Skip to main content

ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง


ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก และทุกข์ทรมานอยู่ในค่ายนรกนั้นหลายปีกระทั่งสงครามสงบ เขาเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตไม่กี่คนที่กลับมาบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้ยินและ ได้อ่านกัน


ทองแท้” แปลงานชิ้นนี้มาจากผลงานของนักเขียนรางวัลโนเบล “คาลติช อิมเร่” เขาเป็นนักเขียนชาวฮังการีเชื้อสายยิว เกิดที่กรุงบูดาเปสต์ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน แม้ว่าตอนนั้นเขาอายุเพียง 14 ปีแต่ก็เป็นเช่นเดียวกับยิวคนอื่น ๆ ในยุโรปคือถูกส่งเข้าค่ายกักกันเมื่อนาซีเยอรมันแผ่ขยายอำนาจในมหาสงคราม


เขาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความเป็นยิวของตนเองที่ทำให้เขาต้องประสบเคราะห์กรรม หลังรับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ค.. 2002 ว่า

ผมไม่ใช่ยิวที่เคร่งครัดนักแต่เพราะผมเป็นยิว ผมจึงถูกส่งไปเอาส์ชวิตส์ เพราะผมเป็นยิว ผมถึงต้องอยู่ในค่ายมรณะนั้นและเพราะผมเป็นยิว ผมจึงต้องทนอยู่ในสังคมที่เกลียดยิว สังคมที่มีอคติต่อคนยิวสูงมาก ผมมีความรู้สึกว่า ผมถูกบีบบังคับให้ยอมรับความเป็นยิว ใช่ ผมเป็นยิว ผมยอมนับแต่มันหนักหนาเกินไปกับการที่จะลงโทษผม แค่เพราะผมเป็นยิว” (คำนำสำนักพิมพ์)


ชะตาลิขิต” เป็นวรรณกรรมที่เรียกได้ว่า “หนัก” อย่างแท้จริง อัดแน่นไว้ด้วยรายละเอียดของสภาพภายในค่ายกักกัน และให้ความสำคัญกับการบรรยายสิ่งละอันพันละน้อยที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันชนิดที่อ่านแล้วรู้สึกเบื่อ เป็นสัจนิยมแท้ ๆ ที่ตั้งอกตั้งใจบรรยายฉากและสิ่งที่ปรากฎรอบตัวเหมือนกับว่าต้องการให้ผู้อ่านเข้าไปสัมผัสเรื่องราวให้มากที่สุด นี่เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของวรรณกรรมในแนวนี้ที่ผู้เขียนมีส่วนร่วมโดยตรง


อย่างไรก็ตาม ความเจ็บปวดของคนอื่นนั้นเป็นสิ่งไม่มีใครอยากรับรู้ ไม่มีใครต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับความทุกข์ของคนอื่น การนำผู้อ่านเข้าไปสู่โลกแห่งการกักกันอันทรมานแบบที่ชาวยิวได้รับจะทำให้ผู้อ่านพลอยเหน็ดเหนื่อยไปด้วย


ผู้เขียนเล่าเรื่องผ่านมุมมองของเด็กหนุ่ม ที่เฝ้ามองอย่างงุนงงกับการจากไปของพ่อสู่ค่ายกักกัน ถัดจากพ่อไม่นานนักก็ถึงคราวของเขาเอง ในเวลาต่อมาเมื่อเข้าไปในค่ายแล้ว เขาก็ได้พบกับสิ่งที่เขาไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้เจอ


ผมกลายเป็นคนแก่เฒ่าเหี่ยวเฉาภายในเวลาอันสั้น ถ้าอยู่บ้าน กว่าจะแก่ชราขนาดนี้ต้องใช้เวลาห้าสิบถึงหกสิบปีแน่ ๆ แต่อยู่ที่นี่เพียงสามเดือนก็นานพอทำให้ร่างกายผมทรุดโทรมลงพอกันได้แล้ว ผมว่าไม่มีสิ่งใดน่าเศร้าไปกว่าการคอยนับวันแต่ละวันที่ร่างกายของเราค่อย ๆ ตายลงไป ปกติร่างกายผมแข็งแรงดีและผมชื่นชมร่างกายตัวเองเสมอ ผมยังจำตอนบ่ายในฤดูร้อนวันหนึ่งได้ ผมอ่านนวนิยายที่ตื่นเต้นเร้าใจอยู่ในห้องที่เย็นสบาย ระหว่างนั้นผมลูบน่องเล่นอย่างมีความสุข ผิวของผมเนียน มีขนสีทอง ที่น่องมีสีคล้ำเพราะโดนแดดและแข็งเกร็งด้วยกล้ามเนื้อ แต่ตอนนี้ผิวหนังเดียวกันนี้หย่อนคล้อย ผิวแห้งมีริ้วรอยและเป็นสีเหลือง แถมยังเป็นแผล มีหนอง มีรอยด่างสีน้ำตาลและรอยแผลฉีกตกสะเก็ดปุปะไปหมด ผมเริ่มรำคาญนิ้วมือที่คันคะเยอ ผู้เชี่ยวชาญอย่างซีตรอม บันดิ ผงกหัวและลงความเห็นว่าเป็นโรคเรื้อน ผมงงไปหมด รู้สึกสิ้นเรี่ยวสิ้นแรง เนื้อที่ห่อหุ้มกระดูกละลายหายไปทุกวัน มีสิ่งแปลกประหลาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามร่างกายที่เมื่อก่อนเคยเป็นเพื่อนที่ดีของผม ผมไม่สามารถมองดูร่างกายโดยไม่รู้สึกเจ็บปวดและเกลียดชังได้ ดังนั้นผมจึงไม่ถอดเสื้ออาบน้ำอีก” (หน้า 111)


นี่เป็นวรรณกรรมที่ไม่เหมาะสำหรับคนที่มองหารสชาติกลมกล่อมจากการอ่าน แต่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการศึกษาวิธีการเขียนเชิงสัจนิยมที่ให้ความสำคัญกับการคบรรยายสถานการณ์ ฉาก ลักษณะทางกายภาพ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร เป็นวรรณกรรมประจักษ์พยานที่ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอความบันเทิงแต่อย่างใด แต่มุ่งเสนอเรื่องราวความโหดร้ายที่เคยเกิดขึ้นจริงในลักษณะที่เหมือนกับเอามาวางแผ่ลงต่อหน้า (จึงเป็นธรรมดาที่วรรณกรรมเล่มนี้จะไม่เป็นที่รู้จักกันแม้เมื่อแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้วก็ตาม)


คาลติช อิมเร่” ฝังใจกับประสบการณ์จากค่ายกักกันมาก มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขาที่ปฏิเสธไม่ได้ ลืมไม่ลง นอกจากจะเป็นความทรงจำเจ็บปวดส่วนตัวแล้ว เขายังเรียกว่าเป็นหายนะแห่งมนุษยชาติ


แต่เป็นหายนะที่มีคุณค่ายิ่งนัก เพราะได้สร้างความตระหนักรู้อย่างยิ่งใหญ่ที่ไม่สามารถจะเอามาตรวัดใด ๆ มาวัดได้เพราะการตระหนักรู้นั้นมาจากความระทมทุกข์ที่หาที่เปรียบมิได้และสิ่งนี้เป็นบ่อเกิดแห่งการระลึกในคุณธรรมที่ประมาณมิได้


บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…