Skip to main content
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12


นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย


"โลกนี้ยังมีเพื่อน" เขียนโดย "ศรีเกศมณี" เป็นเรื่องราวของตุ๊กตาสองตัวที่มีชีวิตจิตใจ รู้จักคิด รู้จักเจ็บเหมือนสิ่งมีชีวิตทั่วไป ตุ๊กตาทั้งสองตัวมีความแตกต่างกันมาก ตัวหนึ่งเป็นตุ๊กตาไม้ผอมกะหร่อง ชื่อ "ไม้ซีก" กับตุ๊กตาผ้าตัวอ้วนที่ชื่อ "กระสอบ" ทั้งสองตัวโคจรมาพบกันด้วยความบังเอิญ


ตุ๊กตาไม้ "ไม้ซีก" นั้นเป็นหนี้บุญคุณของตุ๊กตาผ้า "กระสอบ" เพราะ "กระสอบ" ได้ช่วยชีวิตเขาไว้จากการจมน้ำ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา "ไม้ซีก" ก็คอยติดสอยห้อยตาม "กระสอบ" ไปไหนมาไหนอยู่เสมอ แต่ "กระสอบ" เป็นตุ๊กตาที่ขี้หงุดหงิดและไม่ค่อยชอบใจที่ "ไม้ซีก" ติดตามเขาไปทุกหนทุกแห่งเหมือนเงาตามตัว อันที่จริง "กระสอบ" ไม่ได้รังเกียจ "ไม้ซีก" เพียงแต่ว่าเขาเขินอายที่จะมีเพื่อน

"เพื่อนเรอะ... ฉันไม่ชอบคำนี้หรอก ฉันอยู่คนเดียวสบายดี" กระสอบว่า

"แต่คนเราต้องมีเพื่อนนะ เพื่อนช่วยไม่ให้นายเหงาไงล่ะ" ไม้ซีกบอก

"ฉันไม่เปลี่ยนใจ ฉันไม่ต้องการเพื่อน นายไปเสียเถอะ" กระสอบพูดหนักแน่น (หน้า 13)


ทั้งสองตัวโต้เถียงกันแบบนี้เสมอ แต่ก็คืนดีกันอย่างรวดเร็วโดยลืมไปแล้วว่าเคยงอนกันด้วยเรื่องอะไร


"ไม้ซีก" ได้มีโอกาสตอบแทนบุญคุณที่ "กระสอบ" เคยช่วยชีวิตเขาไว้ด้วยการช่วยชีวิต "กระสอบ" กลับคืน


หลังจากที่ทุ่มเถียงกันครั้งแล้ว ครั้งเล่า ด้วยเรื่องที่ว่า "กระสอบ" ไม่ต้องการให้ "ไม้ซีก"ติดตาม ทั้งคู่จึงตกลงกันว่าหลังจากที่เดินข้ามสะพานข้างหน้าแล้วจะแยกย้ายกันไปตามทางของตัวเอง


"ไม้ซีก" เดินข้ามไปก่อน เขาตัวเบาจึงเดินผ่านสะพานไม้ผุ ๆ ไปได้อย่างสบายในขณะที่ "กระสอบ" นั้นมีน้ำหนัก อุ้ยอ้าย เขาค่อย ๆ ย่องไปจนเกือบถึงปลายสะพานอีกฝั่งหนึ่งได้อยู่แล้ว แต่สะพานไม้เกิดหักขึ้นมาเพราะรับน้ำหนักของกระสอบไม่ไหว "กระสอบ" หล่นลงไปลอยคออยู่ในลำธาร น้ำซึมเข้าไปในตัวเข้าเรื่อย ๆ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนเขาใกล้จะจม


"ไม้ซีก" ยื่นขาของเขาลงไปเพื่อให้ "กระสอบ" เกาะไว้ ตุ๊กตาทั้งสองฉุดกันไปมาอย่างทุลักทุเล ที่สุดแล้ว "ไม้ซีก" ก็สามารถดึงเพื่อนขึ้นมาได้สำเร็จทั้งคู่จึงกลายเป็นเพื่อนรักที่ขาดกันไม่ได้ แม้ว่าทั้งคู่จะเป็นตุ๊กตาไม่มีราคาที่ถูกทอดทิ้งแต่ก็ยังมีเพื่อนที่คอยช่วยเหลือกันและกัน ชีวิตจึงไม่เลวร้ายจนเกินไปเพราะโลกนี้ยังมีเพื่อน


