดินมากขึ้นทุกขณะ
คนไร้ที่ดิน
                                                                                                   …
คนไร้ที่ดิน
  สมจิต  คงทนกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ…