Skip to main content

นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัด


หวัดดีจ้า,

 

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น



มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านนับแต่ปี 2525 มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ครอบคลุมพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของหมู่บ้าน ในปี 2529-2527 ชาวบ้านได้รวมตัวกันปกป้องป่าประ เนื้อที่ 3,000 ไร่ คัดค้านการสัมปทานไม้ของนายทุน และเจรจาไม่ให้ชาวบ้านต่างถิ่นเข้ามาบุกเบิกป่าเป็นที่ดินทำกินเพิ่มเติม เพราะจะทำลายป่าประซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของชาวบ้าน

 

ปี 2536 มีการตั้งหน่วยอุทยานฯใกล้หมู่บ้านและกวดขัน ควบคุม จับกุม และคุกคามวิถีชีวิตของชาวบ้านมากขึ้นตามลำดับ เริ่มจากควบคุมป่าแก่ ควบคุมป่าที่เคยเป็นที่ทำกินเดิม ควบคุมป่ายาง ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก ถูกดำเนินคดีหลายราย ถูกสั่งห้ามไม่ให้โค่นยางแก่ และไม่ให้ทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

 

สำหรับการทำมาหากินของบ้านไร่เหนือสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นการทำไร่ ทำสวนสมรม ปลูกพืชท้องถิ่น ในปี 2460-2520 มีการปลูกพืชไร่เพื่อยังชีพ เช่น ข้าวไร่ กล้วย บอน พริก ขมิ้น มะเขือ เผือก เป็นต้น สวนสมรมปลูกไม้ผลนานาชนิด เช่น หมาก มะพร้าว เนียง สะตอ ทุเรียน มังคุด มะมุด มะปริง มะขาม เป็นต้น ต่อมามีการปลูกยางพาราพันธุ์พื้นเมือง ช่วงที่สองเป็นการปลูกยางพาราพันธุ์ดี ผลไม้พันธุ์ใหม่ และผักต่างถิ่น ในปี 2521 ถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังคงเหลือผัก ผลไม้สายพันธุ์ท้องถิ่นหลายชนิด โดยปลูกแบบผสมผสาน

 

การไปเยี่ยมบ้านไร่เหนือครั้งนี้ ตั้งใจว่าจะไปในช่วงปลายกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สวนมีความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตออกมามากที่สุด ยังไงไม่ได้เอาผลไม้มาฝาก ก็เอาภาพมาฝากแล้วกันนะคะ

 

องค์กรชุมชนบ้านไร่เหนือ ภูมิใจเสนอ "อธิปไตยทางอาหารในสวนสมรม" หรือการทำเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ปลูกแบบผสมผสาน ใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด พึ่งพาปัจจัยจากภายนอกให้น้อยสุดและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพค่ะ

 

 

  

ที่นี่มีโรงปุ๋ยเป็นของตัวเอง ไม่ค้ากำไร ลงขันกันทำปุ๋ย


 

พ่อหนู คนข้างหลัง ใช้ปุ๋ยชีวภาพปลูกขนุนค่ะ

 

เอ้า...เราไปชมสวนสมรม ที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพกันดีกว่า

 

 

  
ลูกละไม พ่อผมปลูกเองครับ

 

 

ทุเรียนพันธุ์นี่ ชาวสวนนิยม ขาดไม่ได้เลย

 




รถมารับซื้อถึงสวนเลย

 

  

ลองกอง กับ เงาะ

ลองกองยังได้ราคาอยู่ แต่เงาะนี่ไม่มีใครอยากขายเลย...

 

  

มังคุด ยังรอผู้มาเยือนได้เก็บกินแค่เดือนสิงหาคมนะ

 

 

  

สะตอ กับมะมุดจ้า


 

ไฟกาค่ะ สีสันสดใสมักมั่ก

 

 

  

ต้นประค่ะ ปลายกรกฎาคมนี้เริ่มเก็บลูกได้แล้ว ที่นี่มีป่าประ เป็นรายได้เสริมอย่างดีเลย

ชาวบ้านที่นี่ตั้งใจจะลงแขกเก็บลูกประ เพื่อซื้อกล้องถ่ายรูปไว้เป็นของชุมชนค่ะ

 

 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา    การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดประเด็นการปฏิรูปที่ดิน แจกสปก. นับว่าโดนใจประชาชนที่เฝ้ารอคอย สปก. 4-01 และหวังว่าวันหนึ่งจะมีการออกเป็นโฉนดที่ดินตามแรงโฆษณาของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ปัญหาการไม่มี สปก. 4-01 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินมีจำนวนมาก มีโครงการปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีการปฏิรูปที่ดิน และยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของความซ้ำซ้อนระหว่างแนวเขตของเขตปฏิรูปที่ดินกับที่ดินของรัฐประเภทอื่น เช่น พื้นที่ป่าตามกฎหมาย ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์…
คนไร้ที่ดิน
โดย... สมจิต คงทน กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  ก่อนจะมาเป็นนารวม ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ต.สระบัว อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าสาธารณะของชุมชนที่อยู่คู่มากับหมู่บ้าน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ไว้สำหรับหาอยู่หากิน เก็บของป่า เก็บเห็ด เก็บฟืน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตแต่เมื่อปี 2538 มีกลุ่มทุนเอกชนจากนอกพื้นที่ทั้งหมด 8 ราย มาบุกรุก แผ้วถางป่าธรรมชาติดอนหนองโมง-หนองกลางของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่รวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินผืนนี้ไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
คนไร้ที่ดิน
กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า 3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม”…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชายฝั่นอันดามัน ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “ทางออกกรณียึดที่ดินชุมชนสัมปทานป่า-เลให้นายทุน” ที่ศูนย์การเรียนรู้ควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 150 คน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาที่ดินของหน่วยงานรัฐไว้อย่างน่าสนใจ…
คนไร้ที่ดิน
ศลิษา ทองสังข์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาทางการเมืองและโครงสร้าง ปัญหาที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะชาวนา หรือคนสลัม แม้แต่คนเมือง คนชั้นกลางก็ประสบปัญหาที่ดินอยู่อาศัย การใช้ประเด็นเรื่องการผูกขาดที่ดิน นักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ทุนข้ามชาติ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวมเพื่อสร้างแรงผลักดันการกระจายการถือครองที่ดินได้ ที่ผ่านมามีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตรการทางภาษีที่ดิน ตัวอย่างเช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นเวลา 10 ปี เต็ม…
คนไร้ที่ดิน
นนท์ นรัญกร   ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ บทเรียนประการแรก…
คนไร้ที่ดิน
พงษ์ทิพย์  สำราญจิตต์สังคมไทย  เป็นสังคมที่เกษตรกรและคนจนไร้ที่ดิน แทบจะไม่มีที่ยืนหรือสามารถบอกเล่าสถานะของตนเองต่อสังคมได้ โครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการตลาด  ได้ถูกผูกขาดและกำกับควบคุมโดยคนกลุ่มเล็ก บริษัทธุรกิจเอกชนที่มีเงินลงทุนมหาศาล ในสนามเศรษฐกิจที่ถูกผูกขาดไว้แล้วเช่นนี้  แน่นอนว่าเกษตรกรรายย่อยย่อมมิอาจแข่งขันได้ นี่เป็นที่มาของสภาพการณ์ในชนบทสังคมไทยที่เกษตรกรรายย่อยกำลังกลายเป็นแรงงานรับจ้างและคนจนไร้ที่ดินมากขึ้นทุกขณะ
คนไร้ที่ดิน
                                                                                                   …
คนไร้ที่ดิน
  สมจิต  คงทนกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ…