Skip to main content
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"


    เคยอ่านวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้นานมากแล้ว สมัยนั้นยังติดใจเสน่ห์ของงานเขียนแบบอัศศิริ ธรรมโชติ ที่มักจะเล่นกับอารมณ์ซึ้ง เศร้า หวาน จนสามารถพูดได้ว่าติดตามอ่านงานเขียนของเขาหมดแล้วทุกเล่มรวมทั้งเล่มนี้ด้วย แม้ว่าในเวลาต่อมาจะมองงานเขียนของอัศศิริ ธรรมโชติ ด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป


หนังสือเล่มนี้จะพาผูอ่านไปพบกับวิถีชีวิตอันอาทรในแบบของชาวชนบท ซึ่งหาได้ยากแล้วในปัจจุบัน เป็นชนบทที่อบอุ่นด้วยน้ำใจไมตรีของคนบ้านเดียวกัน ผสานกันไประหว่างงานหนักในท้องไร่ ท้องนากับกิจกรรมการละเล่นอันหลากหลายเพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย


ในท้องถิ่นชนบทแห่งนี้ ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์มากพอที่จะทำให้ชีวิตมั่นคง ใครทำมากก็ได้มาก ทำน้อยก็ได้น้อย เมื่อไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขันกันเรื่องทรัพยากร ชีวิตก็สงบสุขกระทั่งมีน้ำใจไมตรีต่อกัน


เด็ก ๆ มีเสรีที่จะวิ่งเล่นไปในท้องทุ่งกว้าง สภาพธรรมชาติอันกว้างใหญ่ไพศาลนั่นล่ะคือสนามเด็กเล่นที่มีครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการหาปลากัดในบึงมากัดกัน กัดจิ้งหรีด การเล่นว่าว หรือสนุกสนานกันไปตามประสาในมหรสพงานวัด เหล่านี้เป็นทั้งสนามเด็กเล่นและห้องเรียนธรรมชาติที่สอนให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ


"มหกรรมในท้องทุ่ง" เป็นเหมือนบันทึกทางวัฒนธรรมของชาวนาภาคกลาง เช่น ประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว หนังเร่-ซึ่งปัจจุบันเกือบจะไม่เห็นแล้วเพราะถูกแทนที่ด้วยหนังแผ่น และที่แปลกคือการเล่นเข้าทรงผี "แม่ศรี" ในเทศกาลสงกรานต์ที่คนและผีมาร่วมเล่นรื่นเริงด้วยกัน ไม่มีการแยกคน แยกผี

"แม่ศรีเอย...

แม่ศรีสาวสะ

ยกมือไหว้พระ จะมีคนชม

ขนคิ้วเจ้าต่อ ขนคอเจ้ากลม

ชักผ้าปิดนม

ชมแม่ศรีเอย..." (หน้า 130-131)


ในพิธีกรรม-การละเล่นนี้มีการอัญเชิญผี "แม่ศรี" มาร่วมร้องรำทำเพลงกับชาวบ้านและเด็ก ๆ โดยเลือกคนทรงมาคนหนึ่ง

"เชิญเอ๋ย... เชิญลง

เชิญพระองค์สิบทิศ

องค์ไหนศักดิ์สิทธิ์

ก็เชิญลงมา...

เชิญเอ๋ยเชิญลง

เชิญพระองค์เขาเขียว

ขี่ช้างงาเดียว

มาเข้าตัวน้องข้า...

เจ้าพญาผีเอย..." (หน้า 131)


แม่ผี "แม่ศรี" เข้าทรงแล้ว ความบันเทิงสนุกสนานก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น แม้แต่เด็กๆ ก็ไม่หวาดกลัวผี ผู้เขียนบรรยายว่า


"ศรีนวล หลับตาพริ้ม แต่เธอลุกขึ้นร่ายรำอ่อนไหวไปกับเสียงเพลงที่ร่ำร้อง-ผีแม่ศรีและปู่เจ้ามาจากขุนเขาที่ไหนบ้างและทำไมถึงมาได้เล่นเต้นสนุกอยู่เฉพาะกับงานสงกรานต์นั้นไม่เคยมีใครคิดถามหรือว่าคิดอยากจะรู้ ทั้งผีและคนแม้เด็ก ๆ ในเทศกาลเช่นนี้ไม่มีใครหวาดกลัวใคร เส้นสายใยที่โยงไว้กับตัวของแม่ศรีในร่างของเด็กนั้นมีเพียงแค่ผ้าบางที่คอยดึงเอวเอาไว้มิให้รำออกไปไกลห่างกับสำเนียงเสียงร้องด้วยท่วงทำนองต่าง ๆ กัน เมื่อเพลงหยุด แม่ศรีก็ล้มลงในอ้อมแขนของลำไย" (หน้า 131-132)


นวนิยายขนาดสั้นที่จบในตอนเรื่องนี้เชื่อมโยงกันไว้ด้วยกิจกรรมการละเล่นของเด็ก ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด ความเป็นชนบทถูกเล่าผ่านตัวละครสองวัยคือเด็กๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งดูจะไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งยังได้สอดแทรกปัญหาสังคมหรือปัญหาการพัฒนาที่กำลังจะมาสู่ชุมชนไว้พอหอมปากหอมคอ เช่น การสร้างเขื่อน


การเลือกใช้ถ้อยคำของผู้เขียนนั้นดูเหมือนง่าย ไหวเอนเหมือนต้นข้าว เรียบง่ายเหมือนรูปแบบชีวิตของตัวละคร แต่อันที่จริงแล้วเป็นความสามารถเฉพาะตัวของนักเขียนที่ผ่านการฝึกฝน ขัดเกลามาอย่างดี


หลังจากที่หวนกลับไปอ่านอีกครั้ง ความถวิลอาวรณ์วัยเยาว์หวนกลับมาแม้จะไม่สวยงามเหมือนและสนุกสนานเหมือนตัวละครในหนังสือก็ตามทั้งยังตระหนักได้ว่าคนโบราณและของโบราณ ประเพณี พิธีกรรมในอดีตนั้นรุ่มรวยและสวยงามแม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม.

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