Skip to main content

โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุด

อย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน ผ่านการสร้าง เข้าถึง และได้มาซึ่งข้อมูล สำหรับการสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการแข่งขัน และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนมากกว่าเดิม

นอกจากโลกในปัจจุบัน จะได้ชื่อว่าเป็นโลกยุคหลังอุตสาหกรรม มันยังถูกเรียกขานในอีกหลายชื่อตั้งแต่ “โลกยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age)” โลกยุคเศรษฐกิจองค์ความรู้ (Knowledge Economy)” และ “โลกยุคเศรษฐกิจบริการ (Service Based Economy)” ซึ่งชื่อทั้งหมดข้างต้น แตกต่างกันไปตามบริบท และมุมองของผู้รู้ในแต่ละด้าน

แน่นอนว่า เมื่อมองจากบริบทของโลกยุคข้อมูลข่าวสาร และ โลกยุคเศรษฐกิจองค์ความรู้ ผู้รู้จากทั้งสองบริบทดังกล่าว ตระหนักถึงปรากฏการณ์ที่ข้อมูลและองค์ความรู้ เป็นตัวแปรสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจ จนส่งผลถึงการได้มาซึ่งชื่อของยุค


ส่วนในบริบทของโลกยุคเศรษฐกิจบริการ แม้ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าว อาจสะท้อนออกมาไม่ชัดเจน อย่างในสองบริบทแรก แต่ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ในยุคของเศรษฐกิจบริการ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค มีความต้องการบริโภคข้อมูล เพิ่มขึ้นอย่างมาก

นั่นคือในขณะที่ผู้ผลิต จำเป็นที่จะต้องสร้างและใช้งานฐานข้อมูลลูกค้า พร้อมทั้งฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่ง การพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งความเข้าใจในตลาดและความต้องการของลูกค้า ที่จะะทำให้ตนสามารถสร้างสินค้าพร้อมกับบริการ ที่มีประสิทธิภาพตรงและทันกับความต้องการ ของลูกค้า ซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้นได้

ในขณะเดียวกัน ลูกค้าก็จำต้องบริโภคข้อมูลมากขึ้นเช่นกัน เพื่อศึกษาสินค้าและบริการ ที่มีมากมายอยู่ในตลาด และเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทั้งในแง่ของจำนวนและข้อมูลสินค้า เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ดีที่สุด ที่ตรงกับเงื่อนไขและความต้องการ

เมื่อกล่าวโดยสังเขป ลักษณะเฉพาะของโลกยุคนี้คือ ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต่อการดำรงอยู่ทางสังคมและเศรษฐกิจ ของทั้งระดับปัจเจกบุคคลและองค์กร โดยตัวบ่งชี้สำคัญของปรากฏการณ์นี้คือ ปริมาณการลงทุน ในเทคโนโลโยสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการประมวลผลและการกระจายข้อมูลต่างๆ ในทุกระดับทั่วโลก ไปจนถึงการขยายตัวของทั้งจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนต รวมทั้งขนาดและปริมาณธุรกิจที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์

นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะมองจากบริบทใด ปริมาณข้อมูลทั่วโลกมีแต่จะเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น ในทุกวินาทีที่ผ่านไป ซึ่งหลักฐาน ทั้งในระดับของปัจเจกบุคคลและระดับองค์กร ปรากฎอย่างเด่นชัด ดังนี้

ในระดับปัจเจกบุคคล การที่แต่ละปัจเจกบุคคล มีและใช้ที่อยู่อีเมล (Email address) มากกว่าหนึ่งที่อยู่ รวมถึงปริมาณที่เพิ่มขึ้นของจำนวนอีเมลที่ดี ฟอร์เวิร์ดเมลจากเพื่อน และอีเมลขยะต่างๆ (Spam mail) ไปจนถึง การสร้างและปรับปรุงข้อมูลรายวัน ในลักษณะของ Blog หรือพื้นที่ส่วนตัวบนเครือข่ายสังคม (Social Network) ต่างๆ เช่น Facebook Hi5 และ MySpace

นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การเกิดขึ้นและเป็นที่นิยม ในหมู่ประชากรบนโลกไซเบอร์ ของเว็บไซท์ที่แบ่งปันข้อมูลในลักษณะสื่อผสม (Multimedia Portal) ต่างๆ เช่น Youtube (Video) และ Flickr (Picture)

