Skip to main content

ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้น


ข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ทางด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ โดยมีสาระสำคัญคือ การผลักดันให้ทุกประเทศสมาชิก พัฒนา ICT เพื่อใช้เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ


ที่ประชุมชี้ชัดว่า เงื่อนไขความสำเร็จดังกล่าว อยู่ที่การผลักดันให้บริการ Broadband internet เข้าถึงทุกครัวเรือนในทุกประเทศสมาชิก (เป้าหมายภายในปี 2558) และพัฒนาอุตสาหกรรม ICT โดยเน้นไปที่ 5 ประเด็นหลักคือ การสร้างขีดความสามารถด้าน ICT, การส่งเสริมให้มีบริการอย่างทั่วถึง, กรอบการกำกับดูแลที่สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด, การสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นด้านไอซีที, และการยกระดับกิจกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยบนโลก Cyber


เมื่อมองที่ 5 ประเด็นหลักข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า APEC เร่งสร้างความเชื่อมั่น ให้กับประชาชนในประเทศสมาชิก ว่าความปลอดภัยของตลาดบนโลก Cyber อยู่ในระดับที่ไว้วางใจได้ เพื่อมุ่งขยายตลาดบนโลก Cyber


ข่าวดังกล่าวตอกย้ำ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ที่ยังคงมุ่งสู่การโลกาภิวัฒน์ โดย ICT กลายเป็นกลจักรสำคัญ ที่ช่วยเร่งให้เกิดการพัฒนาในทิศทางดังกล่าว อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับประเทศ ทางด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ ยังมอง ICT จากมุมของการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เพียงด้านเดียว


ท่านผู้อ่านอาจแย้งว่า แนวนโยบายดังกล่าว ออกมาจากการประชุมด้านเศรษฐกิจ จึงมีสาระสำคัญเช่นนั้น แต่ประเด็นที่อยากจะชี้ให้เห็นคือ ผู้ที่กำหนดแนวนโยบายดังกล่าว คือผู้นำทางด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ ซึ่งจักต้องคำนึงถึง ประโยชน์และผลกระทบของ ICT ที่มีต่อทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มสังคมหนึ่ง สามารถเจิรญก้าวหน้าอย่างมั่นคง


SenseMaker
เชื่อว่า ภาคเศรษฐกิจ ไม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน หากภาคสังคม ไม่สามารถคงอยู่ได้อย่างผาสุข นั่นหมายถึง ภายใต้แนวนโยบาย ซึ่งเน้นไปที่การเติบโต ทางภาคเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่มีต่อภาคสังคม ย่อมไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อย่างมั่นคง


ประเด็นข้างต้น สามารถวิพากษ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยอาศัยสองข่าว ที่เกี่ยวกับ “เว็บเครือข่ายสังคม (Social Network)” ซึ่งข่าวแรกเกี่ยวกับ ผลสำรวจจากสหรัฐและแคนาดา เกี่ยวกับการจัดหางานชี้ ผู้บริหารระดับสูง มองเว็บเครือข่าย และเว็บชุมชนออนไลน์ (เช่น Hi5, MySpace, และ Facebook) จะถูกใช้เป็นแหล่งจัดหางาน ในระดับคุณภาพในอีก 3 ปีข้างหน้า และข่าวที่สองซึ่งนำเสนอ กระแสการใช้เว็บ Hi5 ในทางลามกอนาจาร เช่น ใช้เป็นแหล่งเผยแพร่ภายโป๊ หรือเป็นแหล่งติดต่อกลาง สำหรับผู้ที่ชอบสับเปลี่ยนคู่นอน (swinging sex)


เว็บเครือข่ายสังคม คือตัวอย่าง ICT ที่สามารถถูกใช้ประโยชน์ ในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังเช่นการถูกใช้เป็นแหล่งหางาน ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับการว่าจ้าง ทำให้มีรายได้ใช้จ่าย องค์กรต่างๆได้บุคคลากร ที่มีคุณภาพตามต้องการไปใช้งาน ทำให้องค์กรทางเศรษฐกิจเติบโต