"นักวาดพู่กันวิเศษ" เขียนโดย "สุริยัน สุดศรีวงศ์" เป็นนิทานที่ได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม จินตนาการของผู้เขียนเรียกได้ว่า "บรรเจิด" เสียจนดูเหมือนว่าแทบจะหาที่สิ้นสุดไม่ได้


เริ่มที่สายรุ้งของนางฟ้าน้อยถูกเครื่องบินไอพ่นวิ่งชนจนเส้นโค้งรุ้งขาดปลิวหายไป นางฟ้าน้อยต้องหาทางแต่งแต้มสายรุ้งให้กลับมาประดับประดาท้องฟ้าเหมือนเดิมให้ได้ พญาวิหคแนะนำว่าต้องไปหา "คุณบรรจง" จิตรกรเอกที่เก่งที่สุดบนโลกมนุษย์เพื่อให้ช่วยวาดสายรุ้งให้ เขาเคยช่วยเหลือเทวดาน้อยที่ทำดาวเหนือจมหายไปในทะเลโดยใช้พู่กันทองคำวาดดาวเหนือขึ้นมาใหม่ที่ดูเหมือนของจริงมาก


จิตรกรเอกบอกแก่นางฟ้าน้อยว่าการวาดภาพรุ้งกินน้ำเป็นงานที่ไม่ง่ายเลยเพราะสีสันสดสวยหลากหลายนั้นต้องใช้แม่สีที่หายากยิ่งเท่านั้นจึงจะวาดได้ เขาจึงออกเดินทางไปยังดินแดนสามแห่งเพื่อสาแม่สีสามสี


ที่แห่งแรกที่จิตรกรเอกไปก็คือภูเขาที่สูงที่สุดในโลก สูงเหนือก้อนเมฆทุกก้อนจึงอยู่ใกล้ชิดดวงอาทิตย์มากที่สุด พืชผลบนภูเขาแห่งนี้มีสีแดงสดสวยเพราะได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่โดยมีคนแคระเคราแดงเป็นเจ้าของภูเขา คนแคระเคราแดงยินดีที่จะมอบสีแดงให้โดยการคั้นเอาจากน้ำมะเขือเทศ


สถานที่ต่อมาที่จิตรกรเอกต้องเดินทางไปคือก้นทะเลที่ลึกที่สุด อันเป็นถิ่นที่อยู่ของนางเงือกเพื่อเสาะหาสีน้ำเงิน ราชินีเงือกยินดีที่จะมอบสีน้ำเงินที่บรรจุอยู่ในเปลือกหอยสังข์ให้โดยไม่ขัดข้อง


"อันว่าสีน้ำเงินที่เรามอบให้แก่ท่านนั้น นับเป็นสุดยอดของแม่สีโดยแท้ ทำขึ้นมาจากน้ำหมึกสีน้ำเงินของปลาหมึกยักษ์ตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่สะดือทะเล" (หน้า 35)


เสร็จแล้ว จิตรกรเอกก็ออกเดินทางเพื่อตามหาสีเหลืองต่อไป เขาเดินทางไปยังทะเลทราย ขี่อูฐเร่ร่อนอยู่นานเจ็ดวัน เจ็ดคืนจนกระทั่งได้พบกับกองคาราวานของเหล่าภูตทะเลทราย พอภูตทะเลทรายรู้ความประสงค์ของจิตรกรเอกแล้วก็ยินดีที่จะให้สีเหลืองที่กลั่นออกมาจากแสงจันทราแก่จิตรกรเอกไป


ถึงตอนนี้ยังขาดพู่กันวิเศษ จิตรกรเอกจึงขับจรวดมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์ เขาเจอกับกระต่ายจึงหยิบผักกาดขาวออกมาให้ จากนั้นก็ขอขนหางของกระต่ายเพื่อนำไปทำพู่กัน กระต่ายน้อยไม่ขัดข้อง ทุกอย่างพร้อมแล้ว จิตรกรเอกผูกตัวเองกับว่าวตัวใหญ่ นางฟ้าน้อยคือถือจานสีช่วยเหลืออยู่ใกล้ ๆ ยอดจิตรกรตวัดพู่กันวาดแต่งท้องฟ้า รุ้งกินน้ำกลับคืนมาอีกครั้ง


จะเห็นได้ว่าจินตนาการของผู้แต่งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด จากเรื่องนี้ไปเรื่องนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกพร้อมที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของจินตนาการได้เสมอ นิทานทั้ง 7 เรื่องแล้ว มีภาพประกอบสวยงามเหมาะสำหรับเด็ก ๆ และเหมาะสำหรับใครก็ตามที่อยากเรียกวันคืนวัยเยาว์กลับมา.

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…