ส่วนในระดับองค์กร การที่แต่ละองค์กร ในทุกระดับ เร่งสร้างระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูล ตั้งแต่ระบบ Database Management ระบบ Data Warehouse ระบบ Data Mining ไปจนถึงการเกิดและเป็นที่นิยมของระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relation Management (CRM)) ระบบวางแผนจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning (ERP)) และระบบจัดการเครือข่ายการผลิต (Supply Chain Management)

ยิ่งไปกว่านั้น แนวความคิดต่างๆ ในการปรับปรุงองค์กร เช่น การมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organisation หรือ Knowledge Based Organisation) การเร่งสร้างบริการขององค์กรผ่านอินเตอร์เนต เช่น e-government เป็นต้น หรือเพื่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร ไปสู่องค์กรเสมือน (Virtual Organisation) ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว

จะเห็นได้ว่าทุกกิจกรรมข้างต้น ไม่ว่าจะในระดับปัจเจกบุคคล หรือในระดับองค์กร มีเป้าหมายอย่างเดียวกัน นั่นคือ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการสร้าง จัดเก็บ กระจาย และทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถถูกนำมาใช้ เมื่อต้องการได้ทันที

อย่างไรก็ดี ทุกสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะสร้างประโยชน์ ตามเป้าหมายที่ทุกคนต้องการ การโตขึ้นของปริมาณข้อมูลทั่วโลก ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องโดยตรงของมัน กำลังก่อให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “ข้อมูลท่วมโลก” ซึ่งมันกำลังส่งผลกระทบในวงกว้าง ในหลายบริบท ซึ่งในบางบริบท ได้เกิดเป็นประเด็นข่าว บนหน้าเว็บหนังสือพิมพ์หลักๆของโลกแล้ว ดังนี้

ข่าวแรกอ้างอิงจากคอลัมพ์หนังสือพิมพ์ Guardian ประเทศอังกฤษ (www.guardian.co.uk) ซึ่งคุณ Gernot Pehnelt นำเสนอประเด็นสำคัญนั่นคือ การขยายขนาดช่องสัญญาณอินเตอร์เนต ที่อาจไม่ทันกับการขยายตัวของปริมาณข้อมูล ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จนทำให้เกิดการติดขัดของการรับส่งข้อมูล โดยยกตัวอย่างการเกิดขึ้นและเป็นที่นิยมของเว็บไซท์ ซึ่งต้องใช้ช่องสัญญาณในการรับส่งสูงอย่าง Youtube และเว็บผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบ High-Definition บนอินเตอร์เนต (ซึ่งต้องการช่องสัญญาณ มากกว่าการเข้าเว็บไซท์ทั่วไป 35,000 เว็บพร้อมกัน)

นอกจากนั้น ยังมีประเด็นสำคัญต่อเนื่องที่ว่า จากแนวโน้มข้างต้น จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องจัดลำดับ เพื่อให้ข้อมูลที่มีความสำคัญมากกว่า ถูกส่งผ่านไปก่อน (โดยเปรียบเทียบความสำคัญ ของการส่งข้อมูลของการรักษาระยะไกลผ่านอินเตอร์เนต (Telemedicine) ซึ่งไม่ควรทำให้การรับส่ง ถูกขัดขวาง หรือล่าช้า โดยข้อมูลประเภทอื่นๆ ที่มีความสำคัญน้อยกว่า เช่นข้อมูลของการ download เพลง) เพราะนั่นจะเป็นการทำลาย อิสรภาพในการส่งข้อมูล ผ่านอินเตอร์เนตอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประเภทไหนก็ตาม (Network Neutrality) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เนต ได้รับความนิยมอย่างมากมาย เฉกเช่นในปัจจุบัน