ขณะเดียวกันก็สามารถก่อให้เกิด ผลกระทบเชิงลบทางสังคม ดังเช่นการถูกใช้ไปในทางลามกอนาจาร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคม เช่นความตกต่ำด้านศีลธรรมในสังคม และการแพร่กระจายของโรคติดต่อร้ายแรงทางเพศ

จากข่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังก้าวไปข้างหน้า สังคมอาจกำลังถูกคุกคาม ถูกทำให้เสื่อม ตกต่ำ หรือถูกทำลาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากเทคโนโลยีเดียวกัน


ความพยายามผลักดัน ให้เทคโนโลยี ICT เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นอกจากจะก่อปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังก่อให้เกิดภาวะปัญหาที่เรียกว่า “ภัยคุกคามทางเทคโนโลยี” ซึ่งหมายถึง สถานการณ์ซึ่งความไม่เท่าทันเทคโนโลยี ของประชาชนหรือผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นผู้ใช้ปลายทางของเทคโนโลยี ถูกใช้ประโยชน์โดยอาชญากร ในการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่างๆ


ไม่เพียงเท่านั้น อาชญากรยังใช้ประโยชน์จากความไม่เท่าทันเทคโนโลยี ของผู้ที่มีหน้าที่ออกกฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ดูแลผลกระทบ ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม จากการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ทำให้ภาคสังคมขาดซึ่งกฎหมาย และกระบวนการป้องปรามอาชญากรทางเทคโนโลยี ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะถูกใช้ควบคุมและป้องปราม ภัยคุกคามทางเทคโนโลยี


ผลที่ตามมา ทำให้ผู้มีหน้าที่ออกกฎหมาย และ ผู้มีหน้าที่ดูแลผลกระทบ จากการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ไม่สามารถควบคุมดูแลภาคสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที และก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง

ปัญหาดังกล่าว ถูกสะท้อนผ่านข่าวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข่าวการสร้างหน้าเว็บไซท์ ธนาคารพาณิชย์ปลอม เพื่อดักข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ที่ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ ของผู้เคราะห์ร้าย เพื่อใช้ในการก่ออาชญากรรมออนไลน์ กับบัญชีของเหยื่อต่อไป หรือเป็นการทำทีว่าติดต่อมาจาก ศูนย์บัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเหยื่อมีบัญชีอยู่ แจ้งให้เหยื่อทราบว่า เกิดความผิดปกติด้านความปลอดภัย ของระบบบัตรเครดิต จึงขอให้เหยื่อ แจ้งยืนยันข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ พร้อมทั้งรหัสผ่านเดิม เพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของบัตรตัวจริง เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านความปลอดภัยใหม่ ซึ่งภายหลังอาชญากร ก็จะนำข้อมูลเหล่านั้น ไปปลอมแปลงบัตร และนำไปใช้งาน เนื่องจากได้รหัสผ่านจากเหยื่อแล้ว


สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถสะท้อนให้เห็นว่า การนำเทคโนโลยี ICT มาใช้ประโยชน์ ไม่อาจเกิดขึ้น เพียงเพราะความต้องการจากภาคเศรษฐกิจแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ภาคสังคมจะต้องถูกปกป้อง ด้วยการตระหนักถึงผลกระทบต่อภาคสังคมไปพร้อมกับการคำนึงถึงผลประโยชน์ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจ โดยการสร้างและกระจายความรู้เท่าทันเทคโนโลยีอย่างเพียงพอและทันท่วงทีให้กับผู้ที่มีหน้าที่ออกและบังคับใช้กฎหมายให้กับผู้ที่ดูแลผลกระทบที่มีต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม และให้กับประชาชนซึ่งเป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยี


SenseMaker
เอาใจช่วย ขอให้ภาคเศรษฐกิจและภาคสังคม ของประเทศไทย เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ประโยชน์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี ICT ไปพร้อมๆกัน

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…