ข่าวถัดมา เป็นข่าวจากคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ International Herald Tribune รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา (www.iht.com) ซึ่งคุณ Kevin J. O'Brien วิพากษ์ประเด็นที่ว่า เมื่อโลกต้องการขนาดช่องสัญญาณอินเตอร์เนตที่กว้างขึ้น เพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ใครคือผู้ที่ควรแบกภาระดังกล่าว ระหว่างผู้ให้บริการอินเตอร์เนต ที่มีรายได้โดยตรงจากการให้บริการเชื่อมต่อช่องสัญญาณอินเตอร์เนต กับ ผู้ให้บริการเนื้อหาบนอินเตอร์เนต ซึ่งหาประโยชน์และมีรายได้ จากข้อมูลที่อยู่บนพื้นที่จัดเก็บของตน เนื่องจากในขณะนี้ดูเหมือนว่า ผู้ให้บริการเนื้อหาบนอินเตอร์เนต เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดสภาวะข้อมูลท่วมโลก

นอกจากนั้นยังมีประเด็นต่อเนื่องเกี่ยวกับ การบริหารจัดการคุณภาพและขนาดช่องสัญญาณอย่างเป็นธรรม ของผู้ให้บริการอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นผลมาจาก การบริโภคข้อมูลและความต้องการช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก เพื่อให้ ผู้ให้บริการอินเตอร์เนต ยังมีแรงจูงใจที่จะขยายช่องสัญญาณ เพื่อรองรับสภาวะดังกล่าว และสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ ในขณะที่ผู้บริโภค ได้รับบริการในระดับคุณภาพ ที่พึงได้ตามสัญญา

นอกจากผลกระทบ ที่ถูกสะท้อนโดยสองข่าวข้างต้น ในทัศนะของข้าพเจ้า สภาวะข้อมูลท่วมโลก ยังมีผลกระทบในอีกหลายบริบท เช่น บริบทของความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) คือเมื่อข้อมูลเพิ่มมากขึ้นๆ แล้วเราจะดูแลข้อมูลอย่างทั่วถึงอย่างไร เพื่อไม่ให้รั่วไหล เพื่อรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality) เพื่อให้ข้อมูลไม่ถูกแก้ไขโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ (Integrity) และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกครั้งที่ต้องการ (Availability) นอกจากนั้นยังนำไปสู่การเสี่ยงต่อการเสียความเป็นส่วนตัวของแต่ละปัจเจกบุคคล (Individual Privacy)

ในบริบทของประสิทธิภาพการทำงาน ตราบใดที่มนุษย์ยังมีเวลาในแต่ละวันเท่าเดิม การมีข้อมูลอยู่มากมาย จนบางครั้งมากเกินไป ใช่ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังจะเห็นจากทุกวันนี้ มนุษย์ต้องใช้เวลามากขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลและข่าวสาร ที่มีให้บริโภคอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอีเมลซึ่งในปัจจุบันข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า แต่ละปัจเจกบุคคลมีที่อยู่อีเมลมากกว่าหนึ่งที่อยู่ ให้อ่านและจัดการ นอกจากนั้นยังต้องวุ่นกับข้อมูลในระบบต่างๆ ที่มีแต่จะเพิ่มขึ้น ทั้งในเรื่องงาน (ระบบงานต่างๆ ดังตัวอย่างข้างต้น) และสังคมส่วนตัว (การเล่น Blog และ เว็บเครือข่ายสังคมต่างๆ) ซึ่งแน่นอนว่า มนุษย์ต้องการความรู้และความสามารถ ในการเรียนรู้ จัดการ และเลือกรับบริโภคข้อมูลเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทักษะในการบริหารจัดการเวลาที่ดีขึ้น

สุดท้าย ในบริบทของการลงทุน ปัจจุบัน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและองค์กร ต้องการเงินลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือและระบบต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูล นั่นหมายความว่า ยิ่งข้อมูลมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ความต้องการเครื่องมือข้างต้น ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

ภาพสะท้อนทั้งหมดข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ของการเพิ่มขึ้นของข้อมูล ในโลกยุคหลังอุตสาหกรรม ที่ทุกคนต้องตระหนักไว้เสมอว่า ในขณะที่เราได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เพิ่มขึ้น เราจำต้องรู้เท่าทันผลกระทบต่างๆ เพื่อให้สามารถแบกรับภาระต่างๆที่เกิดขึ้นตามมา รวมทั้งความจำเป็นในการได้มาซึ่งความรู้ ความสามารถ และทักษะที่เหมาะสม เพื่อจัดการกับทั้งข้อมูล และเพื่อให้เราสามารถสร้างสมดุลย์ระหว่างประโยชน์และภาระที่เกิดขึ้นได้ ในท้ายที่สุด


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…